Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

Cho.Charoen Maritime Instruments

Nathalin Group MarinerThai 2004 Co., Ltd.

ฟอสซิล "อสูรกายทะเล" ใหญ่ยักษ์สุดๆ แค่ครีบก็ 3 เมตร

ฟอสซิล "อสูรกายทะเล" ใหญ่ยักษ์สุดๆ แค่ครีบก็ 3 เมตร


โดย ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551

เปรียบเทียบเฉพาะครีบของพีลิโอซอร์อย่างเดียวก็ยาวถึง 3 เมตร

บีบีซีนิวส์ - นักวิจัยนอร์เวย์เผยฟอสซิล "อสูรกายทะเล" ใหญ่ยักษ์สุดๆ ยาวได้ถึง 15 เมตร เฉพาะครีบก็ยาวถึง 3 เมตร ใช้ขากรรไกรขบรถเก๋งให้ขาดครึ่งได้สบาย ระบุสัตว์ดึกดำบรรพ์ยุคจูราสสิคนี้เป็นสัตว์เลื้อยคลานทางทะเลใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ

นักวิทยาศาสตร์จากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยออสโล (University of Oslo Natural History Museum) ในนอร์เวย์ เผยตัวอย่างฟอสซิลอายุ 150 ล้านปีซึ่งพบเมื่อปี 2549 ที่สปิทสเปอร์เกน (Spitspergen) เกาะในอาร์กติกซึ่งอยูในแนวเดียวกับหมู่เกาะสวัลบาร์ด (Svalbard) โดยสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ในยุคจูราสสิกนี้เป็นหนึ่งในสัตว์เลื้อยคลานทะเล 40 ชนิดจากกองฟอสซิลอีกมากมายที่ยังไม่พบในเกาะดังกล่าว

สัตว์เลื้อยคลานชนิดนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า "อสูรกาย" (The Monster) และคาดว่าสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่นี้อาจมีความยาวจากจมูกถึงหาง 15 เมตร

ภาพจำลองแสดงหน้าตาของพีลิโอซอร์

อสูรกายเลื้อยคลานที่พบเป็นชนิด "พีลิโอซอร์" (pliosaur) ซึ่ง ดร.จอร์น ฮูรัม (Dr.Jorn Hurum) ผู้อำนวยการคณะสำรวจดังกล่าวจากมหาวิทยาลัยพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาออสโล เผยว่าตัวอย่างที่พบในสวัลบาร์ดนั้นมีขนาดใหญ่กว่าสัตว์เลื้อยคลานทะเลขนาดใหญ่ที่สุดซึ่งเคยพบก่อนหน้านี้จากออสเตรเลียที่ชื่อโครโนซอรัส (Kronosaurus) อยู่ถึง 20%

"เมื่อรวมกับส่วนเล็กๆ ที่หายไปส่วนครีบจะมีความยาว 3 เมตร ทั้งนี้เราได้ประกอบชิ้นส่วนกระดูกทั้งหมดที่ฐานปฏิบัติการของเราและเราก็ต้องประหลาดใจกันเองเพราะเราไม่เคยเห็นชิ้นส่วนเหล่านี้ประกอบเข้าด้วยกันมาก่อนเลย" ดร.ฮูรัมกล่าว

ภาพจำลองแสดงการล่าเหยื่อของพีลิโอซอร์ขณะจับไดโนเสาร์พันธุ์ "ทีโรซอร์" (pterosaur)

พีลิโอซอร์นั้นญาติคอสั้นของสัตว์เลื้อยคลานดึกดำบรรพ์พันธุ์ "พลีซิโอซอร์" (plesiosaur) ซึ่งเป็นกลุ่มของสัตว์เลื้อยคลานซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้วที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรระหว่างยุคของไดโนเสาร์ รูปร่างของพลีซิโอซอร์เป็นลักษณะหยดน้ำที่มีปีกอันทรงพลัง 1 คู่ซึ่งใช้คลื่อนตัวเองใต้น้ำ

