Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

TOP Engineering Group - VTOL UAV Thailand

MarinerThai 2004 Co., Ltd. TOP Engineering Group - UAV Thailand

ส่วน A

ภาคก.

ข้อกำหนดภาคบังคับเกี่ยวกับบทบัญญัติของ

บทที่11-2ของภาคผนวกแนบท้าย

อนุสัญญาว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเลค.ศ.1974

ตามที่แก้ไขเพิ่มเติม

1    บททั่วไป

 

1.1  บทนำ

ประมวลข้อบังคับว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศส่วนนี้ประกอบด้วยข้อกำหนดที่เป็นภาคบังคับโดยอ้างถึงบทที่11-2ของอนุสัญญาว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเลค.ศ.1974ตามที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

1.2  วัตถุประสงค์

ประมวลข้อบังคับนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

1.       เพื่อกำหนดกรอบความร่วมมือที่เป็นสากลระหว่างรัฐภาคีหน่วยงานของรัฐหน่วยงานท้องถิ่นตลอดจนภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าทางเรือและท่าเรือในการตรวจสอบภัยคุกคามต่อความปลอดภัยและกำหนดมาตรการป้องกันต่อเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นต่อเรือหรือท่าเรือที่ใช้ในการค้าระหว่างประเทศ

2.       เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของรัฐภาคีหน่วยงานของรัฐหน่วยงานท้องถิ่นตลอดจนภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าทางเรือและท่าเรือทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติเพื่อให้แน่ใจว่าได้มีการรักษาความปลอดภัยทางทะเลอย่างเหมาะสม

3.       เพื่อให้มีการรวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

4.       เพื่อจัดให้มีวิธีการสำหรับการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยเพื่อใช้ในการจัดทำแผนและขั้นตอนการปฏิบัติที่สอดคล้องกับระดับการรักษาความปลอดภัยที่เปลี่ยนแปลงไป

5.       เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่ามีมาตรการในการรักษาความปลอดภัยทางทะเลอย่างเพียงพอและเหมาะสม

 

1.3  ข้อกำหนดในบทบาทหน้าที่

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้นประมวลข้อบังคับนี้ประกอบด้วยข้อกำหนดในบทบาทหน้าที่หลายประการดังเช่นข้อกำหนดอย่างน้อยดังต่อไปนี้

1.       การรวบรวมและประเมินข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับภัยคุกคามต่อความปลอดภัยและการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารดังกล่าวกับรัฐภาคีอื่นที่เกี่ยวข้อง

2.       การกำหนดให้มีแบบแผนพิธีการในการสื่อสารสำหรับเรือและท่าเรือ

3.       การป้องกันการผ่านเข้าถึงเรือท่าเรือหรือเขตหวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต

4.       การป้องกันการนำอาวุธอุปกรณ์ในการก่อเหตุร้ายหรือวัตถุระเบิดเข้าไปในเรือหรือท่าเรือโดยไม่ได้รับอนุญาต

5.       การจัดให้มีวิธีการในการเตือนภัยเพื่อตอบโต้ภัยคุกคามต่อความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นหรือเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย

6.       การกำหนดให้จัดทำแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือและของท่าเรือบนพื้นฐานของการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัย

7.       การกำหนดให้มีการฝึกอบรมการฝึกปฏิบัติและการฝึกซ้อมเพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบมีความคุ้นเคยกับแผนการรักษาความปลอดภัยและขั้นตอนการปฏิบัติต่างๆ

 

2    คำจำกัดความ

 

2.1เพื่อจุดมุ่งหมายของประมวลข้อบังคับส่วนนี้เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

1.       อนุสัญญาหมายถึงอนุสัญญาว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเลค.ศ.1974ตามที่แก้ไขเพิ่มเติม

2.       กฎข้อบังคับหมายถึงกฎข้อบังคับของอนุสัญญา

3.       บทหมายถึงบทของอนุสัญญา

4.       แผนการรักษาความปลอดภัยของเรือหมายถึงแผนที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดความแน่ใจว่ามีการใช้มาตรการบนเรือเพื่อปกป้องคนบนเรือสินค้าตู้สินค้าอุปกรณ์เครื่องใช้ของเรือหรือตัวเรือจากความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย

5.       แผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือหมายถึงแผนที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดความแน่ใจว่ามีการใช้มาตรการที่จัดทำขึ้นเพื่อปกป้องท่าเรือและพื้นที่ต่อเนื่องตลอดจนตัวเรือคนสินค้าตู้สินค้าของใช้ประจำเรือภายในเขตท่าเรือจากความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย

6.       เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือหมายถึงบุคคลบนเรือที่ได้รับมอบหมายจากนายเรือให้มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยของเรือรวมทั้งการปฏิบัติตามและดูแลรักษาแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือและทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัทและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือ

7.       เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัทหมายถึงบุคคลที่ได้รับการมอบหมายจากบริษัทเพื่อดำเนินการให้แน่ใจว่าได้มีการจัดทำการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของเรือการจัดทำแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือการนำเสนอแผนเพื่อขออนุมัติจากหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายตลอดจนการปฏิบัติตามและการดูแลรักษาแผนและทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือ

8.       เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือหมายถึงบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดทำการปฏิบัติตามการแก้ไขปรับปรุงและการดูแลรักษาแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือและทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัท

9.       ระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่1หมายถึงระดับที่จะต้องใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยเชิงป้องกันที่เหมาะสมขั้นต่ำตลอดเวลา

10.    ระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่2หมายถึงระดับที่จะต้องใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยเชิงป้องกันเพิ่มเติมตามความเหมาะสมในช่วงระยะเวลาหนึ่งอันเป็นผลมาจากมีความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยสูงขึ้น

11.    ระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่3หมายถึงระดับที่จะต้องใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยเชิงป้องกันเป็นการเฉพาะเพิ่มเติมในช่วงระยะเวลาที่จำกัดเมื่อมีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือเกิดภัยคุกคามแม้ว่าจะไม่สามารถกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนได้

 

2.2  คำว่าเรือในประมวลข้อบังคับนี้ให้หมายความรวมถึงแท่นขุดเจาะน้ำมันและยานความเร็วสูงตามที่กำหนดไว้ในกฎข้อบังคับที่11-2/1

 

2.3  คำว่ารัฐภาคีที่กล่าวถึงในส่วนของท่าเรือคือในส่วนที่14ถึง18ให้หมายความรวมถึงหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายด้วย

 

2.4  ข้อความใดที่ไม่ได้กำหนดคำจำกัดความไว้ในส่วนนี้ให้มีความหมายเช่นเดียวกันกับที่กำหนดไว้ในบทที่Iและบทที่11-2

 

3    การบังคับใช้

 

3.1  ประมวลข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับกับ

        1เรือเดินระหว่างประเทศประเภทต่างๆดังต่อไปนี้

                          .1เรือโดยสารรวมถึงยานโดยสารความเร็วสูง

                          .2เรือสินค้ารวมถึงยานความเร็วสูงที่มีขนาด500ตันกรอสและมากกว่า

                          .3แท่นขุดเจาะน้ำมันและ

        .2ท่าเรือที่ให้บริการแก่เรือเดินระหว่างประเทศ

3.2    แม้ว่าจะมีบทบัญญัติในส่วนที่3.1.2อยู่แล้วแต่รัฐภาคีจะต้องกำหนดขอบเขตการใช้บังคับของประมวลข้อบังคับในส่วนนี้ให้ครอบคลุมท่าเรือในประเทศที่ปกติใช้ให้บริการเรือที่เดินภายในประเทศแต่ได้ใช้ให้บริการเรือที่เดินทางมาจากต่างประเทศหรือจะเดินทางไปต่างประเทศเป็นครั้งคราว

3.2.1     รัฐภาคีจะต้องกำหนดขอบเขตการใช้บังคับตามส่วนที่3.2บนพื้นฐานของการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือตามภาคนี้ของประมวลข้อบังคับนี้

3.2.2     การตัดสินใจใดๆของรัฐภาคีตามส่วนที่3.2จะต้องไม่น้อยกว่าระดับการรักษาความปลอดภัยที่กำหนดไว้ตามบทที่11-2หรือตามหมวดนี้ของประมวลข้อบังคับ

3.3    ประมวลข้อบังคับนี้ไม่ใช้บังคับกับเรือรบเรือช่วยรบหรือเรือราชการของรัฐภาคีที่มิได้ใช้ในเชิงการค้า

3.4    ส่วนที่5ถึง13และ19ของภาคนี้ใช้บังคับกับบริษัทและเรือตามที่กำหนดไว้ในกฎข้อบังคับที่11-2/4

3.5    ส่วนที่5และ14ถึง18ของภาคนี้ใช้บังคับกับท่าเรือตามที่กำหนดไว้ในกฎข้อบังคับที่11-2/10

3.6    ประมวลข้อบังคับนี้จะไม่ขัดต่อสิทธิและหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศ

 

4    หน้าที่ความรับผิดชอบของรัฐภาคี

4.1    ตามข้อกำหนดของกฎข้อบังคับที่11-2/3และ11-2/7รัฐภาคีจะต้องกำหนดระดับการรักษาความปลอดภัยและจัดทำแนวทางปฏิบัติในการป้องกันเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยระดับการรักษาความปลอดภัยที่สูงขึ้นจะบ่งชี้ถึงโอกาสที่จะเกิดสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัยที่สูงขึ้นด้วยปัจจัยที่จะต้องคำนึงถึงในการจัดระดับการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมประกอบด้วย

