ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ไทยซื้อเรือรบสหรัฐฯ 2 ลำ? ถามกันกระฉ่อนเว็บ

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 07, 13, 23:16:14 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ประเทศไทยได้รับความสนใจจากประชาคมออนไลน์อีกครั้งหนึ่งในสัปดาห์นี้ เมื่อมีการถกเถียงผ่านเว็บไซต์ข่าวกลาโหมหลายแห่งเกี่ยวกับกฎหมายฉบับหนึ่งที่ค้างอยู่ในรัฐสภาสหรัฐฯ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการมอบเรือรบเก่าให้แก่มิตรประเทศ 3 ชาติ รวมทั้ง 2 ลำสำหรับไทยด้วย ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตกันว่า ราชนาวีและรัฐบาลไทยอาจจะตัดสินใจรับเรือทั้งสองลำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


เรือที่สหรัฐฯ เสนอให้แก่ไทยตั้งแต่ปีที่แล้ว คือเรือเร็นท์ (FFG-46 USS Rentz) กับเรือแวนเดกริฟท์ (FFG 48 USS Vandegrift) ซึ่งเป็นเรือฟรีเกตชั้นโอลิเวอร์ฮาซาร์ดเพอร์รี (Oliver Hazard Perry -Class) ที่ประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ ปัจจุบัน แต่ราชนาวีไทยยังไม่เคยแสดงท่าทีใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ หรืออย่างน้อยที่สุด ก็ยังไม่มีข่าวสารอะไรเกี่ยวกับการตัดสินใจออกมาผ่านสื่อต่างๆ

เรื่องนี้กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้งหนึ่งเมื่อเว็บไซต์ข่าวกลาโหมหลายแห่งรายงานในวันอังคาร 7 ม.ค.นี้ เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวในวุฒิสภาสหรัฐฯ ที่นำร่างรัฐบัญญัติเรื่องนี้เข้าพิจารณาอีกครั้ง หลังจากปล่อยค้างมาข้ามปีท่ามกลางเสียงเรียกร้องจากกระทรวงกลาโหมที่ขอให้ผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้โดยเร็ว โดยชี้ให้เห็นผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ที่สูญเสียไปปีละนับร้อยล้านดอลลาร์จากความล่าช้า

ตามรายงานล่าสุดซึ่งอ้างนิตยสารเนวีไทมส์ (Navy Times) สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้ผ่านร่างรัฐบัญญัติฉบับนี้ตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค.ปีที่แล้ว และนำเสนอให้วุฒิสภาพิจารณา แต่วุฒิฯ คัดค้านเนื่องจากในร่างกฎหมายมีการเสนอให้เรือ 2 ลำแก่ประเทศตุรกี ที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับอิสราเอลด้วย

ตามแผนการดังกล่าว สหรัฐฯ เสนอเรือฟรีเกตให้แก่พันธมิตร 3 ประเทศแบบ "ฟรีๆ" แต่ผู้รับจะต้องจ่ายเป็นค่าซ่อมแซม และอัปเกรดเรือตั้งแต่ 40-80 ล้านดอลลาร์ต่อลำ

ในแพกเกจเดียวกันนี้สหรัฐฯ เสนอ "มอบ" เรือชั้นโอลิเวอร์-ฮาซาร์ดฯ แก่เม็กซิโก 2 ลำ คือ เรือเคิร์ต (FFG 38 Kerts) กับเรือแม็คคลัสคีย์ (FFG 41 McKluskey) ให้ตุรกีคือเรือฮาลีเบอร์ตัน (FFG 43 Halyburton) กับเรือเท็ค (FFG 43 TECH)

ผู้แทนกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้อธิบายให้คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องของวุฒิสภาทราบว่า ถึงแม้ตุรกีจะเป็นประเทศมุสลิม แต่เป็นพันธมิตรนาโต้ของสหรัฐฯ มานาน และมิใช่ครั้งแรกที่ตุรกีได้รับอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ผลิตในสหรัฐฯ ปัจจุบัน ทัพเรือตุรกียังมีฟริเกตชั้นเพอร์รีประจำการอยู่ด้วย

ยังไม่ทราบชะตากรรมของร่างรัฐบัญญัติฉบับดังกล่าว แต่วุฒิสภามีกำหนดนำเข้าพิจารณาใหม่ทั้งหมดในวันที่ 4 ม.ค.ที่ผ่านมา เนวีไทม์สกล่าว

กองทัพเรือสหรัฐฯ ทยอยปลดประจำการเรือฟรีเกตชั้นนี้มาตั้งแต่ปี 2538 และมีกำหนดจะให้แล้วเสร็จทั้งหมดในปี 2558 รวมทั้งสิ้น 51 ลำ ที่นำเข้าประจำการในช่วงปี 2522-2532 เรือนำของชั้นคือ FFG 7 Oliver-Hazard Perry ปลดตั้งแต่ปี 2540 หลังใช้งานมา 20 ปี

