Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

Nathalin Group

MarinerThai 2004 Co., Ltd. Advertising in MarinerThai.Com

สารพัด “สิ่งมีชีวิต” ประหลาดใต้ทะเล

สารพัด “สิ่งมีชีวิต” ประหลาดใต้ทะเล


โดย ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 17 ตุลาคม 2550 18:26 น.

กะพรุนทะเลลึก - หนึ่งในสัตว์น้ำหน้าตาประหลาดที่บันทึกได้จากใต้ทะเลเซเลเบส ทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ โดยทีมสำรวจจากสถาบันสมุทรศาสตร์วูดส์ โฮล และเนชั่นแนล จีโอกราฟิก ดำดิ่งลึกลงไปกว่า 5 ก.ม. ในบริเวณที่เรียกว่า "คอรอล ไทรแองเกิล" ซึ่งเป็นดินแดนบรรจบกันระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ จนพบกับสัตว์น้ำหลากหลายชนิดที่ไม่เคยพบมาก่อน อาศัยอยู่ในแถบนั้นแห่งเดียว (ภาพ : AFP /UNIVERSITY OF ALASKA)

เอพี/เอเอฟพี – พบ “สิ่งมีชีวิต” หน้าตาแปลกๆ ใต้ท้องทะเลกันอีกแล้ว หลังนักวิทยาศาสตร์และทีมจากเนชันแนล จีโอกราฟิกมุดน้ำสำรวจก้นทะเลเซเลเบส พบสัตว์น้ำหลากหลายสายพันธุ์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวนับล้านปี เชื่อว่าบางชนิดยังไม่เคยมีผู้ใดพบมาก่อนหน้านี้ รวมถึงหนอนส้มมีหนวด และแมงกะพรุนสีดำหน้าตาประหลาด

โครงการที่นำโดย ดร.ลาร์รี มาดิน (Dr. Larry Madin) แห่งสถาบันสมุทรศาสตร์ วูดส์ โฮล (Woods Hole Oceanographic Institution) ในเมสซาซูเซ็ตส์ รวบรวมนักวิทยาศาสตร์จากสหรัฐอเมริกาและฟิลิปปินส์สำรวจสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลเซเลเบส (Celebes Sea) ทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ พบตัวอย่างสัตว์น้ำหน้าตาประหลาดกว่า 100 ชนิด

มาดิน นำภาพที่บันทึกได้ระหว่างการสำรวจออกเปิดเผยเมื่อวันที่ 16 ต.ค. ว่า พวกเขาได้ลงไปสำรวจในใจกลางของบริเวณที่เรียกว่าสามเหลี่ยมปะการัง (coral triangle) ซึ่งเป็นพรมแดนเชื่อมต่อระหว่างฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งบริเวณดังกล่าวผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสูง

จุดลึกสุดของทะเลเซเลเบสอยู่ที่ 16,500 ฟุต แต่ทีมสำรวจเข้าถึงลึกสุดได้เพียงแค่ 9,100 ฟุต ด้วยการใช้กล้องบันทึกภาพหย่อนลงไปแทนมนุษย์

กะพรุนอีกชนิดที่ทีมสำรวจค้นพบ (ภาพ : AFP PHOTO/LUIS LIWANAG)

“นี่น่าจะเป็นจุดศูนย์กลางของพื้นที่ดังกล่าว เพราะมีสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์วิวัฒนการอยู่บริเวณนี้ และยังกระจัดกระจายไปตามมหาสมุทร” มาดินเล่า ซึ่งโครงการของเขาได้รวมมือกับนิตยสารเนชันแนล จีโอกราฟิก (National Geographic Magazine) และรัฐบาลฟิลิปปินส์ในการจัดหาเรือสำรวจ

ทีมสำรวจมีนักวิทยาศาสตร์ร่วมด้วยกว่า 20 คน และทีมงานของเนชันแนล จีโอกราฟิก รวมถึงเอมอรี คริสตอฟ (Emory Kristof) ช่างภาพใต้น้ำ ที่เคยร่วมบันทึกภาพซากเรือไททานิกเมื่อปี 2528

ทั้งหมดใช้เวลา สำรวจอยู่กว่า 2 อาทิตย์ในทะเลเซเลเบส ที่บริเวณจังหวัดทางตอนใต้ของดินแดนตากาล็อก และพวกเขาก็นำภาพต่างๆ กลับมาโชว์ให้สื่อมวลชนได้ชมที่กรุงมะนิลา

หมึกกล้วยวัยเยาว์ มีขนาด 0.5 เซ็นติเมตร (ภาพ : AFP/Michael Aw/Ocean Geographic Magazine)

ตัวอย่างที่พวกเขานำกลับมา มีหลายอย่างอาจเป็นสิ่งมีชิวตชนิดแรก อาทิ แตงกวาทะเล ที่มีลักษณะเกือบโปร่งใส ว่ายน้ำได้ด้วยการงอตัวที่มีรูปร่างกลมๆ ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือแมงกะพรุนสีดำ ที่พบใกล้กับก้นทะเล

แต่สิ่งมีชีวิตที่น่าสนใจที่สุดสำหรับทีมงานก็คือ หนอนสีส้มที่ลำตัวเต็มไปด้วยหนาม และยังมีหนวดอีก 10 เส้นเหมือนปลาหมึกก็ไม่ปาน ทีมสำรวจไม่รู้ว่าคือตัวอะไรกันแน่ แต่น่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ ที่ไม่เคยมีผู้ใดค้นพบมาก่อน

สารพัดสัตว์ที่ได้ตัวอย่างมา ทั้งกะพรุน, ปลาเรืองแสง, ปลาไหลจงอยปากยาว, กุ้งสีส้ม และพวกสัตว์เรืองแสงต่างๆ (ภาพ : AFP/Michael Aw/Ocean Geographic Magazine)

มาดินบอกว่า อาจต้องใช้เวลาอีกหลายสัปดาห์ ที่จะศึกษาว่าสิ่งมีชีวิตชนิดใดบ้างที่เพิ่งค้นพบจากการสำรวจครั้งนี้ โดยเขาคาดว่าจะสามารถรายงานได้อย่างเร็วก็เดือนหน้า

ทะเลเซเลเบส ล้อมรอบไปด้วยเกาะต่างๆ มากมาย และยังมีปะการังน้ำตื้นอยู่เป็นระยะ ทำให้แบ่งออกจากทะเลอื่นๆ อย่างชัดเจน ดังนั้นสิ่งมีชีวิตต่างๆ สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ยาวนาน โดยที่พวกเขาพบก็เชื่อว่าเป็นล้านๆ ปีที่สิ่งมีชีวิตพวกนั้นอาศัยอยู่ โดยไม่แพร่กระจายไปพื้นที่อื่นๆ

บ็อกซ์ฟิช ปลาเหลี่ยมในกลุ่มปักเป้า ตัวนี้ยังละอ่อน มีขนาดลำตัวเพียงแต่ 1 เซ็นติเมตร (ภาพ : AFP/Michael Aw/Ocean Geographic Magazine)

อีกทั้งพวกเขายังเชื่อว่า น่าจะมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่น่าสนใจอยู่บริเวณก้นทะเลอีกมากมาย นับเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมาก แห่งหนึ่งในโลก

ทะเลเซเลเบส ทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์


มารีนเนอร์ไทยดอทคอม | MarinerThai.Com

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   3813

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

Photos from Mariner TOP Engineering Group - UAV Thailand

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network