1.       ระดับที่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภัยคุกคามต่อการรักษาความปลอดภัยมีความน่าเชื่อถือ

2.       ระดับที่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภัยคุกคามต่อการรักษาความปลอดภัยได้รับการยืนยัน

3.       ระดับที่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภัยคุกคามต่อการรักษาความปลอดภัยมีลักษณะระบุชี้ชัดหรือใกล้จะเกิดขึ้นและ

4.       ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นของเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย

4.2    เมื่อกำหนดระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่3รัฐภาคีต้องจัดทำคำแนะนำที่เหมาะสมตามความจำเป็นและต้องแจ้งข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยให้แก่เรือและท่าเรือที่อาจได้รับผลกระทบทราบด้วย

4.3    รัฐภาคีอาจมอบหมายให้องค์กรรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับให้ปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยบางประการภายใต้ข้อกำหนดของบทที่11-2และในหมวดนี้ของประมวลข้อบังคับยกเว้น

1.       การกำหนดระดับการรักษาความปลอดภัยที่จะใช้บังคับ

2.       การอนุมัติรายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือและการแก้ไขรายงานการประเมินที่ได้รับอนุมัติแล้ว

3.       การพิจารณากำหนดท่าเรือที่ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือ

4.       การอนุมัติแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือและการแก้ไขแผนที่ได้รับอนุมัติแล้ว

5.       การควบคุมและกำกับการดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดในกฎข้อบังคับข้อ11-2/9

6.       การจัดทำข้อกำหนดในการออกปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัย

4.4    รัฐภาคีต้องทดสอบประสิทธิผลของแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือหรือแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือหรือข้อแก้ไขของแผนดังกล่าวที่ได้อนุมัติไปหรือที่ได้มอบอำนาจไปในกรณีของเรือตามความเหมาะสม

 

5    ปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัย

5.1    รัฐภาคีต้องกำหนดเวลาที่เหมาะสมที่จำเป็นจะต้องมีการจัดทำปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยโดยการประเมินความเสี่ยงในการปฏิบัติการระหว่างเรือกับท่าเรือหรือระหว่างเรือกับเรือที่มีต่อบุคคลทรัพย์สินหรือสิ่งแวดล้อม

5.2    เรืออาจร้องขอให้มีการจัดทำปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยเมื่อ

  1. เรือนั้นกำลังปฏิบัติงานในระดับการรักษาความปลอดภัยที่สูงกว่าท่าเรือหรือเรือที่เทียบท่าอยู่
  2. มีความตกลงเรื่องปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยระหว่างรัฐภาคีโดยครอบคลุมเส้นทางการเดินเรือระหว่างประเทศบางเส้นทางหรือเรือบางลำในเส้นทางดังกล่าว
  3. เมื่อมีภัยคุกคามต่อการรักษาความปลอดภัยหรือมีเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยเกิดขึ้นกับเรือหรือท่าเรือที่ใช้บังคับ
  4. เมื่อเรืออยู่ในท่าเรือที่ไม่ถูกบังคับให้มีและปฏิบัติตามแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือที่ได้รับอนุมัติ
  5. เมื่อมีการปฏิบัติงานระหว่างเรือลำนั้นกับเรืออื่นที่ไม่ถูกบังคับให้มีและปฏิบัติตามแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือที่ได้รับอนุมัติ

5.3    การร้องขอให้มีการจัดทำปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยตามข้อกำหนดในส่วนนี้ของประมวลข้อบังคับจะต้องแจ้งให้ท่าเรือและเรือที่อยู่ในบังคับของประมวลข้อบังคับนี้ทราบ

5.4    การจัดทำปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยต้องดำเนินการโดย

  1. นายเรือหรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือที่ได้รับมอบอำนาจตามที่เห็นสมควร
  2. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือหรือผู้อื่นซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยบริเวณท่าเรือโดยได้รับมอบหมายจากท่าเรือหากรัฐภาคีมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

 

5.5    ปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยต้องระบุข้อกำหนดในการรักษาความปลอดภัยที่สามารถใช้ร่วมกันระหว่างท่าเรือกับเรือ(หรือระหว่างเรือ)และต้องระบุหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละฝ่าย รัฐภาคีต้องกำหนดระยะเวลาอย่างน้อยที่ท่าเรือภายในอาณาเขตของรัฐภาคีนั้นจะต้องเก็บรักษาปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยไว้ตามข้อกำหนดของกฎข้อบังคับที่11-2/9.2.3

5.7    รัฐภาคีต้องกำหนดระยะเวลาอย่างน้อยที่สุดที่เรือที่ชักธงของรัฐนั้นต้องเก็บรักษาปฏิญญาว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยไว้ตามข้อกำหนดของกฎข้อบังคับที่11-2/9.2.3

 

6    พันธกรณีของบริษัทเรือ

6.1    บริษัทเรือต้องดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือมีข้อกำหนดเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของนายเรือไว้อย่างแจ้งชัดให้มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการตัดสินใจเกี่ยวกับความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยของเรือและสามารถร้องขอความช่วยเหลือจากบริษัทเรือหรือรัฐภาคีใดๆได้หากมีความจำเป็น

6.2    บริษัทเรือต้องดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัทนายเรือและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือได้รับการสนับสนุนที่จำเป็นเพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบได้สำเร็จลุล่วงตามข้อกำหนดของบทที่11-2และในภาคนี้ของประมวลข้อบังคับนี้

 

7    การรักษาความปลอดภัยของเรือ

7.1    เรือต้องปฏิบัติตามระดับการรักษาความปลอดภัยที่กำหนดโดยรัฐภาคีดังต่อไปนี้

7.2    ที่ระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่1เรือทุกลำจะต้องดำเนินการต่างๆด้วยมาตรการที่เหมาะสมเพื่อกำหนดให้มีและใช้มาตรการเชิงป้องกันต่อเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้ในภาคข.ของประมวลข้อบังคับดังนี้

  1. การดำเนินการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของเรือ
  2. การควบคุมช่องทางเข้าสู่เรือ
  3. การควบคุมการขึ้นเรือของบุคคลรวมทั้งของใช้ประจำตัว
  4. การเฝ้าระวังเขตหวงห้ามเฉพาะให้เข้าได้เฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
  5. การเฝ้าระวังบริเวณดาดฟ้าเรือและบริเวณรอบตัวเรือ
  6. การควบคุมดูแลการขนถ่ายสินค้าและของใช้ประจำเรือ
  7. การดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าการติดต่อสื่อสารเพื่อการรักษาความปลอดภัยสามารถใช้งานได้ตามปกติ

7.3    ที่ระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่2เรือจะต้องปฏิบัติตามมาตรการเชิงป้องกันที่เพิ่มขึ้นดังที่กำหนดไว้ในแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือตามหัวข้อต่างๆที่กำหนดไว้ในส่วนที่7.2ตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้ในภาคข.ของประมวลข้อบังคับนี้

7.4    ที่ระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่3เรือจะต้องปฏิบัติตามมาตรการเชิงป้องกันเฉพาะที่เพิ่มขึ้นดังที่กำหนดไว้ในแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือตามหัวข้อต่างๆที่กำหนดไว้ในส่วนที่7.2ตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้ในภาคข.ของประมวลข้อบังคับนี้

7.5    เมื่อรัฐภาคีได้กำหนดให้ใช้ระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่2หรือ3เรือต้องรับทราบคำสั่งในการเปลี่ยนแปลงระดับการรักษาความปลอดภัย(เป็นลายลักษณ์อักษร)

7.6    ก่อนที่เรือจะเข้าเมืองท่าหรือขณะที่อยู่ในท่าเรือภายในอาณาเขตของรัฐภาคีที่ได้กำหนดระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่2หรือ3เรือต้องรับทราบคำสั่งการกำหนดระดับการรักษาความปลอดภัย(เป็นลายลักษณ์อักษร)และต้องยืนยันกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือว่าจะเริ่มใช้มาตรการและขั้นตอนการปฏิบัติที่เหมาะสมดังรายละเอียดที่กำหนดไว้ในแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือสำหรับในกรณีที่รัฐภาคีได้มีคำสั่งกำหนดระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่3เรือต้องรายงานปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการที่เกิดขึ้นและในกรณีดังกล่าวเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือจะต้องประสานงานและร่วมมือกันเพื่อปฏิบัติการตามความเหมาะสม

7.7    หากเรือได้รับคำสั่งจากทางการหรือได้ทำการกำหนดระดับการรักษาความปลอดภัยของเรือในระดับที่สูงกว่าระดับการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือที่เรือจะเข้าเทียบหรืออยู่ในท่าเรือนั้นแล้วเรือจะต้องแจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบของรัฐภาคีที่ดูแลท่าเรือนั้นและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือให้ทราบถึงสถานการณ์ดังกล่าวโดยเร็ว

7.7.1 ในกรณีดังกล่าวเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือจะต้องประสานงานกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือและร่วมมือในการดำเนินการที่เหมาะสมตามความจำเป็น

7.8    ทางการที่ได้กำหนดให้เรือที่ชักธงของตนใช้ระดับการรักษาความปลอดภัยในระดับที่2และ3ในท่าเรือของรัฐภาคีอื่นต้องแจ้งให้รัฐภาคีนั้นทราบโดยไม่ชักช้า

