ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา หาเงินทางเน็ต งาน Part-time MLM ทุกรูปแบบ ธุรกิจที่มี downline ปั่นลิก์ SEOเด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

กองทัพเรือไทยใกล้ถึงฝัน จ่อได้ ‘เรือดำน้ำจีน’ 3 ลำ

เริ่มโดย mrtnews, ก.ค 02, 15, 21:29:03 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

โครงการจัดซื้อจัดหา "เรือดำน้ำ" ของกองทัพเรือ เริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น หลังจาก พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เสนอโครงการไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) พร้อมอธิบายถึงความจำเป็นต่อภัยคุกคามทางทะเลในรูปแบบใหม่ตามความผันผวนของสถานการณ์โลก
กองทัพเรือจึงเล็งเห็นว่า หากมีเรือดำน้ำอาจจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเพื่อใช้ในการต่อรองกับนานาชาติ หรือเพื่อให้ประเทศไทยมีเสียงที่ดังพอกับประเทศเพื่อนบ้าน เพราะขณะนี้ประเทศเพื่อนบ้านต่างจัดซื้อเรือดำน้ำมาเสริมเขี้ยวเล็บกองทัพเรือมากขึ้น ทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ หรือแม้แต่เวียดนามก็มีแล้วเช่นกัน



ล่าสุดคณะกรรมการคัดเลือกแบบที่มี พล.ร.อ.ณรงค์พล ณ บางช้าง ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานคณะกรรมการ ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ในการจัดซื้อเรือดำน้ำจากสาธารณรัฐประชาชนจีน หลังจากได้ศึกษารายละเอียดข้อดี-ข้อเสียของเรือดำน้ำ 5 ประเทศ คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีใต้ รัสเซีย เยอรมนี และสวีเดน

เบื้องต้นกองทัพเรือตั้งเป้าจัดซื้อเรือดำน้ำจากสาธารณรัฐประชาชนจีนจำนวน 3 ลำ ลำละ 1.2 หมื่นล้านบาท หรือตามงบประมาณ 3.6 หมื่นล้านบาท เป็นรุ่น Yuan Class S26T ที่มีขนาดระวางขับน้ำ 2,600 ตัน ที่ถือว่าเป็นรุ่นใหญ่กว่าปกติ ซึ่งเดิมทีกองทัพเรือได้ตั้งเป้าขนาดระวางขับน้ำอยู่ที่ 1,600 ตันเท่านั้น

แต่เมื่อทางจีนเดินทางมาเยือนพร้อมข้อเสนอแพ็กเกจ ทำให้กองทัพเรือตัดสินใจที่จะเลือกเรือดำน้ำจากจีน แม้ในใจลึกๆ แล้ว อยากจะเลือกค่ายยุโรปมากกว่าก็ตาม

โดยข้อเด่นประการสำคัญของเรือดำน้ำจากยุโรป คือ ระบบ Air-Independent Propulsion system (AIP) หรือระบบเครื่องยนต์ที่ไม่ต้องพึ่งอากาศจากผิวน้ำเพื่อยืดเวลาการอยู่ใต้น้ำ และเป็นอิสระต่อการเข้าฝั่งมากขึ้นกว่าเดิม รวมถึงระบบติดจรวดเรือผิวน้ำที่มีความทันสมัยที่สุดในเวลานี้

ความเป็นมาของโครงการจัดหาเรือดำน้ำครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ ครม.อนุมัติงบประมาณ 200 ล้านบาท ให้กองทัพเรือนำไปศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ และงบประมาณดังกล่าวกองทัพเรือก็ได้นำไปสร้าง "แบบจำลองเรือดำน้ำ" ขึ้นที่กองเรือยุทธการ จ.ชลบุรี เพื่อศึกษาข้อดี-ข้อเสีย

โดยระหว่างนั้น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้นำคณะ ผบ.เหล่าทัพ เดินทางเยือนจีน และได้ไปดูเรือดำน้ำ Yuan Class S26T ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการต่อเรือที่มาจากเรือดำน้ำชั้นกิโลของ "รัสเซีย"

