ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา สินค้าที่ดูแล้วขัดต่อ ศีลธรรม ประเพณี หรือกฏหมายของไทย เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ผู้ประกอบการเรือเอกชนขอกรมเจ้าท่าเปิดทางต่างชาติทำงานบนเรือไทย

เริ่มโดย mrtnews, มิ.ย 17, 17, 13:01:11 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

นายภูมินทร์ หะรินสุต ประธานสมาคมเจ้าของเรือไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการเรือขนส่งสินค้าทางทะเลและเรือขนส่งน้ำมันดิบขนาดใหญ่ (Very Large Crude Carrier หรือ VLCC) ที่ชักธงไทย กำลังประสบปัญหา เนื่องจากกรมเจ้าท่า(จท.) ยังไม่ได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยการรับรองประกาศนียบัตรคนประจำเรือต่างชาติ (Certificate of Recognition หรือ CoR ) โดยเฉพาะกรมเจ้าท่าของ 6 ประเทศที่มีคนต่างชาติประจำอยู่บนเรือไทย ส่งผลให้หลังวันที่ 30 มิ.ย.นี้ เรือที่ถือธงไทยไม่น้อยกว่า 25 ลำอาจต้องหยุดดำเนินการ คิดเป็นความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 17 ล้านบาทต่อวัน หรือ 510 ล้านบาทต่อเดือน ยังไม่รวมความเสียหายที่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการอีก


สมาคมเรือไทยเร่งเจ้าท่าถก 5 ประเทศเปิดให้ต่างชาติทำงานบนเรือไทยหวั่นพ้น มิ.ย. 2560 เรือ 25 ลำต้องหยุดดำเนินการด้านพิชิต-ศรศักดิ์ รับเร่งเจรจาขอผ่อนผัน

นายภูมินทร์ กล่าวว่า เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 24 ม.ค.2560 ได้เห็นชอบให้จัดทำความตกลงว่าด้วยการรับรองประกาศนียบัตรคนประจำเรือต่างชาติระหว่างประเทศกับประเทศต่างๆ รวม 20 ประเทศ แต่ที่เร่งด่วนมี 6 ประเทศ ที่มีคนประจำเรือต่างชาติหมุนเวียนทำงานบนเรือที่ชักธงไทย รวม 240 คน ประกอบด้วย สัญชาติจีน 100 คน อินเดียว 22 คน ฟิลิปินส์ 26 คน บังคลาเทศ 52 คน เมียนมาร์ 35 คน และฮอนดูรัส 5 คน จึง จท.จะต้องลงนามในความตกลง 2 ฝ่ายกับแต่ละประเทศเหล่านี้ให้แล้วเสร็จก่อน วันที่ 30 มิ.ย.นี้ ซึ่งเป็นช่วงผ่อนผัน หลังจากนั้นเรือที่ชักธงไทยหากมีมีคนประจำเรือต่างชาติกับประเทศที่ยังไม่มีการลงนามในความตกลงจะถือว่ามีความผิดหากถูกตรวจพบ

อย่างไรก็ตามกรมเจ้าท่าเตรียมลงนามในความตกลงดังกล่าวกับ 20 ประเทศ ประกอบด้วยประเทศวินเซนต์และเกรานส์ หมู่เกาะเคย์แมน ยิบรอลตาร์ บังคลาเทศ เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม บรูไนดารุสซาราม กัมพูชา โดมินิกา จีน อินเดีย เหมู่เกาะมาร์แชล มอลตา แอนติกา และบาร์บูดา อิตาลี ลักเซมเบิร์ก อัชไมต์จอร์แดน ฮอนดูรัส และนอร์เวย์ โดยมีการลงนามในความตกลงไปแล้ว 5 - 6 ประเทศ ส่วนอีก 6 ประเทศข้างต้นมีความจำเป็นเร่งด่วนเพราะจะส่งผลกระทบโดยตรง และที่เหลือก็เป็นผลกระทบส่วนน้อยหรือไม่มีชาติเหล่านั้นบนเรือชักธงไทยทั้งนี้เรือขนส่งทางทะเล มีภาระค่าใช้จ่ายสูง เช่น เรือบรรทุกสินค้าค่าเช่าแตกต่างกันตามขนาดเรือ เรือ ตั้งแต่วันละ 5,000 บาท 8,000 บาท และ 10,000 บาท ส่วนเรือขนส่งน้ำมันค่าเช่าวันละ  40,000 เหรียญ 1.32 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยนที่ 33 บาทต่อเหรียณสหรัฐ) ดังนั้นหากเรือเหล่านี้ไม่ได้ประกบการจะเกิดความเสียหายอย่างหนัก

