Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

MarinerThai 2004 Co., Ltd.

MarinerThai 2004 Co., Ltd. MarinerThai 2004 Co., Ltd.

ในทะเลมีจุลชีพที่มองไม่เห็น หนักเท่าช้างแอฟริกันล้านล้านตัว

ในทะเลมีจุลชีพที่มองไม่เห็น หนักเท่าช้างแอฟริกันล้านล้านตัว


จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์  วันที่ 21 เมษายน 2553

ภาพประกอบทั้งหมดจากบีบีซีนิวส์

ในอดีตเชื่อว่า ในท้องทะเลมีสิ่งมีชีวิตที่มองไม่เห็นเพียงไม่กี่เซลล์ แต่จากการศึกษาของทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติกว่า 2,000 คน พบว่าในน้ำทะเลมีจุลชีพขนาดเล็ก อัดแน่นหลายล้านเซลล์ ซึ่งคิดเป็นน้ำหนักของช้างแอฟริกาได้ถึง 2.4 ล้านล้านตัวเลยทีเดียว

การสำรวจของนักวิทยาศาสตร์กว่า 2,000 คน จาก 80 ประเทศ ในโครงการสำรวจประชากรจุลชีพทางทะเลนานาชาติ (International Census of Marine Microbes) หรือ ICoMM ยังพบ “แถบจุลชีพ” (microbial mat) ซึ่งทีมสำรวจในชิลีได้พบแถบจุลชีพนี้ ครอบคลุมพื้นที่เทียบเท่ากับประเทศกรีซในชายฝั่งตะวันออกและตะวันตกของอเมริกาใต้ และนับเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของการค้นพบนี้ด้วย

สำหรับแถบจุลชีพนี้ พบในทะเลชั้นออกซิเจนต่ำ (oxygen minimum layers: OML) ซึ่งเป็นบริเวณที่มีออกซิเจนอยู่เล็กน้อย หรือแทบไม่มีเลย และทีมวิจัยยังพบอีกว่า ชุมนุมของจุลชีพเหล่านี้ เจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่มีไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเป็นสารมีพิษต่อสิ่งมีชีวิตทั่วไป และเป็นสารที่เกิดจากการสลายของวัตถุอินทรีย์ในสภาพแวดล้อมที่ขาดออกซิเจน

วิคเตอร์ กาล์ลาร์โด (Victor Gallardo) รองประธานคณะกรรมการสำรวจประชากรทางวิทยาศาสตร์ (Census Scientific Steering Committee) กล่าวว่า แถบจุลชีพนี้คล้ายกับระบบนิเวศน์ที่มีอยู่บนโลกเมื่อประมาณช่วง 2.5 พันล้านปี - 650 ล้านปีก่อน

ทั้งนี้ บีบีซีนิวส์รายงานว่า การค้นพบนี้ได้ประเมินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งคิดเป็น 90% ของชีวมวลในท้องทะเล โดยโครงการ ICoMM นี้ เป็น 1 ใน 4 โครงการย่อยของโครงการสำรวจประชากรสิ่งมีชีวิตทางทะเล (Census of Marine Life) หรือ CoML ซึ่งดำเนินงานมากว่าทศวรรษแล้ว โดยเมื่อช่วงทศวรรษปี 1950 นักวิทยาศาสตร์ประมาณว่าในน้ำทะเล 1 ลิตรนั้นจะพบสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กประมาณ 100,000 เซลล์ แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยียุคใหม่ นักวิทยาศาสตร์คาดว่าจะมีจุลชีพน้ำทะเลปริมาณเดียวกันนี้นับล้านล้านเซลล์

ด้านเอพีรายงานว่า การสำรวจประชากรนานนับทศวรรษนี้ ได้พบสิ่งมีชีวิตทางทะเลรูปแบบใหม่ๆ กว่า 5,000 ชนิด และทีมนักวิจัยคิดว่าน่าจะมีสิ่งมีชีวิตที่ยังไม่พบอีก 2-3 เท่าของชนิดที่พบแล้ว โดยการสำรวจล่าสุดก่อนนั้นได้พุ่งความสนใจไปที่สิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ อย่างเช่นชุมชนดาวเปราะ (brittle star) ที่ชายฝั่งนิวซีแลนด์ เส้นทางพิเศษในแอนตาร์กติกาซึ่งหมึกยักษ์สัญจรไปในกระแสน้ำเค็มพิเศษ ซอกมุมลึกที่สุดที่จะพบแมงกะพรุน และคาเฟ่ฉลามขาว (White Shark Cafe) บริเวณน้ำลึกของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นบริเวณที่ฉลามขาวไปรวมตัวกัน

