ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

โรงไฟฟ้าถ่านหิน ผู้ร้ายหรือพระเอก

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 08, 13, 23:21:49 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

เอ่ยถึงโรงไฟฟ้าขึ้นมาเมื่อไหร่ประมาณมีใครเอายาขมหม้อใหญ่มากรอกปากผู้คน มีข่าวจะไปโผล่ที่ไหนก็เกิดแรงต่อต้านดุเดือดเลือดพล่านเป็นอย่างนี้มาหลายสิบปี ยิ่งระบุเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินก็ยิ่งกว่ายาขม คล้ายๆระเบิดลง


การขยายกำลังผลิตจากเชื้อเพลิงน้ำมันเตามาเป็นถ่านหินที่โรงไฟฟ้ากฟผ.ที่คลองขนาน,กระบี่กำลังเป็นเรื่องถูกชาวบ้านรุมต้าน จึงอยู่ในวิสัยคาดการณ์ได้ล่วงหน้า

ผมอยากแบ่งปันแนวคิดว่าด้วยโรงไฟฟ้าถ่านหินด้วยใจเป็นกลาง ด้วยข้อมูลน่าจะเป็นประโยชน์

ในชั้นแรกเข้าใจให้ตรงกันว่าไฟฟ้าที่เราใช้ในประเทศ 67-70% มาจากก๊าซธรรมชาติ ส่วนหนึ่งจากอ่าวไทยส่วนหนึ่งซื้อพม่าโดยใช้เต็มเพดาน ซักวันก๊าซก็ต้องหมดไป การที่เราไปพึ่งพาด้วยสัดส่วนมากเช่นนั้นย่อมเสี่ยง ประดาเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าทั่วโลกไม่นับพลังงานหมุนเวียนลม,แสงอาทิตย์ล้วนมีวันหมดทั้งสิ้น ถ่านหินก็มีวันหมดเพียงแต่ช้ากว่าเพื่อนโดยคาดว่าปริมาณสำรองมีอยู่ราว 200 ปี

ด้วยเหตุนี้ประเทศอุตสาหกรรมจึงเลือกถ่านหินผลิตไฟฟ้า สหรัฐมีสัดส่วนถึง 45% เยอรมนี 43% เกาหลีใต้ 34% ญี่ปุ่น 27% จีน 79% ประเทศใช้น้อยได้แก่ฝรั่งเศสเพราะพึ่งนิวเคลียร์ 76% แถวๆอาเซียนด้วยกันมาเลเซียใช้ถ่านหิน 40% อินโดนีเซียซึ่งมีทรัพยากรถ่านหินมากใช้ 35%

บ้านเรายังน้อยครับ เป็นถ่านหินนำเข้าราว 9% ลิกไนต์ที่แม่เมาะ,ลำปางอีก 9%

รู้แล้วเรายังใช้น้อยขณะที่ของมีอยู่เยอะซึ่งเป็นข้อดีราคาในตลาดมีเสถียรภาพไม่วูบวาบ ชั้นต่อมาก็ดูว่ามลพิษต่อชุมชนต่อสิ่งแวดล้อมของโรงไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงตัวนี้หนักหนาสาหัสปานใด?

ย้อนไปหลายสิบปีก่อนต้องยอมรับแย่มากๆ เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาสูงขึ้นและการลงทุนเพื่อลดมลพิษจากถ่านหินในทุกขั้นตอนคุ้มค่าโรงไฟฟ้าเกิดใหม่ก็กล้าใช้เงิน โรงไฟฟ้าเก่าอย่างแม่เมาะที่ใช้ลิกไนต์,ถ่านหินคุณภาพต่ำปัจจุบันได้ลงทุนแก้ไขจนสามารถโฆษณาให้แม่เมาะเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้

เอาเข้าจริงๆ ปัญหามลพิษเป็นรองปัญหาความเข้าใจ...

ผมหมายถึงความเข้าใจของพี่น้องในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง กรณีกระบี่มีเสียงจากชาวบ้านทำนองกฟผ.ไม่ให้ข้อมูลผลกระทบจากโรงไฟฟ้าครบถ้วน ไม่ชี้แจงผลกระทบจากการขนส่งถ่านหินจากทะเลมาป้อนโรงไฟฟ้า ต้องขุดลอกร่องน้ำหรือระเบิดหินโสโครกแค่ไหนอย่างไร

ผลกระทบต่อการประมงพื้นบ้าน ต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล ในส่วนของการสร้างท่าเทียบเรือ


ผมเชื่อว่ากฟผ.มีบทเรียนมามากและเชื่อเช่นกันได้พยายามให้ข้อมูลแก่ชาวบ้านแล้ว เมื่อมีเสียงสะท้อนลักษณะนี้จึงต้องทำการบ้านอีกมาก แทนการตั้งรับไล่ดับไฟที่เอ็นจีโอผู้ต่อต้านสุมไว้ก็น่าจะต้องรุกเข้าถึงพื้นที่ก่อนหน้าเอ็นจีโอหรืออย่างน้อยประกบคู่กันไป สู้กันด้วยข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้

ต้องบอกทั้งข้อดีและข้อเสียอย่างตรงไปตรงมา คนในชุมชนต้องรู้เขาได้อะไรเสียอะไร

กฟผ.ขาดผู้สันทัดในงานแบบนี้ก็จ้างมืออาชีพเข้ามารับผิดชอบ อันนี้เรื่องใหญ่ครับ ไม่สามารถทำให้พี่น้องในพื้นที่เข้าใจ, มั่นใจได้ โอกาสของโรงไฟฟ้าถ่านหินมืดมน.

แมงเม่า

ที่มา -