7.9    เมื่อรัฐภาคีได้กำหนดระดับการรักษาความปลอดภัยและดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าได้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับระดับการรักษาความปลอดภัยให้แก่เรือที่อยู่ในน่านน้ำอาณาเขตหรือที่ได้มีการติดต่อยืนยันการจะเข้ามาในน่านน้ำแล้วจะต้องแจ้งให้เรือดังกล่าวเฝ้าระวังความปลอดภัยและต้องรายงานข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจและอาจจะมีผลกระทบต่อการรักษาความปลอดภัยทางทะเลในพื้นที่นั้นให้ทางการหรือรัฐชายฝั่งใกล้เคียงทราบโดยทันที

7.9.1 เมื่อได้แจ้งการกำหนดระดับการรักษาความปลอดภัยให้เรือดังกล่าวทราบแล้วรัฐภาคีต้องให้คำแนะนำแก่เรือเหล่านั้นถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เรือควรปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้ในภาคข.ของประมวลข้อบังคับนี้ตลอดจนมาตรการต่างๆที่รัฐภาคีได้ดำเนินการไปแล้วเพื่อป้องกันภัยคุกคามตามที่เห็นสมควร

 

8    การประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของเรือ

8.1    การประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของเรือเป็นส่วนที่จำเป็นที่จะทำให้กระบวนการจัดทำและปรับปรุงแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือมีความสมบูรณ์

8.2    เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัทต้องดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของเรือได้ดำเนินการโดยบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญที่มีทักษะเหมาะสมในการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของเรือตามความในส่วนนี้ตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้ในหมวดข.ของประมวลข้อบังคับ

8.3    ตามข้อกำหนดในส่วนที่9.2.1องค์กรรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับอาจจัดทำการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของเรือให้แก่เรือลำใดลำหนึ่งได้

8.4    การประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของเรือต้องรวมถึงการสำรวจการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่และอย่างน้อยต้องมีส่วนประกอบต่างๆดังนี้

  1. การระบุมาตรการในการรักษาความปลอดภัยที่มีอยู่เดิมกระบวนการและการปฏิบัติการที่มีอยู่
  2. การระบุและการประเมินการปฏิบัติงานบนเรือที่สำคัญที่ทำให้จำเป็นต้องมีการป้องกัน
  3. การระบุภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นต่อการปฏิบัติงานบนเรือที่สำคัญและแนวโน้มของการเกิดภัยคุกคามดังกล่าวเพื่อจัดทำและกำหนดลำดับความสำคัญของมาตรการรักษาความปลอดภัย
  4. การระบุจุดอ่อนรวมถึงปัจจัยบุคคลในด้านโครงสร้างพื้นฐานนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติ

8.5    การประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของเรือต้องจัดทำเป็นเอกสาร(รายงาน)มีการทบทวนรับรองและจัดเก็บไว้โดยบริษัท

 

9    แผนการรักษาความปลอดภัยของเรือ

9.1    เรือแต่ละลำต้องมีแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือที่ได้รับอนุมัติโดยทางการแล้วไว้ประจำบนเรือแผนดังกล่าวต้องมีข้อกำหนดในการรักษาความปลอดภัยทั้ง3ระดับตามที่ได้แสดงไว้ในภาคนี้ของประมวลข้อบังคับนี้

9.1.1 ตามข้อกำหนดในส่วนที่9.2.1องค์กรรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับอาจจัดทำแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือให้แก่เรือลำใดลำหนึ่งได้

9.2    ทางการอาจมอบหมายให้องค์กรรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับทำการตรวจสอบและอนุมัติแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือหรือข้อแก้ไขของแผนที่ได้รับอนุมัติแล้ว

9.2.1 ในกรณีดังกล่าวองค์กรรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับให้ทำการตรวจสอบและอนุมัติแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือหรือข้อแก้ไขของแผนที่ได้รับอนุมัติแล้วสำหรับเรือลำใดลำหนึ่งจะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของเรือหรือการจัดทำแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือหรือข้อแก้ไขของแผนดังกล่าวซึ่งองค์กรดังกล่าวกำลังดำเนินการตรวจสอบ

9.3    ในการนำเสนอเพื่อขออนุมัติแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือหรือข้อแก้ไขของแผนที่ได้รับอนุมัติแล้วต้องแนบรายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยที่ใช้เป็นพื้นฐานในการจัดทำแผนหรือข้อแก้ไขที่ได้จัดทำขึ้นด้วย

9.4    แผนการรักษาความปลอดภัยจะต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรในภาษาที่ใช้ในการปฏิบัติงานของเรือตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้ในภาคข.ของประมวลข้อบังคับนี้หากภาษาดังกล่าวไม่ใช่ภาษาอังกฤษฝรั่งเศสหรือสเปนแผนดังกล่าวจะต้องแปลเป็นภาษาใดภาษาหนึ่งในสามภาษาดังกล่าวด้วยแผนต้องแสดงรายละเอียดต่างๆดังต่อไปนี้

  1. มาตรการที่กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันการจงใจใช้อาวุธวัตถุอันตรายหรืออุปกรณ์ทำอันตรายต่อบุคคลเรือหรือท่าเรือและการพกพาสิ่งของเหล่านั้นขึ้นเรือโดยไม่ได้รับอนุญาต
  2. การกำหนดเขตหวงห้ามและมาตรการป้องกันมิให้ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตผ่านเข้าไป
  3. มาตรการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตขึ้นไปบนเรือ
  4. ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อตอบโต้ภัยคุกคามต่อความปลอดภัยหรือการฝ่าฝืนการรักษาความปลอดภัยรวมทั้งข้อกำหนดให้มีการปฏิบัติการที่สำคัญของเรือหรือระหว่างเรือกับท่าเรือ
  5. ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อตอบสนองต่อคำแนะนำด้านการรักษาความปลอดภัยของรัฐภาคีที่ระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่3
  6. ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อทำการอพยพในกรณีที่เกิดภัยคุกคามต่อความปลอดภัยหรือการฝ่าฝืนการรักษาความปลอดภัย
  7. หน้าที่ของคนประจำเรือที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยและหน้าที่ของคนประจำเรืออื่นๆในด้านการรักษาความปลอดภัย
  8. ขั้นตอนการปฏิบัติในการตรวจสอบการดำเนินการรักษาความปลอดภัย
  9. ขั้นตอนการปฏิบัติสำหรับการฝึกอบรมการฝึกปฏิบัติและการฝึกซ้อมที่เกี่ยวข้องกับแผน
  10. ขั้นตอนการปฏิบัติที่ต้องประสานงานกับท่าเรือในการดำเนินการรักษาความปลอดภัย
  11. ขั้นตอนการปฏิบัติในการทบทวนแผนตามช่วงเวลาและการปรับปรุงแผนให้ทันสมัย
  12. ขั้นตอนการปฏิบัติในการรายงานเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย
  13. การระบุผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือ
  14. การระบุผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัทรวมทั้งรายละเอียดที่สามารถติดต่อได้ตลอด24ชั่วโมง
  15. ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อให้แน่ใจว่ามีการตรวจสอบการทดสอบการปรับแต่งและการบำรุงรักษาอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่จัดหาไว้บนเรือ
  16. ความถี่ของการทดสอบหรือการปรับแต่งของอุปกรณ์เพื่อการรักษาความปลอดภัยที่จัดหาไว้บนเรือ
  17. การระบุตำแหน่งที่เปิดสัญญาณเตือนภัยของระบบการรักษาความปลอดภัยที่ติดตั้งบนเรือ
  18. ขั้นตอนการปฏิบัติข้อแนะนำและแนวทางปฏิบัติในการใช้ระบบเตือนภัยของเรือรวมทั้งการทดสอบการเปิดสัญญาณการเลิกสัญญาณและการจำกัดการส่งสัญญาณผิดพลาด

 

9.4.1 บุคคลที่ทำหน้าที่ตรวจสอบภายในสำหรับการดำเนินการรักษาความปลอดภัยที่กำหนดไว้ในแผนหรือทำหน้าที่ประเมินการปฏิบัติตามแผนจะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ทำการตรวจสอบเว้นแต่ในกรณีที่ไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากข้อจำกัดด้านจำนวนบุคลากรหรือแนวปฏิบัติของบริษัทหรือเรือ

9.5    ทางการมีอำนาจในการระงับใช้แผนการรักษาความปลอดภัยของเรือที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขจนกว่าข้อเปลี่ยนแปลงแก้ไขนั้นจะได้รับอนุมัติจากรัฐภาคีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะต้องมีประสิทธิผลไม่น้อยกว่ามาตรการที่กำหนดไว้ในบทที่11-2และในภาคนี้ของประมวลข้อบังคับนี้

9.5.1 การเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือหรืออุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่ได้รับอนุมัติเป็นกรณีพิเศษจากทางการตามส่วนที่9.5ต้องจัดทำเป็นเอกสารที่แสดงถึงการอนุมัติอย่างชัดเจนเอกสารการอนุมัตินี้จะต้องเก็บไว้บนเรือและต้องนำออกแสดงพร้อมกับใบสำคัญรับรองว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือระหว่างประเทศ(หรือใบสำคัญรับรองชั่วคราว)หากการเปลี่ยนแปลงแก้ไขนี้เป็นการชั่วคราวเมื่อมีการบังคับใช้มาตรการหรือมีการใช้อุปกรณ์ตามที่กำหนดไว้แต่เดิมแล้วเอกสารการอนุมัติดังกล่าวก็ไม่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้บนเรืออีกต่อไป