"สัตว์เหล่านี้เป็นนักล่าที่ทรงพลังอย่างน่าสะพรึงกลัว ถ้าคุณลองเปรียบเทียบกะโหลกของพีลิโอซอร์ขนาดใหญ่กับจรเข้ เป็นที่ชัดเจนว่าสัตว์ดึกดำบรรพ์มีโครงสร้างสำหรับกัดที่ดีกว่ามากๆ จากการเปรียบเทียบกับจรเข้คุณจะได้ขนาดกล้ามเนื้อใหญ่กว่า 3-4 เท่า จึงทั้งใหญ่กว่า มีกล้ามเนื้อที่ใหญ่และแข็งแรงกว่า และมีขากรรไกรที่แข็งแกร่ง พิลิโอซอร์ขนาดใหญ่นั้นใหญ่โตพอที่งับรถเก๋งแล้วกัดให้ขาดออกเป็น 2 ท่อนได้" ริชาร์ด ฟอร์เรสต์ (Richard Forrest) นักบรรพชีวินวิทยาผู้เชี่ยวชาญเรื่องพลีซิโอซอร์กล่าว

การขุดซากฟอสซิลของทีมนักวิจัยนอร์เวย์ยังพบพลีซิโอซอร์ญาติคอยาวของพีลิโอซอร์ด้วย

ด้านแองเจลา มิลเนอร์ (Angela Milner) ผู้ดูแลด้านบรรพชีวินวิทยาในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาในลอนดอน อังกฤษกล่าวว่า การค้นพบนี้ก็ช่วยคลายข้อสงสัยได้มากให้กับความรู้เเรื่องนักล่าทางทะเลที่อยู่อันดับบนสุดของห่วงโซ่อาหาร การที่พีลิโอซอร์เป็นสัตว์เลื้อยคลานและต้องไม่ใช่สัตว์เลือดอุ่นอย่างแน่นอนนั้นเป็นการพิสูจน์ที่ดีถึงทฤษฎีเกี่ยวกับแผ่นดินโลกเคลื่อนที่และภูมิอากาศโบราณ เมื่อ 150 ล้านปีมาแล้วสวัลบาร์ดไม่ได้ใกล้กับขั้วโลกเหนือนัก บริเวณดังกล่าวไม่มีน้ำแข็งปกคลุมและสภาพอากาศก็อบอุ่นกว่าในปัจจุบัน

ภาพขณะทีมสำรวจฟอสซิลจากนอร์เวย์ทำงานด้วยความยากลำบากท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ทารุณ

ฟอสซิลของ "อสูรกาย" ถูกขุดขึ้นมาเมื่อเดือน ส.ค.ปีที่แล้วและถูกส่งไปยังพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาในออสโล ซึ่งสมาชิกทีมในการค้นฟอสซิลสัตว์โบราณต้องเคลื่อนย้ายหินหนักหลายร้อยตันด้วยมือเปล่า ท่ามกลางลมพัดแรง หมอก ฝนและอุณหภูมิระดับเยือกแข็ง และการเผชิญการคุกคามจากการถูกจู่โจมโดยหมีขั้วโลก โดยสิ่งที่เขาเหล่านั้นค้นพบคือจมูก ฟันบางส่วน ปาก หลัง ไหล่และครีบที่เกือบจะสมบูรณ์ แต่โชคร้ายที่ส่วนหัววางอยู่ในตำแหน่งที่แม่น้ำไหลผ่าน ดังนั้นกะโหลกส่วนมากจึงถูกกระแสน้ำพัดหายไป

"พีลิโอซอร์" (pliosaur)

"พลีซิโอซอร์" (plesiosaur)

 


มารีนเนอร์ไทยดอทคอม | MarinerThai.Com

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   4943

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

TOP Engineering Group - UAV Thailand Cho.Charoen Maritime Instruments

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network