Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

MarinerThai 2004 Co., Ltd.

Advertising in marinerthai.net FB MarinerThai News

กาแล็กซีชนกัน ภาพสุดยอด 18 ปีกล้องฮับเบิล

กาแล็กซีชนกัน ภาพสุดยอด 18 ปีกล้องฮับเบิล


โดย มติชน วันที่ 03 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11011

คอลัมน์ โลกสามมิติ
โดย บัณฑิต คงอินทร์
bandish.k@psu.ac.th

 

ในโอกาสครบรอบ 18 ปีของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) เมื่อวันที่ 24 เมษายน ปี 2008 ที่ผ่านมา สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศ (Space Tele scope Science Institute) ได้เผยภาพกาแล็กซี่ชนกันที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อนมากถึง 59 ภาพ

Hubble Space Telescope

ภาพจากกล้องอวกาศฮับเบิลเกือบทั้งหมดคือส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจที่ชื่อว่า GOALS (Great Observatories All-sky LIRG Survey) ซึ่งใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ (Spitzer Space Telescope) กล้องโทรทรรศน์อวกาศรังสีเอ็กซ์จันทรา (Chandra X-ray Observa tory) และกล้องโทรทรรศน์อวกาศกาแล็กซี่ (Galaxy Evolution Explorer) สำรวจจักรวาลร่วมกัน

กาแล็กซี่ชนกันเป็นปรากฏการณ์ธรรมดาในจักร วาล และเกิดขึ้นเมื่อครั้งจักรวาลยังเยาว์วัยมากกว่าในปัจจุบัน เพราะในขณะนั้นจักรวาลยังมีขนาดเล็ก กาแล็กซีจึงอยู่ใกล้กัน ทำให้มีโอกาสชนกันได้ง่าย

กาแล็กซี่ทางช้างเผือก (Milky Way galaxy) ในปัจจุบันก็ประกอบด้วยซากปรักหักพังของกาแล็กซี่ขนาดเล็กหลายกาแล็กซี่ และขณะนี้กาแล็กซี่ทางช้างเผือกก็กำลังดึงดูดกาแล็กซี่แคระทรงรีในกลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius Dwarf Elliptical Galaxy) ซึ่งอยู่ห่าง 50,000 ปีแสงเข้ามารวมกัน

ในอีกสองพันล้านปีข้างหน้า กาแล็กซี่ทางช้างเผือกจะชนกับกาแล็กซี่ แอนโดรเมดา (Andromeda galaxy) และจะกลายเป็นกาแล็กซีใหม่ชื่อ มิลโกเมดา (Milkome da)

Andromeda galaxy

โดยขณะนี้ทั้งสองกาแล็กซี่กำลังเคลื่อนที่เข้าหากันด้วยความเร็วประมาณ 500,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

กาแล็กซี่ชนกัน เกิดจากแรงดึงดูดของกาแล็กซี่ทำให้มันเคลื่อนที่เข้าหากัน การชนกันของสองกาแล็กซี่หรือหลายกาแล็กซี่ไม่ทำให้กาแล็กซี่พังทลายลงแต่อย่างใด แต่กาแล็กซี่เหล่านั้นจะรวมกันเป็นกาแล็กซี่หนึ่งเดียว และมีขนาดใหญ่ขึ้นด้วยรูปทรงแปลกๆ

นอกจากนั้นการรวมกันยังให้กำเนิดดาวฤกษ์ดวงใหม่จำนวนมหาศาลจากก๊าซและฝุ่นด้วย ดาวฤกษ์เกิดใหม่จะเห็นเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน และแต่ละดวงจะอยู่ห่างกันหลายปีแสงส่วนดาวฤกษ์เก่าแก่จะเป็นสีแดง

ต่อไปนี้คือภาพกาแล็กซี่ชนกันบางส่วนที่ สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศ เผยแพร่ต่อสาธารณชน

Arp 148

Credit: NASA, ESA, the Hubble Heritage (STScI/AURA)-ESA/Hubble Collaboration, and A. Evans (University of Virginia, Charlottesville/NRAO/Stony Brook University)

Arp 148 อยู่ห่างจากโลก 500 ล้านปีแสง ในกลุ่มดาวหมีใหญ่ (Constellation Ursa Major) การชนกันของสองกาแล็กซี่ เป็นผลทำให้กาแล็กซี่หนึ่งมีรูปทรงคล้ายวงแหวน อีกกาแล็กซี่หนึ่งมีรูปทรงยาวเรียวในแนวตั้งฉากกับวงแหวนซึ่งบ่งชี้ว่า การชนกันกำลังดำเนินต่อไป