9.6    แผนการรักษาความปลอดภัยอาจจัดเก็บไว้ในรูปแบบอิเล็คทรอนิกส์ก็ได้ซึ่งในกรณีดังกล่าวต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติในการป้องกันมิให้มีการลบการทำลายหรือการแก้ไขโดยไม่ได้รับอนุญาต

9.7    แผนการรักษาความปลอดภัยต้องมีการป้องกันการเข้าถึงหรือการเปิดเผยโดยไม่ได้รับอนุญาต

9.8    แผนการรักษาความปลอดภัยของเรือไม่จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐภาคีในการควบคุมและการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ในกฎข้อบังคับข้อ11-2/9เว้นแต่ในสถานการณ์ที่กำหนดไว้ในส่วนที่9.8.1

9.8.1 หากเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐภาคีมีมูลเหตุที่ชัดเจนที่เชื่อได้ว่าเรือไม่ดำเนินการตามข้อกำหนดของบทที่11-2หรือ ภาค ก.ของประมวลข้อบังคับนี้และหนทางเดียวที่จะทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขการไม่ปฏิบัติตามนั้นคือการทบทวนข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องในแผนการรักษาความปลอดภัยของเรืออาจอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ดังกล่าวตรวจสอบแผนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามแผนเป็นกรณีพิเศษแต่จะต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐภาคีของเรือหรือนายเรือของเรือนั้นอย่างไรก็ตามข้อกำหนดในแผนตามส่วนที่9.4อนุส่วนที่.2,.4,.5,.7,.15,.17และ.18ในภาคนี้ของประมวลข้อบังคับนี้ให้ถือว่าเป็นข้อมูลที่เป็นความลับและไม่สามารถทำการตรวจสอบได้หากไม่มีข้อตกลงกับรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องไว้เป็นอย่างอื่น

 

10  การบันทึก

10.1   การบันทึกกิจกรรมต่างๆตามที่ระบุไว้ในแผนรักษาความปลอดภัยของเรือต้องเก็บรักษาไว้บนเรือในช่วงระยะเวลาที่สั้นที่สุดตามที่ทางการกำหนดโดยต้องคำนึงถึงบทบัญญัติของกฎข้อบังคับข้อ11-2/9.2.3ด้วย

  1. การฝึกอบรมการฝึกปฏิบัติและการฝึกซ้อม
  2. ภัยคุกความต่อความปลอดภัยและเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย
  3. การฝ่าฝืนการรักษาความปลอดภัย
  4. การปรับเปลี่ยนระดับการรักษาความปลอดภัย
  5. การติดต่อสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยของเรือโดยตรงเช่นภัยคุกคามต่อเรือหรือท่าเรือที่เรือจอดอยู่หรือเคยจอดอยู่
  6. การตรวจสอบภายในและการทบทวนกิจกรรมการรักษาความปลอดภัย
  7. การทบทวนรายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของเรือตามช่วงเวลา
  8. การทบทวนแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือตามช่วงเวลา
  9. การปฏิบัติตามข้อแก้ไขใดๆของแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือ
  10. การบำรุงรักษาการปรับแต่งและการทดสอบอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่จัดไว้บนเรือรวมทั้งการทดสอบระบบสัญญาณเตือนภัยในการรักษาความปลอดภัยของเรือด้วย

10.2   การบันทึกต้องบันทึกด้วยภาษาที่ใช้ปฏิบัติงานของเรือหากภาษาดังกล่าวไม่ใช่ภาษาอังกฤษฝรั่งเศสหรือสเปนต้องแปลเป็นภาษาใดภาษาหนึ่งในสามภาษาดังกล่าวด้วย

10.3  การบันทึกอาจจัดเก็บไว้ในรูปแบบอิเล็คทรอนิกส์ก็ได้ซึ่งในกรณีดังกล่าวต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติในการป้องกันมิให้มีการลบการทำลายหรือการแก้ไขโดยไม่ได้รับอนุญาต

10.4  การบันทึกต้องมีการป้องกันการเข้าถึงหรือการเปิดเผยโดยไม่ได้รับอนุญาต

 

11  เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัท

11.1  บริษัทเรือจะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัทโดยเจ้าหน้าที่ดังกล่าวอาจได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบเรือได้มากกว่าหนึ่งลำทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนหรือประเภทของเรือที่บริษัทใช้ประกอบการและจะต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัทรายใดรับผิดชอบเรือลำใดบริษัทอาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัทได้มากกว่าหนึ่งคนขึ้นอยู่กับจำนวนหรือประเภทของเรือที่บริษัทใช้ประกอบการโดยจะต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัทรายใดรับผิดชอบเรือลำใด

11.2  นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในส่วนอื่นในภาคนี้ของประมวลข้อบังคับนี้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัทจะต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างน้อยดังนี้

  1. แจ้งให้ทราบถึงระดับของภัยคุกคามที่เรืออาจต้องประสบโดยใช้รายงานการประเมินสถานการณ์    ความปลอดภัยของเรือที่เหมาะสมและข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
  2. ดำเนินการเพื่อให้มีการจัดทำรายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของเรือ
  3. ดำเนินการเพื่อให้มีการจัดทำแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือนำแผนดังกล่าวเสนอขออนุมัติและหลังจากนั้นได้มีการนำไปปฏิบัติและเก็บรักษา
  4. ดำเนินการเพื่อให้แผนการรักษาความปลอดภัยของเรือได้รับการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องตามความ               เหมาะสมและรองรับความต้องการในการรักษาความปลอดภัยของเรือแต่ละลำ
  5. ดำเนินการให้มีการตรวจสอบภายในและทบทวนกิจกรรมในการรักษาความปลอดภัย
  6. ดำเนินการให้มีการตรวจสอบทั้งในครั้งแรกก่อนนำเรือออกใช้งานและการตรวจสอบตามกำหนดเวลาโดยทางการหรือองค์กรรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับ
  7. ดำเนินการเพื่อให้มีการหยิบยกและจัดการกับข้อบกพร่องและสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของแผนที่ค้นพบระหว่างการตรวจสอบภายในการตรวจสอบตามระยะเวลาการตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยและการตรวจสอบการปฏิบัติตามแผนโดยทันที
  8. ส่งเสริมให้มีความตระหนักและเฝ้าระวังในการรักษาความปลอดภัย
  9. ดำเนินการเพื่อให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของเรืออย่างเพียงพอ
  10. ดำเนินการเพื่อให้มีการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและมีการร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำเรือและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือ
  11. ดำเนินการเพื่อให้ข้อกำหนดในเรื่องการรักษาความปลอดภัยและข้อกำหนดในเรื่องความปลอดภัยของเรือมีความสอดคล้องกัน
  12. ดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าหากมีการใช้แผนการรักษาความปลอดภัยของเรือที่ต่อรุ่นเดียวกันหรือมีการใช้แผนการรักษาความปลอดภัยของกองเรือเดียวกันแผนการรักษาความปลอดภัยที่นำมาใช้บนเรือแต่ละลำจะต้องสะท้อนถึงข้อมูลที่เป็นคุณลักษณะเฉพาะของเรือลำนั้นอย่างถูกต้องและ
  13. ดำเนินการเพื่อให้มีการปฏิบัติตามและคงไว้ซึ่งทางเลือกหรือการจัดการอื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ได้รับอนุมัติสำหรับเรือแต่ละลำหรือกองเรือแต่ละกองเรือ

 

12  เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือ

12.1  จะต้องมีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือสำหรับเรือแต่ละลำ

12.2นอกเหนือจากที่กำหนดไว้แล้วในส่วนอื่นของประมวลข้อบังคับนี้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือจะต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างน้อยดังนี้

  1. ตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยของเรืออย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มีการปฏิบัติตามมาตรการการรักษาความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง
  2. คงไว้และอำนวยการให้มีการปฏิบัติตามแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือและข้อแก้ไขของแผนดังกล่าว
  3. ประสานงานการรักษาความปลอดภัยในด้านต่างๆที่เกี่ยวกับการขนถ่ายสินค้าและของใช้ประจำเรือกับคนประจำเรือและกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือที่เกี่ยวข้อง
  4. เสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือ
  5. รายงานต่อเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัทถึงข้อบกพร่องและสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของแผนที่ตรวจพบระหว่างการตรวจสอบภายในการตรวจสอบตามระยะเวลาการตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยและการตรวจสอบการปฏิบัติตามแผนและดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง
  6. ส่งเสริมให้มีความตระหนักและเฝ้าระวังในการรักษาความปลอดภัย
  7. ดำเนินการเพื่อให้คนประจำเรือได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของเรืออย่างเพียงพอตามความเหมาะสม
  8. รายงานเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยทั้งหมด
  9. ประสานการปฏิบัติตามแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำบริษัทและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือและ
  10. ดำเนินการเพื่อให้มีการใช้ทดสอบปรับแต่งและบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยอย่างเหมาะสม

 

13  การฝึกอบรมการฝึกปฏิบัติและการฝึกซ้อมเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยบนเรือ

13.1  เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัทและเจ้าหน้าที่บนฝั่งจะต้องมีความรู้และได้รับการฝึกอบรมตามแนวทางที่แสดงไว้ในภาคข.ของประมวลข้อบังคับนี้

13.2   เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือจะต้องมีความรู้และได้รับการฝึกอบรมตามแนวทางที่กำหนดไว้ในภาคข.ของประมวลข้อบังคับนี้