ตามข้อมูลของกองทัพเรือสหรัฐฯ จนถึงสิ้นปี 2555 ที่ผ่านมา ยังมีเรือชั้นโอลิเวอร์-ฮาซาร์ดฯ ประจำการอยู่ไม่ถึง 20 ลำ ลำ รวมทั้ง 6 ลำที่เสนอ "มอบ" ให้เม็กซิโก ตุรกี กับไทยด้วย ส่วนลำอื่นๆ ที่เหลือมีอยู่อย่างน้อย 6 ลำ ที่จะทยอยปลดระหว่างเดือน ก.พ.-ส.ค.ปีนี้


ที่ผ่านมา มีอย่างน้อย 10 ลำที่ปลดประจำการ และถูกนำไปตัดขายเป็นเศษเหล็ก หรือทำลายโดยฝ่ายความมั่นคง อีกจำนวนหนึ่งรอเวลานำไปทำลาย ที่เหลือ "มอบ" หรือ "ขาย" ให้พันธมิตรในตะวันออกกลาง อเมริกาใต้ และยุโรปตะวันออก ผู้แทนกองทัพเรือสหรัฐฯ บอกกับวุฒิสภาว่า การปลดประจำการเรือชั้นเพอร์รี มีค่าใช้จ่ายลำละ 1 ล้านดอลลาร์ และหากยังเก็บไว้ก็จะมีค่าดูแลรักษาต่างๆ ประมาณ 30 ล้านดอลลาร์ต่อปีต่อลำ

สำหรับยูเอสเอสเรนท์ กับยูเอสเอสแวนเดกริฟท์ เข้าประจำการพร้อมกันในปี 2527 ซึ่งครบกำหนดใช้งาน 20 ปีในปี 2557

หลายปีมานี้ ทั้งยูเอสเอสเร็นท์ และยูเอสเอสแวนเดกริฟท์ ต่างได้รับมอบภารกิจให้ประจำกองทัพเรือที่ 5 และกองทัพเรือที่ 7 จึงเป็นที่คุ้นเคยในภูมิภาคนี้ แต่เรือแวนเดกริฟท์เป็นที่รู้จักมักคุ้นดีกว่าสำหรับไทย เนื่องจากเคยแวะเยือนเกาะภูเก็ตมาหลายครั้ง และร่วมฝึกซ้อมรบกับพันธมิตรในย่านนี้ในหลายโอกาส

เรือแวนเดกริฟท์ยังสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้แก่ความสัมพันธ์ด้านกลาโหมระหว่างสหรัฐฯ กับเวียดนาม โดยไปเยือนนครโฮจิมินห์ในเดือน พ.ย.2526 กลายเป็นเรือรบสหรัฐฯ ลำแรกที่กลับไปเวียดนาม ตั้งแต่สงครามยุติลงในปี 2518

เรือชั้นเพอร์รียังคงเป็นเรือรบทันสมัย หลายลำผ่านการศึกษาอย่างโชกโชนมาในช่วงปลายยุคสงครามเย็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย และเกือบทั้งหมดได้ทำหน้าที่ติดตามกองเรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีของสหรัฐฯ ไปในทุกน่านน้ำทั่วโลก

และแม้ว่าจะสร้างขึ้นมาด้วยจุดประสงค์ในการคุ้มครองเรือรบลำอื่นๆ กับภารกิจปราบเรือดำน้ำเป็นหลัก แต่ก็สามารถใช้งานได้หลากหลาย ติดอาวุธนำวิถี และอาวุธอื่นๆ อีกรอบตัว ล้วนเป็นระบบเดียวกับที่ใช้ในเรือรบอีกหลายลำของราชนาวีไทย รวมทั้งจรวดฮาร์พูนด้วย

ถึงแม้จะเก่า แต่เรือรบชั้นนี้ยังได้รับความสนใจจากหลายประเทศ รวมทั้งกองทัพเรือไต้หวันที่ขอซื้อจากสหรัฐฯ จำนวน 4 ลำ และปลายปีที่แล้วนายทหารระดับสูงแห่งกองทัพเรือคนหนึ่งกล่าวว่า มาเลเซียมีความประสงค์จะขอซื้อเรือรบชั้นนี้จากสหรัฐฯ จำนวน 4 ลำ แต่หลังจากนั้นก็ยังไม่มีรายงานความคืบหน้าใดๆ อีก


กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ กำลังอยู่ระหว่างพัฒนานำกองทัพเรือเข้าสู่ยุคใหม่ โดยนำเรือรบยุคใหม่เข้าประจำการ รวมทั้งเริ่มนำเรือโจมตีชายฝั่ง หรือ Littoral Combat Ship เข้าใช้งานในช่วงปี 2 ปีมานี้ เช่นเดียวกับเครื่องบินของกองทัพเรือที่จะเปลี่ยนไปใช้ F-35 และกำลังพัฒนายานบินแบบไร้คนบังคับเพื่อใช้ทั้งในภารกิจลาดตระเวน และโจมตี

ขณะเดียวกัน ก็กำลังพัฒนา "เรือไร้คนบังคับ" เพื่อใช้ในภารกิจออกล่า-ตรวจหาเรือดำน้ำข้าศึกที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเรือฟรีเกตที่มีอยู่ในปัจจุบันอีกด้วย.

ที่มา -