ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา หาเงินทางเน็ต งาน Part-time MLM ทุกรูปแบบ ธุรกิจที่มี downline ปั่นลิก์ SEOเด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

เอกชนชี้ แม้อียูปลดใบเหลือง ยังต้องลุย6ด้านสร้างประมงยั่งยืน

เริ่มโดย mrtnews, ม.ค 10, 19, 16:01:40 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและประธานคณะกรรมการสายงานธุรกิจสินค้าเกษตรและอาหาร แถลงข่าวร่วมกับสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย และสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ภายหลังสหภาพยุโรป(EU) ออกประกาศให้ประเทศไทยได้ใบเหลืองในการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม(IUU Fishing) เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2558 ทำให้หลังจากนั้นภาครัฐได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังมาโดยตลอด ส่งผลให้อียูได้ทำการปลดล็อกใบเหลืองฯให้กับประเทศไทยฯเมื่อวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งการปลดล็อกใบเหลืองจะส่งผลดีต่อภาคธุรกิจเกษตรและอาหารของไทย ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีการจ้างงานสูงกว่า 11.78 ล้านคน คิดเป็น 31.5% ของแรงงานทั้งหมดและมีสัดส่วนต่อจีดีพีของประเทศไทยอยู่ที่ 8.2%


นายพจน์ กล่าวว่า จากความสำคัญของภาคธุรกิจเกษตรและอาหาร ทำให้นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย วางแผนขับเคลื่อนธุรกิจเกษตรและอาหารเพื่อแก้ไขปัญหา พัฒนาส่งเสริมและยกระดับสินค้าเกษตรและอาหารไทย โดยปี2562 หอการค้าไทยและสภาหอการค้าฯจะดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำ ในการร่วมมือกับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ สภาเกษตรกรแห่งชาติในมิติต่างๆกลางน้ำ ในการบูรณาการ ถ่ายทอดความรู้วิชาการ การพัฒนาตั้งแต่กระบวนการผลิต รูปแบบผลิตภัณฑ์ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ และการจัดการคุณภาพสินค้า เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนเกษตรกรไทย และปลายน้ำ คือ การส่งเสริมมาตรฐานสินค้าเกษตรและหาช่องทางการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

ภาคเอกชนจะร่วมมือและสนับสนุนรัฐบาลให้สอดคล้องกับข้อกำหนด กฎหมาย ท้ังของไทยและมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ประเทศไทยกลับมาได้ใบเหลืองอีก โดยจะเดินหน้าสร้างความยั่งยืนให้กับประมงไทยตามนโยบายรัฐบาล 6 ด้าน คือ ด้านกฎหมาย ด้านการบริหารจัดการประมง ด้านการบริหารจัดการกองเรือ ด้านการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (MCS) ด้านการตรวจสอบย้อนกลับ และด้านการบังคับใช้กฎหมาย “นายพจน์ กล่าวและว่าภาคเอกชนขอขอบคุณและชื่นชมรัฐบาลในการดำเนินการแก้ไขปัญหา IUU Fishing มาตลอด4ปี รวมถึงแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวแรงงานเด็ก และการค้ามนุษย์ด้านแรงงานจนปี 2561 รายงานการค้ามนุษย์ของสหรัฐฯ TIPs Report ประเทศไทยอยู่ที่ระดับ Tier 2 ซึ่งจะเป็นจุดเปลี่ยนแปลงไทยในการการพัฒนาธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมประมงของไทยในอนาคต ตลอดจนส่งเสริมการลงทุนและเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่สินค้าประมงที่ส่งออกตลาดโลก



ที่มา Data & Images -




ปลดล็อคประมงไทยไม่ช่วยแก้ปัญหาชี้ กม. 400 ฉบับคือตัวอุปสรรค

นายกสมาคมประมงอวนล้อมแห่งประเทศไทยขอรัฐบาลเปิดโอกาศชาวประมงมีส่วนร่วมแก้กฏหมาย ชี้ไอยูยูเข้ามาปรับปรุงแก้ไข 4 ปียาวนานที่สุดในโลกกิจการประมงเสียหลายแสนล้านหากินยากทำเศรษฐกิจทรุด


เมื่อวันที่ 9 มค. 62 นายภูเบศ จันทนิมิ นายกสมาคมประมงจังหวัดปัตตานี  ในฐานะนายกสมาคมประมงอวนล้อมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า  การปลดล็อคของไอยูยูยังไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี สำหรับผู้ประกอบการประมงไทยซึ่งได้ประสบมาร่วม 4 ปี เพราะยังมีกฎหมาย และประกาศต่างๆ รวมแล้ว400 ฉบับที่เป็นอุปสรรคไม่สามารถประกอบอาชีพได้ และเป็นความเสียหายไปแล้วหลายแสนล้านบาท มีทั้งทรัพย์สินเรือ ปริมาณสัตว์น้ำที่ไม่ได้จับสูญหายไป ฯลฯ  ส่งผลต่อการค้าขายส่งผลต่อเศรษฐกิจภาพรวม ทางออกของชาวประมงที่ดีขึ้นคือกฎหมายทั้งหมดต้องเปิดโอกาสให้ชาวประมงเข้าไปมีส่วนร่วมในการนำเสนอและแก้ไขร่วมกัน ไม่ใช่การกระทำอยู่ข้างเดียว โดยเฉพาะพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และ พระราชกำหนด การประมง (ฉบับบที่ 2) พ.ศ.2560

ทุกฝ่ายต้องมานั่งดูหารือทบทวนกันใหม่ อันไหน มีปัญหา อุปสรรคมาต่อการประกอบอาชีพ และอยู่ไม่ได้ จะต้องแก้ออก เรียงลำดับกฎหมายใหม่ทั้งหมด ซึ่งจะต้องทำร่วมกัน โดยชาวประมงจะต้องมีส่วนร่วม หากไม่ดำเนินการ พรก. กฎหมาย และประกาศต่าง ๆ รวม 400 ฉบับ ก็ยังคงประสบปัญหาเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่ในส่วนอุตสาหกรรมการประมง ก็จะดีขึ้น นายภูเบศ กล่าว

ทั้งนี้ กฎหมายบางตัวแก้ไขโดยไอยูยู โดยไม่ได้บังคับไทย เพราะการทำกฎหมายขาดการมีส่วนร่วมของชาวประมงเป็นการกระทำกฎหมายอยู่ข้างเดียว ไอยูยูเข้ามาแก้ไขปรับปรุง ถือว่ายาวนานที่สุดในโลกเกือบ 4 ปี ชาวประมงร้องขอมาตลอดว่า ควรทบทวนว่าสิ่งใดที่เกินไป ส่วนไอยูยูก็ไม่ได้ร้องต้องกลับมาคืนความเป็นธรรมให้กับชาวประมง เรือประมง ที่ไม่ถูกต้องทางรัฐบาลก็เอาออกไปแล้วเป็นเรือขาว แดง ประมาณกว่า 10,000 ลำ มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ จากเรือประมงประมาณ กว่า 20,000 ลำ และที่ถูกต้องมีประมาณ 10,000 ลำต้น และที่ออกประกอบการได้ประมาณ7,000 ลำ จะต้องดูแล อย่าให้เกิดความเสียหายไปมากกว่านี้



ที่มา Data & Images -






..