Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

Nathalin Group

MarinerThai 2004 Co., Ltd. FB MarinerThai News

เมื่อน้ำแข็งกรีนแลนด์ละลายเร็วขึ้น

เมื่อน้ำแข็งกรีนแลนด์ละลายเร็วขึ้น


โดย มติชน วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10213

 คอลัมน์ โลกสามมิติ

โดย บัณฑิต คงอินทร์ bandish.k@psu.ac.th

 

นักวิทยาศาสตร์เคยทำนายว่า แผ่นน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งหนาประมาณ 3 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 1.7 ล้านตารางกิโลเมตร จะละลายหมดไปใน 1,000 ปีข้างหน้า ทว่าขณะนี้คงไม่ใช่แล้ว มันอาจเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คิดไว้มาก เพราะผลจากภาวะโลกร้อน

นักวิทยาศาสตร์ของนาซาและมหาวิทยาลัยแคนซัสเผยผลการวิจัยในวารสาร "journal Science" ว่าอัตราการละลายของน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์ได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงเวลาระหว่างปี 1996-2005 โดยธารน้ำแข็งได้ไหลลงมหาสมุทรแอตแลนติกเร็วขึ้น ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

การเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์เกิดจากหิมะที่สะสมภายในแผ่นน้ำแข็ง ขณะเดียวกันมวลของน้ำแข็งก็จะลดลงจากการละลายที่บริเวณขอบรอบๆ ของแผ่นน้ำแข็ง และการไหลของธารน้ำแข็งลงสู่มหาสมุทรซึ่งจะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

ดร.อีริค ริกนอท นักวิทยาศาสตร์นาซา จากห้องทดลองจรวดขับดัน (Jet Propulsion Laboratory) สถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนียและแพนเนียร์ คานาการัตนัม นักวิทยาศาสตร์จาก Center for Remote Sensing of Ice Sheets มหาวิทยาลัยแคนซัส ศึกษาการเปลี่ยนแปลงอัตราความเร็วการไหลของธารน้ำแข็งที่กรีนแลนด์ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา โดยเชื่อว่าธารน้ำแข็งเป็นปัจจัยสำคัญของการลดลงของมวลน้ำแข็งทั้งหมดบนเกาะกรีนแลนด์

ทีมนักวิทยาศาสตร์วัดความเร็วการไหลของธารน้ำแข็งโดยใช้ดาวเทียม European Space Agency"s Earth Remote Sensing Satellites 1 และ 2 ในปี 1996 ดาวเทียม Canadian Space Agency"s Radarsat-1 ในปี 2000 และ 2005 และดาวเทียม European Space Agency"s Envisat Advanced Synthetic Aperture Radar ในปี 2005 ประกอบกับข้อมูลความหนาของน้ำแข็งในระหว่างปี 1997-2005 ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 1 ล้าน 2 แสนตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 75 ของแผ่นน้ำแข็งของกรีนแลนด์ทั้งหมด

ผลการศึกษาพบว่าตั้งแต่ปี 1996-2000 ธารน้ำแข็งไหลเร็วขึ้นที่บริเวณตำแหน่งใต้ 66 องศาเหนือ และขยายยัง 70 องศาเหนือในปี 2005 ผลการคำนวณพบว่ามีน้ำแข็งที่ละลายจากธารน้ำแข็งในปี 1996 จำนวน 63 ลูกบาศก์กิโลเมตรต่อปี และเพิ่มขึ้นในปี 2005 เป็น 162 ลูกบาศก์กิโลเมตรต่อปี ซึ่งเมื่อรวมกับปริมาณของน้ำแข็งที่ละลายจากแผ่นน้ำแข็งและหิมะในช่วงเวลาเดียวกันแล้ว ทำให้น้ำแข็งของกรีนแลนด์ละลายในปี 1996 จำนวน 96 ลูกบาศก์กิโลเมตรต่อปี และเพิ่มเป็น 220 ลูกบาศก์กิโลเมตรต่อปี ในปี 2005 ผลของมันทำให้ระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้นกว่าในปี 1996 ราว 2-3 เท่า

ก่อนหน้านี้ รายงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสแวนซีระบุว่า ธารน้ำแข็งหลักของเกาะกรีนแลนด์คือ ธารน้ำแข็ง "Kangerdlugssua" และธารน้ำแข็ง "Helheim" ไหลลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกเร็วเป็นสองเท่าของ 2 ปีที่ผ่านมาหลังจากที่การไหลมีอัตราคงที่มาตั้งแต่ทศวรรษ 1990