13.3   คนประจำเรือที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยจะต้องเข้าใจถึงความรับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยของเรือตามที่ระบุในแผนการรักษาความปลอดภัยและจะต้องมีความรู้และความสามารถอย่างเพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายตามแนวทางที่กำหนดไว้ในภาคข.ของประมวลข้อบังคับนี้

13.4  ดำเนินการเพื่อให้มีการปฏิบัติตามแผนการรักษาความปลอดภัยของเรืออย่างมีประสิทธิผลมีการฝึกปฏิบัติตามช่วงเวลาที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงประเภทของเรือการเปลี่ยนคนประจำเรือท่าเรือที่เรือจะเข้าเทียบท่าและภาวะแวดล้อมอื่นๆที่เกี่ยวข้องตามแนวทางที่กำหนดไว้ในภาคข.ของประมวลข้อบังคับนี้

13.5  เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัทจะต้องดำเนินการเพื่อให้มีการประสานงานและการปฏิบัติตามแผนการรักษาความปลอดภัยของเรืออย่างมีประสิทธิผลโดยมีส่วนร่วมในการฝึกซ้อมตามระยะเวลาที่เหมาะสมตามแนวทางที่กำหนดไว้ในภาคข.ของประมวลข้อบังคับนี้

 

14  การรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ

14.1  ท่าเรือจะต้องมีการรักษาความปลอดภัยตามระดับการรักษาความปลอดภัยที่กำหนดโดยรัฐภาคีที่ท่าเรือนั้นตั้งอยู่จะต้องใช้มาตรการและขั้นตอนการปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยกับท่าเรือนั้นในทางที่ทำให้เกิดการแทรกแซงหรือความล่าช้าต่อผู้โดยสารเรือเรือคนประจำเรือและผู้มาติดต่อสินค้าและการบริการน้อยที่สุด

14.2  ที่ระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่1จะต้องมีการดำเนินการโดยใช้มาตรการที่เหมาะสมกับสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าเรือทุกประเภทตามแนวทางที่กำหนดไว้ใน ภาคข. ของประมวลข้อบังคับนี้เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยดังต่อไปนี้

  1. การดำเนินการเพื่อให้มีการปฏิบัติหน้าที่ด้านการรักษาความปลอดภัยภายในท่าเรือทั้งหมด
  2. การควบคุมทางเข้าออกท่าเรือ
  3. การสอดส่องดูแลท่าเรือรวมทั้งที่ทอดสมอและบริเวณท่าเทียบเรือ
  4. การสอดส่องดูแลเขตหวงห้ามเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่ผ่านเข้าออกเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
  5. การอำนวยการในการขนถ่ายสินค้า
  6. การอำนวยการในการขนถ่ายของใช้ประจำเรือและ
  7. การดำเนินการเพื่อให้ระบบการสื่อสารเพื่อการรักษาความปลอดภัยมีความพร้อมอยู่เสมอ

14.3  ที่ระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่2จะต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันเพิ่มเติมตามที่กำหนดไว้ในแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือสำหรับแต่ละกิจกรรมตามรายละเอียดในส่วนที่14.2ตามแนวทางที่กำหนดไว้ในภาคข.ของประมวลข้อบังคับนี้

14.4  ที่ระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่3จะต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันเฉพาะตามที่กำหนดไว้ในแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือสำหรับแต่ละกิจกรรมตามรายละเอียดในส่วนที่14.2ตามแนวทางที่กำหนดไว้ในภาคข.ของประมวลข้อบังคับนี้

14.4.1       นอกจากนี้ที่ระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่3ท่าเรือจะต้องตอบสนองและปฏิบัติตามคำแนะนำในการรักษาความปลอดภัยของรัฐภาคีที่ท่าเรือนั้นตั้งอยู่

14.5  เมื่อเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือได้รับแจ้งว่าเรือจะประสบความยุ่งยากในการปฏิบัติตามข้อกำหนดของบทที่11-2หรือส่วนนี้หรือในการปฏิบัติตามมาตรการหรือกระบวนการที่เหมาะสมตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือและในกรณีของระดับการรักษาความปลอดภัยระดับที่3หลังจากที่รัฐภาคีที่ท่าเรือนั้นตั้งอยู่ให้คำแนะนำในการรักษาความปลอดภัยแล้วเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือจะต้องร่วมมือและประสานงานกันเพื่อหาแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม

14.6   เมื่อเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือได้รับแจ้งว่าเรือมีระดับการรักษาความปลอดภัยสูงกว่าระดับการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือนั้นจะต้องรายงานให้หน่วยงานที่มีอำนาจทราบและจะต้องร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือและประสานการดำเนินการที่เหมาะสมหากจำเป็น

 

15  การประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือ

15.1  การประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือเป็นส่วนที่จำเป็นที่จะทำให้กระบวนการจัดทำและปรับปรุงแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือมีความสมบูรณ์

15.2  รัฐภาคีที่ท่าเรือนั้นตั้งอยู่จะต้องจัดทำรายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือรัฐภาคีอาจมอบอำนาจให้องค์กรรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับดำเนินการจัดทำรายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือใดๆที่ตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐภาคีนั้น

15.2.1     เมื่อองค์กรรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับเป็นผู้จัดทำรายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือรัฐภาคีที่ท่าเรือนั้นตั้งอยู่จะต้องดำเนินการทบทวนและอนุมัติรายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยเพื่อให้มีการปฏิบัติตามส่วนนี้

15.3  บุคคลที่จัดทำรายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือจะต้องมีทักษะที่เหมาะสมในการประเมินการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือให้สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ตามแนวทางที่กำหนดไว้ในภาคข.ของประมวลข้อบังคับนี้

15.4  จะต้องมีการทบทวนและปรับปรุงรายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือให้ทันสมัยตามระยะเวลาที่เหมาะสมโดยคำนึงภัยที่คุกคามที่เปลี่ยนแปลงไปและ/หรือการเปลี่ยนแปลงไปที่ไม่สำคัญของท่าเรือนั้นทั้งนี้จะต้องมีการทบทวนและปรับปรุงรายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือดังกล่าวให้ทันสมัยทุกครั้งที่ท่าเรือนั้นมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ

15.5  รายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือจะต้องมีรายการต่างๆอย่างน้อยดังนี้

  1. การกำหนดและประเมินค่าทรัพย์สินและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของท่าเรือที่มีความจำเป็นต้องปกป้อง
  2. การระบุภัยคุกคามที่อาจเกิดต่อทรัพย์สินและโครงสร้างพื้นฐานและแนวโน้มของการเกิดภัยคุกคามดังกล่าวเพื่อจัดทำและกำหนดสำดับความสำคัญของมาตรการรักษาความปลอดภัย
  3. การกำหนดคัดเลือกและจัดลำดับความสำคัญของมาตรการตอบโต้และความเปลี่ยนแปลงของขั้นตอนการปฏิบัติการและระดับของประสิทธิผลในการลดจุดอ่อนและ
  4. การระบุจุดอ่อนซึ่งรวมถึงปัจจัยบุคคลในด้านโครงสร้างสร้างพื้นฐานนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติ

15.6  รัฐภาคีอาจอนุญาตให้รายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือฉบับหนึ่งครอบคลุมท่าเรือมากกว่า1แห่งหากผู้ประกอบการสถานที่ตั้งการปฏิบัติการอุปกรณ์และการออกแบบของท่าเรือเหล่านั้นมีลักษณะเหมือนกันรัฐภาคีใดที่อนุญาตให้มีการดำเนินการข้างต้นจะต้องแจ้งลายละเอียดดังกล่าวให้องค์การทางทะเลระหว่างประเทศทราบ

15.7  เมื่อดำเนินการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือแล้วเสร็จจะต้องจัดทำรายงานซึ่งประกอบด้วยบทสรุปเกี่ยวกับวิธีการประเมินรายละเอียดของจุดอ่อนที่ตรวจพบระหว่างการประเมินและรายละเอียดของมาตรการแก้ไขที่สามารถนำใช้กับจุดอ่อนแต่ละข้อรายงานฉบับนี้จะต้องเก็บรักษาไว้ไม่ให้มีการเข้าถึงหรือเปิดเผยโดยไม่ได้รับอนุญาต

         

16  แผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ

16.1  จะต้องมีการจัดทำและเก็บรักษาแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือบนพื้นฐานของการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของท่าเรือแต่ละแห่งโดยให้ครอบคลุมถึงการปฏิบัติการระหว่างเรือและท่าเรือแผนดังกล่าวจะต้องข้อกำหนดเกี่ยวกับระดับของการรักษาความปลอดภัยสามระดับตามที่ระบุไว้ในส่วนนี้ของประมวลข้อบังคับนี้

16.1.1     ตามบทบัญญัติของส่วนที่16.2องค์กรรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับอาจจัดทำแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือให้แก่ท่าเรือแห่งใดแห่งหนึ่งได้

16.2  แผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือจะต้องได้รับอนุมัติจากรัฐภาคีที่ท่าเรือนั้นตั้งอยู่

16.3  การจัดทำแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือจะต้องคำนึงถึงแนวทางที่กำหนดไว้ให้ในภาคข.ของประมวลข้อบังคับนี้และต้องจัดทำเป็นภาษาที่ใช้ในการปฏิบัติงานของท่าเรือนั้นแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือจะต้องระบุถึงรายการต่างๆอย่างน้อยดังนี้