ตอนนี้นักวิจัยให้ความสำคัญในสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ ซึ่งบางชนิดซ่อนตัวอยู่ในที่พื้นทะเล โดยการสำรวจได้พบหนอนกลมที่หุบเหวลึกที่สุดและมืดที่สุด และโคลนอ่อนเพียงตารางวาเดียวมีหนอนกลมนี้รวมกันอยู่กว่า 500,000 ตัว แต่มีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่มีการศึกษา มีหนอนทะเลกว่า 16,000 ชนิด มีสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวก “ลอริซิเฟอรา” (loriciferan) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เรียกว่า “ตัวคาดเอว” (girdle wearer) เนื่องจากมีเปลือกด้านหลัง คล้ายเสื้อรัดทรงของผู้หญิง และยังพบสัตว์เปลือกแข็งหรือครัสเตเชียน (crustacean) อีกหลายร้อยชนิด

“การค้นพบเช่นนี้ ได้เปลี่ยนมุมมองของเราต่อทะเลลึกใหม่ ต่างไปจากทะเลทรายห่างไกลที่ไร้สิ่งมีชีวิต ทะเลลึกได้เผยให้เห็นระบบนิเวศน์ที่มีความหลากหลายสูง เช่นเดียวกับป่าฝนเขตร้อนและแนวปะการัง” เปโดร มาร์ติเนซ อาร์บิซู (Pedro Martinez Arbizu) นักวิจัยจากศูนย์วิจัยความหลากหลายทางทะเลของเยอรมนี (German Center for Marine Biodiversity Research) ให้ความเห็น

ในปี 2004 นักวิทยาศาสตร์ได้จำแนกแพลงก์ตอนสัตว์ (zooplankton) ประมาณ 7,000 สปีชีส์ และตอนนี้นักวิทยาศาสตร์คาดว่า เมื่อพวกเขาจำแนกสิ่งมีชีวิตจากการสำรวจประชากรทั้งหมดจะมีแพลงก์ตอนสัตว์มากกว่าที่จำแนกไว้ถึง 2 เท่า ทั้งนี้แพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็กนั้นมักโปร่งแสง มองทะเลผ่านได้ง่าย บางครั้งแรียกว่า “แมลงทะเล” (sea bug) ซึ่งสิ่งมีชีวิตนี้มีความสำคัญต่อการเชื่อมโยงห่วงโซ่อาหาร

จากการกระบวนการวิเคราะห์ดีเอ็นเอซึ่งมีการปรับปรุงจากเดิมนั้น ทีมวิจัยพบว่าปลา 3 ชนิดที่คิดว่าต่างสายพันธุ์กันนั้น แท้จริงแล้วเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชีสส์เดียวกัน คือ มิราพินนิเด (Mirapinnidae) หรือปลาเทปเทล (tapetails) เมกาโลมายทีริเด (Megalomycteridae) หรือปลาบิ๊กโนสฟิช (bignose fishes) และเซโตมิมิเด (Cetomimidae) หรือปลาเวลฟิช (whalefishes) โดยปลาเทปเทลนั้นเป็นตัวอ่อน เมื่อเจริญเติบโตขึ้นจะกลายเป็นปลาบิ๊กโนสซี่งเป็นเพศเมีย หรือปลาเวลฟิชซึ่งเป็นเพศผู้

จากการเก็บตัวอย่างจากจุดสำรวจกว่า 1,200 จุด นักวิทยาศาสตร์สรุปว่าอาจพบสกุล (Genus) ของจุลชีพในทะเลมากกว่าที่คิด 100 เท่า โดยในการศึกษาเมื่อปี 2007 เฉพาะที่ช่องแคบอังกฤษ (English Channel) แห่งเดียวพบสกุลใหม่ของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กถึง 7,000 สกุล

ทั้งนี้ สกุลเป็นลำดับจำแนกประเภทสิ่งมีชีวิตซึ่งอยู่ระหว่างวงศ์ (family) และสายพันธุ์ (species) เช่น คน สุนัขและม้าอยู่ในวงศ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่นเดียวกัน แต่อยู่ต่างสกุลกัน โดยคนอยู่ในสกุลโฮโม (homo) สุนัขอยู่ในสกุลแคนิส (canis) และม้าอยู่ในสกุลอีคูส (equus)

ประมาณว่า ในท้องทะเลมีจุลชีพอยู่จำนวน 1030 เซลล์ หรือที่เรียกว่า “โนนิลเลียน” (nonillion : จำนวนล้านล้านล้านล้านล้าน) หรือเปรียบเทียบกับช้างแอฟริกาได้ว่า จุลชีพในจำนวนดังกล่าวหนักเทียบเท่ากับช้างแอฟริกา 2.4 ล้านล้านตัว หากเทียบกับจำนวนประชากรโลก จะได้ช้างไปคนละ 35 ตัวกันเลยทีเดียว.

 


มารีนเนอร์ไทยดอทคอม | MarinerThai.Com

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   3147

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

TOP Engineering Group - UAV Thailand Advertising in marinerthai.net

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network