"สาเหตุที่เรือสัญชาติไทยต้องใช้ลูกเรือต่างชาติ เนื่องจากมีเรือบางประเภทที่มีขนาดใหญ่จะต้องใช้ความสามารถของลูกเรือเป็นพิเศษ จึงต้องอาศัยลูกเรือต่างชาติอยู่ จากปัญหาดังกล่าว ทำให้เรือไทยบางรายอาจทบทวนหันไปชักธงเรือประเทศอื่นแทน" นายภูมิทร์กล่าว

ด้าน นายพิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทวงคมนาคม กล่าวว่า ได้รับทราบปัญหาเรื่องนี้และได้รายงานจาก จท. ว่า เรือสัญชาติไทยที่มีคนประจำเรือต่างชาติที่จะได้รับผลกระทบมีเพียง 147 คน ประกอบด้วย คนประจำเรือสัญชาติจีน 58 คน อินเดีย 16 คน เมียนมาร์ 22 คน บังคลาเทศ 35 คน และฟิลิปินส์ 16 คนเท่านั้น ล่าสุดได้มีการเจรจาบรรลุข้อตกลงกับกรมเจ้าท่าของฟิลิปินส์แล้ว ส่วนที่เหลือยังอยู่ในขั้นตอนการประบวนการเจรจาระหว่างกัน ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าอาจมีการผ่อนผันให้เป็นการชั่วคราวได้อีก


"กรมเจ้าท่าของแต่ละประเทศอยู่ในขั้นตอนที่จะเร่งให้มีการลงนามในความตกลง 2 ฝ่ายหรือทวิภาคี เพื่อให้รับรองคนประจำเรือต่างชาติในแต่ละประเทศที่มีข้อตกลงสามารถปฏิบัติหน้าที่บนเรือที่ถือสัญชาติไทยได้ ซึ่งตอนนี้อยู่ในช่วงของการผ่อนผัน 6 เดือน จะสิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย.นี้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าอาจมีการขอผ่อนผันเพราะอยู่ในช่วงการเจรจาเพื่อลงตามในความตกลงดังกล่าว" นายพิชิตกล่าว

ขณะที่ นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ อธิบดีกรมเจ้าท่า ยืนยันว่ากรมเจ้าท่าได้มีการประสานไปยังกรมเจ้าท่าของประเทศต่างๆแล้วโดยเฉพาะใน 6 ประเทศเร่งด่วนยกเว้นฟิลิปินส์นั้นบรรลุในข้อตกลง ส่วนอีก 5 ประเทศอยู่ในขั้นตอนการเจาจา คาดว่าจะยังไม่ได้ข้อยุติทันวันที่ 30 มิ.ย.นี้ แต่มีเหตุผลและมีแนวโน้มที่จะเจรจาขอผ่อนผันได้ เนื่องจากเป็นเรื่องของผลประโยชน์ร่วมกันทั้ง 2 ประเทศ เพราะมีทั้งคนไทยไปทำงานอยู่บนเรือของประเทศเหล่านั้น และคนต่างชาติของประเทศเหล่านั้นที่ทำงานบนเรือชักธงไทย



ที่มา Data & Images -





..