  1. มาตรการที่กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันอาวุธวัตถุอันตรายและอุปกรณ์สำหรับใช้ทำอันตรายต่อบุคคลเรือหรือท่าเรือและการพกพาสิ่งของเหล่านั้นเข้ามาในเขตท่าเรือหรือบนเรือ
  2. มาตรการเพื่อป้องกันการเข้าไปในเขตท่าเรือบนเรือที่ผูกจอดไว้ที่ท่าเรือและการเข้าไปในเขตหวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต
  3. ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อตอบโต้ภัยคุกคามต่อความปลอดภัยหรือการฝ่าฝืนการรักษาความปลอดภัยรวมทั้งข้อกำหนดให้มีการปฏิบัติการที่สำคัญของท่าเรือหรือการปฏิบัติการระหว่างเรือและท่าเรือ
  4. ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อตอบสนองต่อคำแนะนำด้านการรักษาความปลอดภัยของรัฐภาคีที่ท่าเรือนั้นตั้งอยู่ที่ระดับการรักษาความปลอดภัยระดับ3
  5. ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อทำการอพยพในกรณีที่เกิดภัยคุกคามหรือการฝ่าฝืนการรักษาความปลอดภัย
  6. หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของท่าเรือที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบด้านการรักษาความปลอดภัยและหน้าที่ของบุคลากรอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย
  7. ขั้นตอนการปฏิบัติในการประสานกับกิจกรรมการรักษาความปลอดภัยของเรือ
  8. ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อทบทวนแผนตามระยะเวลาและปรับปรุงแผนให้ทันสมัย
  9. ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อรายงานเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อการรักษาความปลอดภัย
  10. การกำหนดตัวเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือรวมทั้งรายละเอียดที่สามารถติดต่อได้ตลอด24ชั่วโมง
  11. มาตรการในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่อยู่ในแผน
  12. มาตรการในการรักษาความปลอดภัยแก่สินค้าและอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าในท่าเรือ
  13. ขั้นตอนการปฏิบัติในการตรวจสอบแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ
  14. ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อตอบสนองในกรณีระบบเตือนภัยของเรือทำงานขณะที่เรืออยู่ในเขตท่าเรือ
  15. ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่ออำนวยความสะดวกกรณีปล่อยคนประจำเรือขึ้นบกหรือเปลี่ยนคนประจำเรือการขึ้นไปบนเรือของผู้มาติดต่อรวมทั้งผู้แทนจากหน่วยงานด้านสวัสดิภาพคนประจำเรือหรือองค์กรแรงงานที่เกี่ยวข้อง

16.4  บุคคลที่ทำหน้าที่ตรวจสอบภายในสำหรับการดำเนินการรักษาความปลอดภัยตามที่กำหนดไว้ในแผนหรือทำหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติตามแผนจะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ทำการตรวจสอบเว้นแต่ในกรณีที่ไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากข้อจำกัดด้านขนาดและลักษณะของท่าเรือ

16.5  แผนการรักษาความปลอดภัยของสิ่งอำนวยความสะดวกในท่าเรืออาจจะรวมกับหรือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ   หรือแผนฉุกเฉินของท่าเรือแผนใดแผนหนึ่งหรือหลายแผนก็ได้

16.6  รัฐภาคีที่ท่าเรือนั้นตั้งอยู่มีอำนาจในการระงับใช้แผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขจนกว่าข้อเปลี่ยนแปลงแก้ไขนั้นจะได้รับการอนุมัติจากรัฐภาคี

16.7  แผนการรักษาความปลอดภัยอาจจะเก็บไว้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งในกรณีดังกล่าวจะต้องมีขั้นตอนในการป้องกันมิให้มีการลบทำลายหรือแก้ไขโดยไม่ได้รับอนุญาต

16.8  แผนการรักษาความปลอดภัยต้องมีการป้องกันการเข้าถึงหรือการเปิดเผยโดยไม่ได้รับอนุญาต

16.9  รัฐภาคีอาจอนุญาตให้แผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือแผนหนึ่งครอบคลุมท่าเรือมากกว่า1แห่งหากผู้ประกอบการสถานที่ตั้งการปฏิบัติการอุปกรณ์และการออกแบบของท่าเรือนั้นมีลักษณะเหมือนกันรัฐภาคีใดที่อนุญาตให้มีการดำเนินการข้างต้นจะต้องแจ้งรายละเอียดให้องค์การทางทะเลระหว่างประเทศทราบ         

 

17 เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือ

17.1  ท่าเรือแต่ละแห่งจะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือทั้งนี้อาจแต่งตั้งบุคคลหนึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวอาจได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือมากกว่าหนึ่งแห่งก็ได้

17.2  นอกจากที่กำหนดไว้ในส่วนอื่นในภาคนี้ของประมวลข้อบังคับนี้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือจะต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างน้อยดังนี้

  1. การดำเนินการสำรวจสภาพการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือโดยละเอียดในเบื้องต้นโดยคำนึงถึงการประเมินสถานการณ์รักษาความปลอดภัยของท่าเรือ
  2. การดำเนินการเพื่อให้มีการจัดทำและดูแลรักษาแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ
  3. การปฏิบัติตามและฝึกซ้อมตามแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ
  4. การดำเนินการตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยของท่าเรืออย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มีการปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดของท่าเรืออย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง
  5. การให้คำแนะนำและปรับเปลี่ยนแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือตามความเหมาะสมเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องและปรับปรุงแผนให้ทันสมัยโดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งอำนวยความสะดวกภายในท่าเรือ
  6. การส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของท่าเรือมีความตระหนักและเฝ้าระวังในเรื่องการรักษาความปลอดภัย
  7. การดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือได้รับการฝึกอบรมอย่างเพียงพอ
  8. การรายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและเก็บรักษาบันทึกเหตุการณ์ที่เป็นภัยคุกคามต่อการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ
  9. การประสานการปฏิบัติตามแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัทและประจำเรือ
  10. การประสานงานกับหน่วยงานที่ให้บริการรักษาความปลอดภัยต่างๆตามสมควร
  11. การดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือมีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
  12. การดำเนินการเพื่อให้เครื่องมืออุปกรณ์รักษาความปลอดภัยได้มีการใช้งานทดสอบปรับแต่งและบำรุงรักษาอย่างเหมาะสมและ
  13. การให้ความช่วยเหลือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือในการยืนยันรูปพรรณสัณฐานของบุคคลที่ขออนุญาตขึ้นไปบนเรือเมื่อมีการร้องขอ

17.3   เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือจะต้องได้รับการสนับสนุนที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบที่กำหนดในบทที่11-2และภาคนี้ของประมวลข้อบังคับฉบับนี้ให้สำเร็จลุล่วง

               

18  การฝึกอบรมฝึกปฏิบัติและฝึกซ้อมการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ

18.1  เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องมีความรู้และได้รับการฝึกอบรมตามแนวทางที่กำหนดไว้ในภาคข.ของประมวลข้อบังคับนี้

18.2  เจ้าหน้าที่ของท่าเรือที่มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยโดยเฉพาะจะต้องมีความเข้าใจในหน้าที่และความรับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือตามที่ระบุไว้ในแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือและจะต้องมีความรู้และความสามารถเพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายตามแนวทางที่กำหนดไว้ในภาคข.ของประมวลข้อบังคับนี้

18.3  เพื่อให้มีการปฏิบัติตามแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรืออย่างมีประสิทธิผลจะต้องมีการฝึกปฏิบัติในช่วงเวลาที่เหมาะสมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทการประกอบการของท่าเรือการเปลี่ยนแปลงบุคลากรของท่าเรือประเภทของเรือที่มาใช้บริการและภาวะแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอื่นๆตามแนวทางที่กำหนดไว้ในภาคข.ของประมวลข้อบังคับนี้

18.4  เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือจะต้องดำเนินการเพื่อให้มีการประสานงานและปฏิบัติตามแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรืออย่างมีประสิทธิผลโดยการมีส่วนร่วมในการฝึกซ้อมในช่วงเวลาที่เหมาะสมตามแนวทางที่กำหนดไว้ในภาคข.ของประมวลข้อบังคับนี้

 

19  การตรวจสอบและการออกใบสำคัญรับรองสำหรับเรือ

19.1   การตรวจสอบ

19.1.1       เรือแต่ละลำที่อยู่ในบังคับของประมวลข้อบังคับนี้จะต้องได้รับการตรวจสอบตามหัวข้อที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้ 

1.       การตรวจสอบครั้งแรกก่อนนำเรือออกใช้งานหรือก่อนออกใบสำคัญรับรองตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่เป็นครั้งแรกซึ่งจะต้องรวมถึงการตรวจสอบระบบการรักษาความปลอดภัยของเรือและอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยอื่นๆทั้งหมดภายใต้บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องของในบทที่11-2ของภาคนี้ของประมวลข้อบังคับนี้และของแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือที่ได้รับอนุมัติแล้วการตรวจสอบนี้จะต้องดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าว่าระบบการรักษาความปลอดภัยและอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยของเรือเป็นไปตามตามข้อกำหนดของบทที่11-2และของภาคนี้ของประมวลข้อบังคับฉบับนี้อยู่ในสภาพที่น่าพอใจและเหมาะแก่การใช้งานตามความมุ่งหมายของเรือนั้น

