ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา หาเงินทางเน็ต งาน Part-time MLM ทุกรูปแบบ ธุรกิจที่มี downline ปั่นลิก์ SEOเด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ปตท. เล็งลงทุนคลังรับก๊าซแอลเอ็นจีที่ทวาย

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 08, 13, 23:24:07 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ปตท.ชี้ "ทวาย" มีศักยภาพลงทุนสร้างคลังรับก๊าซแอลเอ็นจี และก๊าซแอลพีจี เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของไทยในอนาคต


นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายเศรษฐกิจพลังงานบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT)เปิดเผยว่า กลุ่มปตท.ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในศักยภาพและโอกาสของการเข้าไปลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมทวาย แล้ว โดยแบ่งโอกาสการลงทุนเป็น 2ระยะ คือระยะสั้นเป็นการลงทุนภายใน5ปี และในระยะยาว เป็นการลงทุนในระยะ 5 ปี ขึ้นไป ว่าในระยะสั้น กรณีที่ทางผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมทวายมีการดำเนินการในเรื่องระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานเสร็จเรียบร้อยแล้ว กลุ่มปตท. ก็มีความพร้อมที่จะเข้าไปลงทุนในเรื่องของท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เชื่อมต่อจากแหล่ง ซอติก้า หรือแหล่งเยตากุน เชื่อมต่อกับฝั่งที่นิคมอุตสาหกรรมทวาย เพื่อป้อนก๊าซธรรมชาติให้กับโรงไฟฟ้าและภาคอุตสาหกรรม

ในขณะที่ระยะยาว มองว่า ทวายมีศักยภาพที่จะลงทุนในการสร้างท่าเทียบเรือและคลังรับก๊าซธรรมชาติเหลว หรือแอลเอ็นจี ขนาด 5ล้านตันต่อปี , รวมทั้งคลังรับก๊าซแอลพีจี หรือระบบท่อขนส่งก๊าซธรรมชาติ เชื่อมต่อทวายและมาบตาพุด เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศไทย

ปัจจุบันปตท.มีการลงทุนสร้างท่าเรือและคลังรับก๊าซแอลเอ็นจี เพื่อรองรับก๊าซแอลเอ็นจี จำนวน 5ล้านตันต่อปีเสร็จเรียบร้อยแล้ว และกำลังอยู่ในระหว่างเตรียมดำเนินการในระยะที่2 ที่จะรองรับก๊าซแอลเอ็นจี อีกจำนวน 5ล้านตัน ซึ่งจะรองรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในประเทศที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 2.5% ต่อปี ไปได้จนถึงปี2020 ดังนั้น ปตท. จึงต้องมีการเตรียมพื้นที่ที่จะสร้างท่าเรือและคลังรับก๊าซแอลเอ็นจี เพิ่มขึ้น อีก 5ล้านตัน โดยหากไม่สามารถจัดหาพื้นที่ที่มาบตาพุดได้ ในส่วนของนิคมอุตสาหกรรมทวาย ก็มีความเหมาะสม ที่จะเข้าไปลงทุน

นอกจากนี้ ความต้องการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก๊าซแอลพีจี ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการที่รัฐยังคงนโยบายการอุดหนุนราคานั้น ทำให้ ปตท. ต้องมีการนำเข้าก๊าซแอลพีจี ประมาณ 1.7แสนตัน ต่อเดือน ในขณะที่มีการคาดการณ์ว่า การนำเข้าจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 3.35 แสนตันต่อเดือนในปี2020 แต่ขีดความสามารถของคลังเก็บก๊าซแอลพีจี ที่กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างใหม่ รับได้ประมาณ 2.5แสนตันต่อเดือน ดังนั้น ส่วนที่เหลือจึงต้องมีการหาพื้นที่ในการสร้างคลังรับก๊าซเพิ่มเติม ซึ่งนิคมอุตสาหกรรมทวาย ก็มีความเหมาะสมเช่นเดียวกัน

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายเศรษฐกิจพลังงานบริษัท ปตท. กล่าวอีกว่าการลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทวาย ปตท.คงไม่สนใจที่จะไปลงทุนด้านระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานเนื่องจากไม่มีความเชี่ยวชาญ จึงต้องให้ผู้พัฒนาพื้นที่ โครงการมีการดำเนินการไปก่อน ทั้งนี้ ในส่วนของอุตสาหกรรมโรงกลั่นและปิโตรเคมี ในระยะแรก คงจะยังไม่มีความเหมาะสม ที่จะเข้าไปลงทุนเนื่องจากความต้องการใช้ภายในประเทศพม่ายังมีน้อย แต่หากความต้องการใช้มีเพิ่มมากขึ้น จนมีความคุ้มค่าต่อการลงทุน ก็เป็นเรื่อง ที่จะมีการพิจารณาตัดสินใจในระดับนโยบายต่อไป

ที่มา -