ข้อดีของเรือดำน้ำรุ่นนี้ เมื่อเทียบกับเรือดำน้ำมือสองของเยอรมนี รุ่น U-206 คือ Yuan Class S26T มีการติดตั้งระบบ AIP ซึ่งเป็นระบบที่ทันสมัยล่าสุด ขณะที่ U-206 เป็นเรือดำน้ำรุ่นเก่า และไม่มีระบบที่ว่านี้

สำหรับเรือดำน้ำจากจีนในรุ่นที่ไทยจะจัดหานั้น ได้บรรจุประจำการอยู่ใน "กองทัพเรือปากีสถาน" เป็นที่แรก และในอนาคต "กองทัพเรือพม่า" ก็เตรียมจะจัดซื้อเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า กองทัพเรือมีความต้องการจัดซื้อ รุ่น Yuan Class S20 ที่มีระวางขับน้ำเพียง 1,600 ตัน เท่านั้น แต่ภายหลังกองทัพเรือได้กำหนดคุณลักษณะเพิ่มเติม คือ ต้องการเครื่องยนต์ที่มีระบบชาร์จแบตเตอรี่ไว้สำรองพลังงานด้วย ทางจีนจึงเสนอเรือดำน้ำ รุ่น Yuan Class S26T ให้แทน


โดยทางจีนบรรยายคุณลักษณะของ Yuan Class S26T ว่า เป็นเรือดำน้ำดีเซล และมีระบบ AIP ที่ไม่ต้องขึ้นมาผิวน้ำเพื่อชาร์จไฟฟ้า ขณะที่เครื่องยนต์สเตอร์ลิงก็เงียบสนิท ทำให้ "ตรวจจับได้ยาก" โดยมีการซื้อต้นแบบมาจากสวีเดนแล้วนำมาพัฒนาต่อจนมีประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ และความเงียบในระดับที่น่าพึงพอใจ

อย่างไรก็ตาม ในมุมของผู้เชี่ยวชาญฝ่ายที่คัดค้านเรือดำน้ำจีนก็ชี้ว่า การจัดซื้อยุทโธปกรณ์จากจีนก่อนหน้านี้เคยมีปัญหาเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการต่อเรือ ชุด ร.ล.เจ้าพระยา ชุด ร.ล.กระบุรี่ ชุด ร.ล.นเรศวร มาจนถึงชุด ร.ล.ปัตตานี ก็พบปัญหาเกี่ยวกับ "ท่อไอเสีย"

ฉะนั้น แม้ว่าทางจีนจะมีการยื่นข้อเสนอที่ดีที่สุด และเลือกสเปกที่ดีที่สุดก็ตาม แต่กองทัพเรือก็จะต้องมีการตรวจสอบ "จุดอ่อน" อย่างถี่ถ้วนอีกครั้งก่อนที่จะจัดซื้อเข้ามาประจำการ

ที่มา -




ทร.เลือกเรือดำน้ำจีน 3 ลำ ใช้งบ 3.6 หมื่่นล้าน

ผบ.ทร.เลือกเรือดำน้ำจีน3ลำ งบประมาณ 3.6 หมื่่นล้านบาท ชี้จัดซื้อแบบจีทูจี ยันคุ้มค่า ด้าน"ประวิตร"ปัดตอบทหารเรือ เลือกเรือดำน้ำจีน

