ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

50 ปีอาเซียนกับยุทธศาสตร์เรือและราง (2) ความหวังคอคอดกระในยุทธศาสตร์เรือและราง

เริ่มโดย mrtnews, ส.ค 09, 17, 06:25:07 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ยุทธศาสตร์เรือและรางของจีน สร้างท่าเรือออกทะเลให้กับจีน หวังใช้คอคอดกระ เป็นหนึ่งทางเลือกออกทะเล แต่เมื่อประเทศไทยไม่เอาด้วยกับโครงการนี้ จีนจึงเลือกมะละกา


จีนมีเงินในธนาคารเพื่อการพัฒนาดครงสร้างพื้นฐานอาเซียน 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.4 ล้านล้านบาทไทย ประกาสพร้อมให้กู้สำหรับยุทธศาสตร์เรือและรางของท่านประธานาธิบดีสีจิ้นผิง และกลุ่มประเทศในอาเซียน กำลังกระโดดเข้าร่วม อภิมหาโครงการนี้ เพราะหวังว่า เศรษฐกิจของชาติจะมีอนาคตแน่นอน

ผศ ดร ปิติ แสงสิงนาม แห่งคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวิเคราะห์ว่า ยุทธศาสตร์เรือและรางของจีน มีขนาดใหญ่ กินพื้นที่ เกือบทั้งเอเชีย และคาบเกี่ยวระเบียงเศรษฐกิจ หรือเรียกให้เข้าใจง่ายก็คือ พื้นที่ ที่โอกาสและความเจริญจะเข้าไปถึงทันที่ที่การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเสร็จสมบูรณ์ ได้แก่

1.Eurasia landbrigde
เส้นทางจากมณฑล Jiangsu ออกเอเชียกลาง ถึงเมือง Rotterdam ระยะทาง 10,900 กิโลเมตร

2.China - Mongolia- Russia Corridor
เป็นเส้นทางดั้งเดิม วกขึ้นบนเข้ามองโกเลีย ผ่านรัสเซีย วกกลับเข้ายุโรป ระยะทาง 13,000 กิโลเมตร

3.China-Central Asia-Turkey
ออกจากเซิ่นเจิ้น เข้าสู่กลุ่มประเทศเอเชียกลางและออกไปยังตุรกี และเชื่อมไปยัง Rotterdam ได้ ระยะทาง 15,000 กิโลเมตร

4. China-Bangladesh-Myanmar
เส้นทางรถไฟจากเมืองคุณหมิงลงมาที่เมียนมา และสิ้นสุดที่ท่าเรือจ้อกผิ่ว ในรัฐยะไข่ เมียนมาร์

5. China-Pakistan Economic Corridor
วิ่งจากตะวันตกของจีน ที่เมืองKashi กาชื่อ ผ่านปากีสถาน และจบที่ท่าเรือ Gwadar Port

6 China-Indochina
จากคุณหมิงของจีน ผ่านลาว ตัดเข้าไทย เชื่อมลงใต้เข้ามาเลเซีย สิงคโปร์ ออกท่าเรือที่ มาเลเซีย ในมะละกา

และในระเบียงเส้นทางสุดท้ายนี่เอง ที่มีหลายฝ่ายตั้งคำถามว่า จีนอยากจะสร้างท่าเรือที่คอคอดกระประเทศไทย เพื่อทะลุออกทะเลทางด้านตะวันตก เพราะเมื่อต้นปี 2559 มีรายงานจากจีนอย่างไม่เป็นทางการ ขอร้องให้ไทยพิจารณาโครงการนี้ใหม่ แม้ว่ารัฐบาลไทย จะยุติการพิจารณาไปแล้วก็ตาม โดยนักวิชาการและนักธุรกิจฝ่ายไทย ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับโครงการคอคอดกระ


และเมื่อ จีนไม่ได้รับการยืนยันจากไทย เรื่องคอคอดกระ จีนเลยหันหน้ามุ่งลงใต้ ไปที่เมืองมะละกาของมาเลเซีย ทุ่มเงินมหาศาล สร้าง Melaka Gateway ท่าเรือสุดไฮเทค ด้วยงบลงทุนมหาศาล 7,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 250,000 ล้านบาท ด้มีการสร้างเกาะอุตสาหกรรมขึ้นมา 4 เกาะ เพื่อทำ ท่าเรือน้ำลึก โกดังสินค้าและตู้สินค้า โรงเก็บน้ำมัน เพื่อพัฒนาตลาดค้าน้ำมันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขตอุตสาหกรรม และอสังหาริมทรัมพ์ โครงการนี้เริ่มต้นไปแล้วเมื่อปี 2559 โดยมีการสร้างทางรถไฟเป็นแลนด์บริดจ์ ขยายไปฝั่งตะวันออก

เป้าหมายทั้งหมด ที่จีนเอาจังกับ กันทางยุทธทางรถไฟ และเรือสินค้านี้ คือการระเบิดออกจากข้างในสู่โลกภายนอก เปิดทางให้จีน ออกทะเลได้มากขึ้น อย่างที่สุด เวลานี้มีเพิ่มขึ้น 3 ทาง คือ

ท่าเรือ Gwadar ในปากีสถาน
ท่าเรือ จ็อกผิ่ว ในเมียนมาร์
ท่าเรือมะละกา ในมาเลเซีย

การระเบิดนี้ จะนำพา เงินทุน สินค้าทั้งดีและไม่ดี บริการต่างๆ ความรู้และวิทยาการ วัฒนธรรมใหม่ของจีน และนักท่องเที่ยว ออกสู่อาเซียน เอเชียกลาง และยุโรป ได้อย่างง่ายได้ขึ้น จีนประกาศว่าแต่ละโครงการจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ไม่เกินภายใน 5 ปีนี้ ถ้าเงินพร้อม ชาวอาเซียนพร้อมหรือยัง กับการบุกใหญ่ทางเศรษฐกิจของจีนในครั้งนี้

ทีมข่าวอาเซียน TNN ช่อง16 รายงาน

50 ปีอาเซียนกับยุทธศาสตร์เรือและราง (1)

50 ปีอาเซียนกับยุทธศาสตร์เรือและราง (2) ความหวังคอคอดกระในยุทธศาสตร์เรือและราง

50 ปีอาเซียนกับยุทธศาสตร์เรือและราง (3) ย้อนอดีตบ้านแหลมแท่น จุดกำเนิดอาเซียน

50ปีอาเซียน กับยุทธศาสตร์เรือและราง 4 ''กฏบัตรอาเซียน''



ที่มา Data & Images -






..