2.       การตรวจสอบเพื่อออกใบสำคัญรับรองใหม่ตามช่วงเวลาที่ทางการกำหนดแต่ต้องไม่เกินห้าปียกเว้นตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่19.3การตรวจสอบประเภทนี้จะต้องดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าระบบการรักษาความปลอดภัยและอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยอื่นๆของเรือเป็นไปตามข้อกำหนดของบทที่11-2ของภาคนี้ของประมวลข้อบังคับนี้และของแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือที่ได้รับอนุมัติแล้วอยู่ในสภาพที่น่าพอใจและใช้งานตามความมุ่งหมายของเรือนั้น

3.       จะต้องมีการตรวจสอบในช่วงกลางรอบระยะเวลาอย่างน้อยหนึ่งครั้งถ้ามีการตรวจสอบในช่วงกลางรอบระยะเวลาเพียงครั้งเดียวการตรวจสอบดังกล่าวจะต้องอยู่ระหว่างวันที่ครบรอบออกใบสำคัญรับรองในปีที่สองและปีที่สามตามที่กำหนดไว้ในกฎข้อบังคับที่1/2()การตรวจสอบในช่วงกลางรอบระยะเวลาจะประกอบด้วยการตรวจสอบระบบการรักษาความปลอดภัยและอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยของเรือเพื่อให้แน่ใจว่าระบบและอุปกรณ์ดังกล่าวยังคงอยู่ในสภาพที่น่าพอใจและใช้งานตามความมุ่งหมายของเรือนั้นการตรวจสอบครั้งนี้ต้องทำเป็นบันทึกสลักหลังใบสำคัญรับรองไว้

4.       การตรวจสอบเพิ่มเติมอื่นๆตามที่ทางการกำหนด

19.1.2       การตรวจสอบเรือจะต้องดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ของทางการอย่างไรก็ตามทางการอาจมอบหมายองค์กรรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับตามที่อ้างถึงในกฎข้อบังคับที่11-2/1ดำเนินการตรวจสอบได้

19.1.3       ในทุกกรณีทางการที่เกี่ยวข้องจะต้องรับประกันความสมบูรณ์และประสิทธิภาพของการตรวจสอบอย่างเต็มที่และจะต้องดำเนินการเพื่อให้มีการดำเนินการที่จำเป็นเพื่อตอบสนองพันธกรณีดังกล่าว

19.1.4       ระบบรักษาความปลอดภัยและอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยอื่นๆของเรือหลังจากการตรวจสอบจะต้องมีการดูแลรักษาให้สอดคล้องกับข้อกำหนดในกฎข้อบังคับที่11-2/4.2และ11-2/6ของภาคนี้ของประมวลข้อบังคับนี้และของแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือที่ได้รับอนุมัติแล้วหลังจากที่ได้ดำเนินการตรวจสอบตามส่วนที่19.1.1เสร็จสมบูรณ์แล้วจะต้องไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบรักษาความปลอดภัยอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยหรือแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือที่ได้รับอนุมัติแล้วโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางการ

19.2   การออกหรือการสลักหลังใบสำคัญรับรอง

19.2.1       เรือจะได้รับใบสำคัญรับรองการรักษาความปลอดภัยของเรือระหว่างประเทศหลังจากที่รับการตรวจสอบครั้งแรกหรือการตรวจสอบเพื่อออกใบสำคัญรับรองใหม่ตามข้อกำหนดของส่วนที่19.1

19.2.2       ใบสำคัญรับรองดังกล่าวจะต้องออกให้หรือสลักหลังให้โดยทางการหรือองค์กรรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับในฐานะตัวแทนทางการ

19.2.3       รัฐภาคีอื่นอาจสั่งให้มีการตรวจสอบเรือเมื่อทางการร้องขอและหากพอใจว่าได้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดของส่วนที่19.1.1แล้วจะต้องยกหรือให้อำนาจในการออกใบสำคัญรับรองการรักษาความปลอดภัยของเรือระหว่างประเทศแก่เรือตลอดจนสลักหลังหรือให้อำนาจในการสลักหลังใบสำคัญรับรองนั้นบนเรือตามที่กำหนดไว้ในประมวลข้อบังคับนี้

19.2.3.1         จะต้องส่งสำเนาใบสำคัญรับรองและสำเนารายงานการตรวจสอบให้แก่ทางการที่ร้องขอให้ตรวจสอบในโอกาสแรก

19.2.3.2         ใบสำคัญรับรองที่ออกให้นั้นจะต้องมีข้อความที่ระบุว่าเป็นการออกให้ตามคำร้องขอของทางการและจะต้องมีผลและได้รับการยอมรับเช่นเดียวกับใบสำคัญรับรองที่ออกให้ตามส่วนที่19.2.2

19.2.4ใบสำคัญรับรองการรักษาความปลอดภัยของเรือระหว่างประเทศจะต้องมีรูปแบบตามที่แสดงไว้ในแบบแนบท้ายประมวลข้อบังคับนี้หากภาษาที่ใช้ไม่ใช่ภาษาอังกฤษฝรั่งเศสหรือเสปนจะต้องมีคำแปลข้อความในใบสำคัญรับรองเป็นภาษาใดภาษาหนึ่งดังกล่าวข้างต้น

19.3   อายุของใบสำคัญรับรอง

19.3.1       ใบสำคัญรับรองการรักษาความปลอดภัยของเรือระหว่างประเทศจะออกให้สำหรับช่วงเวลาตามที่ทางการกำหนดซึ่งไม่เกินห้าปี

19.3.2       เมื่อได้ดำเนินการตรวจสอบเพื่อออกใบสำคัญรับรองใหม่แล้วเสร็จภายในสามเดือนก่อนวันหมดอายุของใบสำคัญรับรองฉบับเดิมให้ใบสำคัญรับรองฉบับใหม่มีอายุไม่เกินห้าปีนับจากวันที่ดำเนินการตรวจสอบเพื่อออกใบสำคัญรับรองใหม่แล้วเสร็จจนถึงหมดอายุของใบสำคัญรับรองฉบับเดิม

19.3.2.1         เมื่อได้ดำเนินการตรวจสอบเพื่อออกใบสำคัญรับรองใหม่แล้วเสร็จหลังจากวันหมดอายุของใบสำคัญรับรองฉบับเดิมให้ใบสำคัญรับรองฉบับใหม่มีอายุไม่เกินห้าปีนับจากวันที่ดำเนินการตรวจสอบเพื่อออกใบสำคัญรับรองใหม่จนถึงวันหมดอายุของใบสำคัญรับรองฉบับเดิม

19.3.2.2         เมื่อได้ดำเนินการตรวจสอบเพื่อออกใบสำคัญรับรองใหม่แล้วเสร็จก่อนวันหมดอายุของใบสำคัญรับรองฉบับเดิมนานกว่าสามเดือนให้ใบสำคัญรับรองฉบับใหม่มีอายุไม่เกินห้าปีนับจากวันที่ดำเนินการตรวจสอบเพื่อออกใบสำคัญรับรองใหม่แล้วเสร็จ

19.3.3       ถ้าใบสำคัญรับรองที่ออกให้มีอายุน้อยกว่าห้าปีทางการอาจขยายอายุของใบสำคัญรับรองออกไปจนเลยวันหมดอายุถึงกำหนดเวลาสูงสุดตามที่กำหนดให้ในส่วนที่19.3.1แต่จะต้องมีการตรวจสอบตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่19.1.1ตามความเหมาะสมเพื่อออกใบสำคัญรับรองที่มีอายุห้าปีด้วย

19.3.4       หากได้มีการตรวจสอบเพื่อออกใบสำคัญรับรองใหม่เสร็จเรียบร้อยและไม่สามารถออกใบสำคัญรับรองฉบับใหม่ให้ได้หรือเพื่อเก็บรักษาไว้บนเรือก่อนวันหมดอายุของใบสำคัญรับรองฉบับเดิมทางการหรือองค์กรรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับที่ได้รับมอบอำนาจจากทางการอาจสลักหลังใบสำคัญรับรองฉบับเดิมให้เป็นการชั่วคราวโดยให้มีอายุไม่เกินห้าเดือนนับจากวันหมดอายุ

19.3.5       ถ้าเรือลำใดถือใบสำคัญรับรองที่หมดอายุยังเดินทางไม่ถึงเมืองท่าที่เรือจะเข้ารับการตรวจสอบทางการอาจขยายเวลาหมดอายุของใบสำคัญรับรองนั้นได้โดยให้มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่ออนุญาตให้เรือเดินทางถึงเมืองท่าที่จะเข้ารับการตรวจโดยจะกระทำได้เฉพาะในกรณีที่มีเหตุผลอันสมควรเท่านั้นการขยายเวลาหมดอายุของใบสำคัญรับรองให้ขยายได้ไม่เกินสามเดือนและเมื่อเรือเดินทางถึงเมืองท่าที่จะเข้ารับการตรวจสอบแล้วจะต้องไม่เดินทางออกจากเมืองท่านั้นโดยไม่มีใบสำคัญรับรองฉบับใหม่เมื่อได้ดำเนินการตรวจสอบเพื่อออกใบสำคัญรับรองฉบับใหม่แล้วเสร็จให้ใบสำคัญรับรองฉบับใหม่มีอายุไม่เกินห้าปีนับจากวันหมดอายุของใบสำคัญรับรองฉบับเดิมก่อนได้รับการขยายระยะเวลา

