ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา สินค้าที่ดูแล้วขัดต่อ ศีลธรรม ประเพณี หรือกฏหมายของไทย เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

3 บิ๊ก ชิงท่าเรือ LNG! กนอ. ออกทีโออาร์ "มาบตาพุด เฟส 3" ต้น พ.ย. นี้

เริ่มโดย mrtnews, พ.ย 01, 18, 16:12:55 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ประมูลท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 มูลค่า 4.79 หมื่นล้าน จ่อคลอดทีโออาร์ต้น พ.ย. นี้ จับตาเอกชน 3 ราย ทั้งกลุ่ม ปตท. , กัลฟ์ และ Tokyo Gas จากญี่ปุ่น ชิงประมูลท่าเรือนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจี หลังรัฐบาลไฟเขียวให้สิทธิจัดหาและนำเข้า หรือ กำหนดโควตาให้กับผู้ชนะประมูล


นางสาวกฤตยาพร ทัพภะทัต รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า หลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็นของนักลงทุน หรือ มาร์เก็ตซาวดิ้ง ครั้งที่ 3 โครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 ไปเมื่อวันที่ 5 ต.ค. ที่ผ่านมา นำมาประกอบการจัดทำร่างเอกสารการคัดเลือกเอกชนและร่างสัญญาร่วมลงทุนที่มีมาตรฐานสากล เพื่อจัดทำเอกสารเชิญชวนนักลงทุน หรือ ทีโออาร์ ซึ่งขณะนี้ได้ส่งเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) แล้ว คาดว่าจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเห็นชอบได้ในช่วงเดือน ต.ค. นี้ เพื่อนำไปสู่การประกาศทีโออาร์ประมาณต้นเดือน พ.ย. นี้ และคัดเลือกเอกชนได้ในช่วงต้นปี 2562

โดยรูปแบบการลงทุนจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งส่วนแรกจะเป็นงานโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ได้แก่ การขุดลอกและถมทะเล พื้นที่ 1,000 ไร่ แบ่งเป็น พื้นที่ใช้ประโยชน์ 550 ไร่ และพื้นที่เก็บกักตะกอน 450 ไร่ การขุดลอกร่องน้ำและแอ่งกลับเรือ การก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น การก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน การติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมการเดินเรือ และท่าเทียบเรือบริการ ซึ่ง กนอ. จะเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและหาเอกชนมาลงทุนท่าเทียบเรือจำแนกตามพื้นที่ ใช้เงินลงทุนในโครงการราว 12,900 ล้านบาท กนอ. และเอกชนจะลงทุนในสัดส่วนที่เท่ากัน

ส่วนที่ 2 จะเป็นการลงทุนก่อสร้างท่าเทียบเรือ (Superstructure) จะให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน (PPP) ในลักษณะ Build-Transfer-Operate (BTO) ระยะเวลาของสัญญาประมาณ 30 ปี แบ่งตามพื้นที่สัมปทาน ได้แก่ ท่าเทียบเรือก๊าซ รองรับปริมาณการขนถ่ายก๊าซได้ 10 ล้านตันต่อปี คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2565 และเปิดให้บริการได้ภายในปี 2568 ใช้เงินลงทุนราว 35,000 ล้านบาท รวมเงินลงทุนทั้ง 2 ส่วน ราว 47,900 ล้านบาท

แหล่งข่าวจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า สำหรับเอกชนที่สนใจเข้าร่วมประมูลโครงการนี้ ได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยเห็นได้จากการเปิดรับฟังความเห็นรอบแรก มีผู้สนใจเข้าร่วมราว 206 บริษัท แบ่งเป็น นักลงทุนต่างชาติ 133 บริษัท นักลงทุนในประเทศ 73 บริษัท และเมื่อจัดรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นการเจาะจงนักลงทุนที่จะเข้าร่วมประมูลมากขึ้น มีผู้สนใจ 21 บริษัท เป็นต่างชาติ 5 บริษัท และที่เหลือเป็นนักลงทุนไทย


สำหรับการประมูลโครงการนี้ ที่น่าจับตาจะเป็นในส่วนของการก่อสร้างท่าเทียบเรือก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ แอลเอ็นจี พร้อมก่อสร้างคลัง สถานีรับจ่ายก๊าซแอลเอ็นจี ซึ่งทางคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มอบหมายให้กระทรวงพลังงานไปพิจารณาแนวทางการให้สิทธิจัดหาและนำเข้าก๊าซธรรมชาติ หรือ กำหนดให้โควตาแก่เอกชนที่ร่วมลงทุน เพื่อให้เกิดการดำเนินการงานพัฒนาท่าเรือก๊าซได้เร็ว ทำให้เอกชนทั้งในและต่างประเทศเกิดความสนใจที่จะเข้ามาลงทุน เนื่องจากเห็นความต้องการใช้ก๊าซในอนาคตของประเทศยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งดำเนินธุรกิจนำเข้าก๊าซแอลพีจีอยู่แล้วในบริเวณมาบตาพุด , บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี้ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ของประเทศ มีแผนที่จะนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจี เพื่อป้อนให้กับโรงไฟฟ้าในกลุ่มของตัวเอง รวมถึงบริษัท Tokyo Gas ผู้จัดหาก๊าซแอลเอ็นจีรายใหญ่ของญี่ปุ่น ต่างต้องการที่จะชนะการประมูลในโครงการนี้ เนื่องจากเห็นว่าประเทศมีความต้องการ หรือ ยังพึ่งพาก๊าซใช้ผลิตไฟฟ้าในอนาคต



ที่มา Data & Images -





..