ผลจากการชนกันทำให้เกิดคลื่นกระแทก (Shockwave) ซึ่งดูดสสารจากใจกลางกาแล็กซี่ไปยังขอบของวงแหวน

Markarian 273

Markarian 273 อยู่ห่างจากโลก 500 ล้านปีแสง ในกลุ่มดาวหมีใหญ่ มีรูปทรงคล้ายแปรงสีฟัน ด้ามแปรงมีความยาวถึง 1,300 ปีแสง ซึ่งเป็นหลักฐานที่ชี้ว่ากาแล็กซี่หนึ่งที่กำลังเข้าไปชนกับอีกกาแล็กซี่หนึ่ง

จุดเด่นของ Markarian 273 คือมีบริเวณที่ให้กำเนิดดาวฤกษ์ที่มีความหนาแน่นมาก ดวงฤกษ์ดวงใหม่ขนาด 60 เท่าของดวงอาทิตย์เกิดขึ้นในบริเวณนี้ทุกปี

ESO 593-8

ESO 593-8 อยู่ห่างจากโลก 650 ล้านปีแสง ในกลุ่มดาวคนยิงธนู (Constella tion Sagittarius) เกิดจากการชนของสองกาแล็กซี่ในแนวตัดขวาง ทำให้ขณะนี้มันมีรูปทรงคล้ายหิ่งห้อยกำลังบินในอวกาศ และเกิดกระจุกดาวเกิดใหม่ซึ่งเห็นเป็นสีฟ้าจำนวนมาก

นักวิทยาศาสตร์บอกว่า ไม่มีใครคาดเดาได้เลยว่า ในที่สุดมันจะมีรูปร่างอย่างไร

Arp 256

Arp 256 อยู่ห่างจากโลก 350 ล้านปีแสง ในกลุ่มดาววาฬ (Constellation Cetus) นี่คือกาแล็กซี่รูปเกลียวหรือกาแล็กซี่กังหัน (Spiral Galaxies) ที่กำลังเคลื่อนที่เข้าชนกันดูคล้ายดอกไม้ไฟในอวกาศ แรงดึงดูดโน้มถ่วงของสองกาแล็กซี่กาแล็กซีทำให้เกิดหางซึ่งเป็นบริเวณของก๊าซ ฝุ่นและดาวฤกษ์

บริเวณสีฟ้าคือกระจุกดาวเกิดใหม่ซึ่งมีความสว่างกว่าดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะหลายหมื่นล้านเท่า

NGC 6240

NGC 6240 อยู่ห่างจากโลก 400 ล้านปีแสง ในกลุ่มดาวคนแบกงู (Constellation Ophiuchus) เกิดจากการชนกันของสองกาแล็กซี่ขนาดเล็กเมื่อ 30 ล้านปีก่อน

รูปทรงของมันคล้ายเต่าทะเล การชนกันนอกจากให้กำเนิดดาวฤกษ์ดวงใหม่แล้ว ยังจุดชนวนให้เกิดการระเบิดซุปเปอร์โนวาอีกด้วย

การสำรวจโดยกล้องโทรทรรศน์รังสีเอ็กซ์พบว่า หลุมดำยักษ์สองหลุมซึ่งอยู่ห่างกัน 3,000 ปีแสงกำลังเคลื่อนที่เข้าไปรวมกันเป็นหนึ่งเดียว

Arp 272

นี่คือการชนกันของสองกาแล็กซี่รูปเกลียวหรือกาแล็กซี่กังหันที่มีแขนอันสวยงามคือ NGC 6050 และ IC 1179 สมาชิกของกระจุกกาแล็กซี่เฮอร์คิวลิส ในกลุ่มดาวเฮอร์คิวลิส (Constellation Hercules) ห่างจากโลก 450 ล้านปีแสง

การชนกันเพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น โดยแขนของทั้งสองกาแล็กซี่กำลังแตะกัน ซึ่งเป็นภาพที่หาดูได้ยากมาก

NGC 3690

NGC 3690 หรือ Arp 299 เกิดจากกาแล็กซี่ IC 694 และ NGC 3690 ชนกันเมื่อ 700 ล้านปีที่ผ่านมา ในกลุ่มดาวหมีใหญ่ ห่างจากโลก 150 ล้านปีแสง การชนกันให้กำเนิดดาวฤกษ์จำนวนมหาศาล

นักดาราศาสตร์พบว่าเกิดการระเบิดซุปเปอร์โนวา 6 ครั้งในบริเวณขอบกาแล็กซี่ในระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา

 


มารีนเนอร์ไทยดอทคอม | MarinerThai.Com

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   8896

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

นิทานชาวเรือ MarinerThai Webboard

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network