19.3.6       ใบสำคัญรับรองที่ออกให้แก่เรือที่จะเดินทางในเส้นทางระยะสั้นซึ่งยังไม่เคยได้รับการขยายระยะเวลาหมดอายุตามข้อกำหนดข้างต้นของส่วนนี้อาจได้รับการขยายเวลาจากทางการเป็นระยะเวลาไม่เกินหนึ่งเดือนนับจากวันหมดอายุของใบสำคัญรับรองฉบับเดิมและเมื่อได้ดำเนินการตรวจสอบเพื่อออกใบสำคัญรับรองใหม่แล้วเสร็จให้ใบสำคัญรับรองฉบับใหม่มีอายุไม่เกินห้าปีนับจากวันหมดอายุของใบสำคัญรับรองฉบับเดิมก่อนได้รับการขยายเวลาหมดอายุ

19.3.7       ถ้าได้ดำเนินการตรวจสอบในช่วงกลางรอบระยะเวลาก่อนช่วงเวลาที่กำหนดในส่วนที่19.1.1ให้ปฏิบัติการดังนี้

1.             ให้แก้ไขวันหมดอายุที่แสดงไว้ในใบสำคัญรับรองนั้นโดยการสลักหลังเป็นวันที่ซึ่งจะต้องไม่เกินสามปีหลังจากวันที่ดำเนินการตรวจสอบในช่วงกลางรอบระยะเวลาเสร็จสิ้น

2.             วันหมดอายุของใบสำคัญรับรองนั้นยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลงในกรณีที่มีการตรวจเพิ่มเติมอีกอย่างน้อยหนึ่งครั้งซึ่งทำให้ไม่เกินระยะเวลาสูงสุดระหว่างการตรวจตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่19.1.1

19.3.8       ใบสำคัญรับรองที่ออกภายใต้ส่วนที่19.2จะสิ้นอายุลงในกรณีต่อไปนี้

1.             ถ้าการตรวจสอบที่เกี่ยวข้องยังไม่สมบูรณ์ภายในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ในส่วนที่19.1.1

2.             ถ้าใบสำคัญรับรองไม่ได้รับการสลักหลังตามกับข้อกำหนดในส่วนที่19.1.1.3และ19.3.7.1

3.             เมื่อมีบริษัทใหม่เข้ารับผิดชอบในการประกอบการเรือซึ่งบริษัทนั้นยังไม่เคยใช้ประกอบการมาก่อน

4.             เมื่อเรือเปลี่ยนไปชักธงของรัฐอื่น

19.3.9       ในกรณีที่

1.             เรือเปลี่ยนไปชักธงของรัฐภาคีอื่นรัฐภาคีเดิมของเรือลำนั้นจะต้องส่งมอบสำเนาใบสำคัญรับรองว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือระหว่างประเทศและข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่เรือเก็บรักษาไว้ก่อนเปลี่ยนไปชักธงของรัฐภาคีอื่นและสำเนารายงานการตรวจสอบเรือดังกล่าวโดยไม่ชักช้า

2.             บริษัทเรือที่เข้ารับผิดชอบในการประกอบการเรือที่ไม่เคยใช้ประกอบการมาก่อนให้บริษัทเดิมต้องส่งมอบสำเนาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับใบสำคัญรับรองว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือระหว่างประเทศทั้งหมดของเรือลำดังกล่าวให้แก่บริษัทใหม่หรืออำนวยความสะดวกในการตรวจสอบตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่19.4.2

19.4   ใบสำคัญรับรองชั่วคราว

19.4.1       ใบสำคัญรับรองที่กำหนดไว้ในส่วนที่19.2จะออกให้ต่อเมื่อทางการที่ออกใบสำคัญรับรองได้ดำเนินการเพื่อให้เรือลำนั้นปฏิบัติตามข้อกำหนดของส่วนที่19.1ได้โดยสมบูรณ์อย่างไรก็ตามหลังจากวันที่1กรกฎาคม2547ทางการอาจจะออกใบสำคัญรับรองชั่วคราวให้เพื่อความมุ่งหมายต่อไปนี้

1.             เรือที่ไม่มีใบสำคัญรับรองเมื่อส่งมอบหรือก่อนนำออกใช้งานหรือนำออกใช้งานอีกครั้ง

2.             เรือเปลี่ยนไปชักธงของรัฐภาคีอื่น

3.             เรือเปลี่ยนไปชักธงของรัฐอื่นที่ไม่ใช่รัฐภาคี

4.             มีบริษัทเรือเข้ารับผิดชอบในการประกอบการเรือที่บริษัทไม่เคยใช้ประกอบการมาก่อนทั้งนี้จนกว่าจะมีการออกใบสำคัญรับรองตามส่วนที่19.2โดยจะต้องมีรูปแบบตามที่แสดงไว้ในแบบแนบท้ายประมวลข้อบังคับนี้

19.4.2       ใบสำคัญรับรองจะออกให้ต่อเมื่อทางการหรือองค์กรรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับและได้รับมอบอำนาจจากทางการได้ตรวจสอบแล้วว่า

1          ได้มีการจัดทำการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของเรือตามที่กำหนดไว้ในภาคนี้ของประมวลข้อแล้วเสร็จ

2          มีการเก็บรักษาสำเนาแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือที่เป็นไปตามข้อกำหนดในบทที่11-2 และ ภาค ก. ของประมวลข้อบังคับนี้ซึ่งได้รับการตรวจสอบและอนุมัติและมีการปฏิบัติตามแผนนั้นบนเรือ

3          เรือมีระบบการเตือนภัยตามข้อกำหนดของกฎข้อบังคับที่11-2/6

4          เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัท

.1     ได้ดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่า

.1         มีการทบทวนแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือตามข้อกำหนดของภาคนี้ของประมวลข้อบังคับนี้

.2         แผนนั้นได้มีการนำเสนอเพื่อขออนุมัติแล้วและ

.3         แผนนั้นได้มีการนำมาใช้บนเรือและ

.2     มีการดำเนินการที่จำเป็นรวมทั้งการจัดให้มีการฝึกปฏิบัติการฝึกซ้อมและการตรวจสอบภายในโดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำบริษัทต้องดำเนินการเพื่อให้เรือได้รับการตรวจสอบตามข้อกำหนดของส่วนที่19.1.1ภายใน6เดือน

5          มีการดำเนินการเพื่อให้มีการตรวจสอบตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่19.1.1.1

6          นายเรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยของเรือคนอื่นๆมีความคุ้นเคยกับหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่กำหนดไว้ในภาคนี้ของประมวลข้อบังคับนี้และตามข้อกำหนดอื่นๆที่ระบุไว้ในแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือที่เก็บรักษาบนเรือและได้รับข้อมูลในภาษาที่ไว้ในการปฏิบัติงานของคนประจำเรือหรือภาษาที่คนประจำเรือทุกคนเข้าใจและ

7          เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือมีคุณสมบัติตามข้อกำหนดในภาคนี้ของประมวลข้อบังคับนี้

19.4.2       ใบสำคัญรับรองชั่วคราวอาจออกให้โดยทางการหรือโดยองค์กรรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับและได้รับมอบอำนาจ

19.4.3       ใบสำคัญรับรองชั่วคราวจะมีอายุ6เดือนหรือจนกว่าจะมีการออกใบสำคัญรับรองตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่19.2แล้วแต่เหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นก่อนและอาจไม่สามารถขยายเวลาได้

19.4.4       รัฐภาคีไม่สามารถออกใบสำคัญรับรองว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือระหว่างประเทศชั่วคราวฉบับใหม่ติดต่อกันให้แก่เรือถ้ารัฐภาคีหรือองค์กรรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับใช้ดุลพินิจเห็นว่าเรือหรือบริษัทเรือมีวัตถุประสงค์ในการขอใบสำคัญรับรองดังกล่าวเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในบทที่ 11-2 และภาคนี้ของประมวลข้อบังคับนี้เกินอายุของใบสำคัญรับรองชั่วคราวตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่19.4.4

19.4.5       ตามจุดมุ่งหมายของกฎข้อบังคับที่11-2/9รัฐภาคีอาจดำเนินการเพื่อให้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดในส่วนที่19.4.2.4ถึง19.4.2.6ก่อนที่จะยอมรับให้ใบสำคัญรับรองว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือระหว่างประเทศชั่วคราวเป็นใบสำคัญรับรองที่ใช้ได้และมีผลทางกฎหมาย

 

 


§         ข้อกำหนดภาคบังคับเกี่ยวกับบทบัญญัติ ISPS Code ของบทที่ 11-2 ของภาคผนวกแนบท้ายอนุสัญญาว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ.1974 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติม

§         แนวทางสำหรับบทบัญญัติ ISPS Code ของบทที่ 11-2 ของภาคผนวกแนบท้ายอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล 1974 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมและภาค ก ของประมวลข้อบังคับนี้ (ส่วนที่ 1)

§         แนวทางสำหรับบทบัญญัติ ISPS Code ของบทที่ 11-2 ของภาคผนวกแนบท้ายอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล 1974 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมและภาค ก ของประมวลข้อบังคับนี้ (ส่วนที่ 2)

§         แนวทางสำหรับบทบัญญัติ ISPS Code ของบทที่ 11-2 ของภาคผนวกแนบท้ายอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล 1974 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมและภาค ก ของประมวลข้อบังคับนี้ (ส่วนที่ 3)

§         แนวทางสำหรับบทบัญญัติ ISPS Code ของบทที่ 11-2 ของภาคผนวกแนบท้ายอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล 1974 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมและภาค ก ของประมวลข้อบังคับนี้ (ส่วนที่ 4)

มารีนเนอร์ไทย | MarinerThai.Net | MarinerThai.Com

 

 

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   6971

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

นิทานชาวเรือ นิทานชาวเรือ

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network