สโมสรทหารบก - พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ ว่า กองทัพเรือมีมติเป็นเอกฉันท์ในการจัดซื้อเรือดำน้ำจากประเทศจีน จำนวน 3 ลำ โดยใช้งบประมาณ 3.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งการจัดซื้อในครั้งนี้เป็นแบบแพ็คเก็ต ถ้าหากว่าศักยภาพลำต่อลำจะตอบโจทย์อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งบางครั้งได้มาลำเดียวแต่เรือไม่มีอะไรเลย ขณะที่งบประมาณของกองทัพเรือก็หมดแล้ว มีแต่เรืออย่างเดียวทำอะไรไม่ได้ ซึ่งการจัดซื้อเรือดำนำของประเทศจีนเพราะมีคณะกรรมการของกองทัพเรือพิจารณา 17 คน ซึ่งเป็นคนที่อยู่บนเรือ เอาทหารเรือที่อยู่ในกองเรือดำน้ำ ที่จะต้องเป็นผู้ไปอยู่บนเรือดำน้ำ เป็นผู้ให้คะแนนเองทั้งหมด ซึ่งการจัดซื้อเรือของประเทศจีนเพราะมีอาวุธครบ โดยงบประมาณที่จะใช้ 7 ปี หรือ 10 ปี ขึ้นอยู่กับรัฐบาล จะซื้อในลักษณะจีทูจี

พล.ร.อ.ไกรสร กล่าวอีกว่า เรามีคณะกรรมการเดินทางไปดูเรือดำน้ำ 6 ประเทศที่เราสนใจ โดยจัดคณะกรรมการที่เป็นคนรุ่นใหม่ จำนวน 17 คน จากกองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ และให้คะแนน 14 คนเลือกเรือดำน้ำของประเทศจีน ประเทศเยอรมัน 2 คน และประเทศสวีเดน 1 คน ยืนยันไม่มีใครไปชักนำเรื่องการลงคะแนน เลือกด้วยตัวเอง เพราะเป็นเรือในอนาคต การคัดเลือกจึงต้องให้เด็กรุ่นใหม่เลือก นอกจากนี้ประเทศจีนให้การดูแลเป็นอย่างดี ทั้งการฝึกอบรม อะไหล่เรือดำน้ำจำนวน 8 ปี อย่างไรก็ตามที่ผ่านมากองทัพเรือมีประสบการณ์เรื่องการซื้ออาวุธ เมื่อไม่มีเงินเราก็ไม่สามารถจัดซื้อได้ ดังนั้นการจัดซื้อเรือดำน้ำของประเทศจีนครั้งนี้ถือเป็นความฉลาดและคุ้มค่ามากที่สุด 

"การซื้อเรือดำน้ำของประเทศจีน 3 ลำเป็นเรือใหม่ทั้งหมด ใช้เวลาต่อเรือ 5-6 ปี กว่าที่จะส่งมาให้ และในระหว่างการต่อเรือเราจะส่งเจ้าหน้าที่ไปดูในรายละเอียด 2 ปี ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเป็นเทคโนโลยีใหม่ กำลังพลจึงต้องไปศึกษาพอสมควร การคัดเลือกเรือของประเทศจีนเป็นการตอบโจทย์ เพราะสามารถซื้อได้ถึง 3 ลำ แต่ถ้าเป็นของประเทศอื่นจะได้เพียง 2 ลำ ทั้งนี้จะต้องมีการบริหารงบประมาณที่มีจำกัด และที่สำคัญประเทศจีนเป็นเพียงชาติเดียวที่ให้ ระบบ Air-Independent Propulsion system (AIP) หรือระบบเครื่องยนต์ที่ไม่ต้องพึ่งอากาศจากผิวน้ำ หรือ เป็นระบบที่ทำให้เรืออยู่ใต้น้ำนานถึง 21 วัน โดยไม่ต้องโผล่ ขณะที่เรือของประเทศเกาหลีใต้และเยอรมัน ไม่มีระบบเอไอพี อยู่ใต้น้ำได้ 5-6 วันก็ต้องโผล่ขึ้นมา ต่างกันเยอะ ซึ่งเรือดำน้ำต้องเงียบ พรางตัวอย่างเดียว ถ้า 4-5 วันแล้วต้องโผล่ขึ้นผิวน้ำ ดาวเทียมสามารถจับได้หมด ต้องเข้าใจ บางคนบอกว่าซื้อของประเทศจีนแล้ว ส่ายหัว ความจริงแล้วไม่ใช่ ผมยังไม่อยากอธิบาย เพราะรัฐบาลยังไม่ได้อนุมัติ รอให้อนุมัติก่อนจึงสามารถพูดคุยได้ ใครถามก็ตอบได้ เพราะผมเดินทางไปดูด้วยตัวเอง แต่ตอนนี้พูดไม่ได้ เพราะสื่อก็โจมตี ไม่มีประโยชน์ที่มานั่งทะเลาะกัน" ผู้บัญชาทหารเรือ กล่าว 