นานกว่า 20 ปีแล้วที่อุณหภูมิบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะกรีนแลนด์เพิ่มสูงขึ้นถึง 3 องศาเซลเซียส นักวิทยาศาสตร์เชื่อแน่ว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นเป็นสาเหตุทำให้ธารน้ำแข็งไหลเร็วขึ้น โดยธารน้ำแข็งบริเวณทางตอนใต้ของกรีนแลนด์ไหลเร็วขึ้นตั้งแต่ปี 1996-2000 และขยายไปทางตะวันออกกลางและตะวันตกตั้งแต่ปี 2000-2005

ริกนอตบอกว่า การเกิดแผ่นน้ำแข็งและการละลายของมันต้องใช้เวลานานมาก แต่ตอนนี้ธารน้ำแข็งไหลอย่างรวดเร็ว เพราะการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ

นักวิทยาศาสตร์กำลังกังวลใจกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น เพราะน้ำทะเลสามารถเพิ่มสูงขึ้นในอัตราเร็วเป็นสิบเท่าหรือมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าธารน้ำแข็งจะไหลเร็วและยาวนานแค่ไหน หากน้ำแข็งที่กรีนแลนด์ละลายหมดจะทำให้ระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้น 7 เมตร ประเทศบังกลาเทศ บางส่วนของรัฐฟลอริดา และพื้นที่ชายฝั่งและเกาะแก่งต่างๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิกจะจมอยู่ใต้น้ำ

ปัจจุบันน้ำแข็งทั้งบริเวณแอนตาร์กติก ขั้วโลกใต้และอาร์กติก ขั้วโลกเหนือกำลังละลายอย่างรวดเร็ว เมื่อเร็วๆ นี้นักวิทยาศาสตร์ของศูนย์ข้อมูลน้ำแข็งและหิมะแห่งชาติ ( National Snow and Ice Data Center -NSIDC)มหาวิทยาลัยโคโรลาโดร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ของนาซาและมหาวิทยาลัยวอชิงตันรายงานผลการศึกษาว่า แผ่นน้ำแข็งที่อาร์กติก ขั้วโลกเหนือกำลังละลายในอัตราเร่งในช่วงปี 2002-2005 เป็นผลทำให้แผ่นน้ำแข็งเกือบ 7 ล้านตารางกิโลเมตร หดตัวเหลือเพียง 5.32 ล้านตารางกิโลเมตร ลดลงไปประมาณ 1.3 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงมาก

ผลกระทบที่เกิดขึ้นในขณะนี้ก็คือ น้ำทะเลกำลังกัดเซาะชายฝั่งไซบีเรียและอลาสก้าทำให้ประชาชนที่อาศัยตามแนวชายฝั่งต้องอพยพ หมีขั้วโลกอยู่ในภาวะหิวโหย น้ำหนักตัวลดลงโดยเฉลี่ย 10% เพราะน้ำแข็งละลายเร็วขึ้นทำให้พวกมันจับแมวน้ำได้ยากลำบาก และส่วนหนึ่งจมน้ำตายเพราะแผ่นน้ำแข็งที่พวกมันอาศัยอยู่ละลาย จำนวนหมีขั้วโลกทางชายฝั่งตะวันตกของอ่าวฮัดสัน ในแคนาดาลดลงถึง 22% ในระหว่างปี 1987-2004

ความหิวโหยของหมีขั้วโลกทำให้ชาวเมืองเชอร์ชิล ทางตอนเหนือของแคนาดาอยู่ในภาวะฉุกเฉิน หมีขั้วโลกบุกเข้ามาในบ้านเรือนเพื่อหาอาหาร ชาวเมืองต้องนอนโดยมีปืนพกอยู่ใต้หมอน ไม่มีใครกล้าออกจากบ้านโดยไม่มีอาวุธ เด็กๆไปโรงเรียนโดยมีเจ้าหน้าที่ติดอาวุธคุ้มกัน

นักวิทยาศาสตร์ทำนายว่า ภายในศตวรรษนี้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มสูงขึ้นในระหว่าง 1-6 องศาเซลเซียส ถ้าหากไม่มีมาตรการเร่งด่วนในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างได้ผล

หากอุณหภูมิเพิ่มถึง 3 องศาเซลเซียส สัตว์โลกหลายสปีซีส์จะสูญพันธุ์ น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกจะละลาย ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นหลายเมตรและเกิดทุพภิกขภัยและโรคระบาดทั่วโลก

วันนี้กรีนแลนด์คือ ส่วนหนึ่งของภาพที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

Greenland

 

 


มารีนเนอร์ไทยดอทคอม | MarinerThai.Com

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   3636

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

TOP Engineering Group - UAV Thailand IT knowhow for Mariner

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network