พล.ร.อ.ไกรสรณ์ กล่าวอีกว่า ยังไม่ทราบว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะนำเรื่องนี้เข้า ครม.เมื่อไหร่ แต่ยืนยันว่า กองทัพเรือจะทำให้ดีที่สุด โดยเฉพาะเรื่องการศึกษา ทั้งนี้ ครม.จะอนุมัติให้ก็ได้ ไม่อนุมัติให้ก็ไม่เป็นไร เราไม่มีอะไรซุกอยู่ใต้พรม ทุกอย่างเปิดเผย ยืนยันว่าการจัดซื้อเรือดำน้ำของประเทศจีนไม่มีการล็อบบี้จากฝ่ายการเมือง และการจัดซื้อเป็นระบบจีทูจี จ่ายเงินโดยภาครัฐ กองทัพเรือไม่เกี่ยว เพราะกองทัพเรือพิจารณาตาม ครม. ได้สั่งการ 

พล.ร.อ.ไกรสรณ์ กล่าวว่า ส่วนความจำเป็นในการซื้อเรือดำน้ำยามที่ไม่มีสงคราม เรื่องนี้ตอบยาก เพราะเวลาจะใช้ มันไม่มีจะใช้ เราไม่มีเรือดำน้ำมา 50 ปีแล้ว ตั้งแต่สมัยสงครามโลก แต่เมื่อซื้อก็เหมือนคนเริ่มขับเรือใหม่ แต่การขับเรือกับกับรถต่างกัน เพราะเรือดำน้ำต้องใช้คน 50คน การทำงานต้องเป็นทีม และเทคโนโลยีเมื่อเราซื้อมาแล้วก็สามารถเดินเรือได้ แต่ด้านเทคนิคการใช้อาวุธต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง ต้องใช้เวลา ซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้ได้เลย ต้องใช้เวลาเรียนรู้อย่างน้อย 3 ปี ที่สำคัญเป็นอาวุธทางยุทธศาสตร์ในการป้องปราม บางประเทศเล็กๆมีเรือดำน้ำ 5 ลำ ยังไปต่อเพิ่มอีก 3ลำ และพื้นที่ก็ไม่มี ซึ่งการซื้อมาเป็นอำนาจต่อรองกับประเทศเพื่อนบ้าน

ที่สโมสรทหารบก ถ.วิภาวดีรังสิต พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและรมว.กลาโหม กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดหาเรือดำน้ำว่า ขณะนี้กองทัพเรือโดยคณะกรรมการคัดเลือกเรือดำน้ำ จำนวน 17 คน ได้พิจารณาแล้วว่าจะเลือกเรือดำน้ำของประเทศใด

หลังจากที่เดินทางไปดูเรือดำน้ำของประเทศต่างๆ โดยจะต้องดูเรื่องประสิทธิภาพ ราคา และการใช้งาน ถ้าได้เฉพาะเรือดำน้ำ ไม่มีอาวุธตนถามว่าจะเอามาทำไม ทั้งนี้ต้องส่งเรื่องดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตัดสินใจอีกครั้ง

เมื่อถามว่าถ้าเป็นเรือดำน้ำของประเทศจีน เราจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ตนไม่ตอบ ขอให้ถามพล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ที่ศึกษารายละเอียดของเรือดำน้ำในแต่ละประเทศ ตนเพียงแต่บอกว่าควรจะมีเรือดำน้ำ

ที่มา -