ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ทรัมป์จะเอายังไงกับน่านน้ำเอเชีย? 'Peace through strength'

เริ่มโดย mrtnews, พ.ย 24, 16, 06:20:03 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

โดย : กาแฟดำ - วันที่ 23 พฤศจิกายน 2559 - โดนัลด์ ทรัมป์ ในฐานะประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐจะยกเลิกนโยบาย "ปักหมุดเอเชีย" หรือ Pivot to Asia หรืออีกชื่อหนึ่งคือ "Rebalance" (ปรับดุลยภาพ) ของบารัก โอบามาแล้วจะเอาอะไรมาแทน?


ผมค้นหาคำตอบต่อคำถามนี้จากหลายแหล่ง และพบแนวทางวิเคราะห์ของที่ปรึกษาของทรัมป์สองคน ที่อธิบายเรื่องนี้ค่อนข้างชัดเจน

ส่วนในทางปฏิบัติ ทรัมป์จะตั้งใครเป็นรัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีต่างประเทศ ตลอดจนที่ปรึกษาด้านความมั่นคง จะเป็นคำตอบว่าแนวทาง Make America Great Again ในมิตินโยบายความมั่นคงต่างประเทศของสหรัฐฯ หลัง 20 ม.ค. ปีหน้าจะเป็นไปตามทิศทางนี้หรือไม่

ที่ปรึกษาของทรัมป์สองคนนี้คือ Alexander Gray และ Peter Navarro ซึ่งเขียนบทความตีพิมพ์ในเว็บไซท์ Foreign Policy วันที่ 7 พ.ย.2016 (ก่อนเลือกตั้งหนึ่งวัน) นำเสนอนโยบาย "Peace through Strength for Asia-Pacific" ได้อย่างน่าสนใจ

แปลว่า "สร้างสันติภาพด้วยพลัง (ทหาร)"

นักวิชาการทั้งสองบอกว่า ทรัมป์ต้องการจะสร้างความแข็งแกร่งทางทหารของสหรัฐ ในน่านน้ำสากลอีกครั้งหนึ่งอย่างแน่นอน เพราะในยุคของโอบามานั้น กองทัพเรือสหรัฐหดตัว จนมาอยู่ในระดับเล็กที่สุด ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งทีเดียว

บทความนี้บอกว่ารัฐบาลทรัมป์จะฟื้นเขี้ยวเล็บ ของกองทัพเรือมะกันอีกครั้งหนึ่ง จากที่มีเรือทั้งหมด 247 ลำมีเป้าหมายจะสร้างให้ถึง 350 ลำ

สาเหตุที่พุ่งเป้ามาสร้างกองเรือรบให้ใหญ่กว่าเดิมนั้น เพราะกองทัพเรือสหรัฐเป็นปัจจัยที่สร้างเสถียรภาพในเอเชียที่สำคัญที่สุด เรือรบสหรัฐทำหน้าที่ปกป้องการขนส่งสินค้า ที่วิ่งผ่านทะเลจีนใต้สูงถึงปีละ 5 ล้านล้านเหรียญ

อีกทั้งที่ปรึกษาทั้งสองยังมองว่า หากกองทัพเรือสหรัฐมีความแข็งแกร่งกว่าเดิม ก็จะเป็นการสกัดกั้นความเหิมเกริมของจีนในย่านนี้ด้วย

บทความนี้อ้างว่าวันนี้จีนมีเรือดำน้ำประจำการในแปซิฟิกมากกว่าของสหรัฐฯแล้ว และเชื่อกันว่าปักกิ่งมีแผนจะเพิ่มจำนวนเรือรบเป็น 415 ลำบวกกับเรือดำน้ำเกือบ 100 ลำภายในปี ค.ศ. 2030 หรืออีก 14 ปีข้างหน้า

ที่ปรึกษาของทรัมป์บอกว่าเพียงแค่ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐ ประกาศเสริมความแข็งแกร่งทางทะเลให้กับกองเรือสหรัฐในแถบนี้ ก็จะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับพันธมิตรในเอเชีย-แปซิฟิก ว่าสหรัฐยืนยันจะเป็น "ผู้ค้ำประกันระเบียบแห่งโลกเสรีนิยมในเอเชีย" แล้ว

บทความนี้บอกว่าทรัมป์จะพูดจาอย่างเปิดอกกับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ให้ควักกระเป๋าออกเงินในการสร้างเสริมระบบทางความมั่นคงร่วมกันมากกว่าเดิม

เพราะญี่ปุ่นมีเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 3 และเกาหลีใต้เป็นอันดับที่ 11 ของโลก และหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ผู้เสียภาษีอเมริกันเป็นผู้ออกเงินฟื้นฟูทั้งสองประเทศจากความหายนะของสงคราม

ที่ปรึกษาสองคนนี้ยืนยันว่าการที่ทรัมป์เรียกร้องให้สองประเทศนี้ ช่วยด้านงบประมาณมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อสร้างระบบการป้องกันประเทศของตน และภูมิภาคนี้จึงเป็นเรื่องที่ยุติธรรมและควรจะทำมานานแล้ว

เขายืนยันว่าอเมริกาภายใต้ทรัมป์จะไม่ใช่ประเทศ "โดดเดี่ยวนิยม" ตรงกันข้ามจะยืนยันมั่นคงกับพันธมิตรในเอเชียว่าสหรัฐยังจะเป็น "เสาหลัก" แห่งเสถียรภาพในภูมิภาคนี้


ทั้ง Gray และ Peter Navarro บอกว่าทรัมป์จะจับเข่าปรึกษาหารือกับผู้นำญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เพื่อหาทางเพิ่มเติมในการสนับสนุนให้สหรัฐยังคงมีบทบาท ทางด้านความมั่นคงที่ทุกฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญ

เหมือนกับที่ทรัมป์จะพูดจากับพันธมิตรในยุโรป เพื่อปรับแนวทางการทำให้ NATO (องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติคเหนือ) สามารถเดินหน้าอย่างมั่นคงโดยที่แต่ละสมาชิก จะต้องเสียสละด้านงบประมาณมากกว่าที่ผ่านมา... ไม่หวังให้สหรัฐเป็น "พี่เลี้ยง" อุ้มชูอย่างไร้วันสิ้นสุด

หากทรัมป์เดินตามแนวนี้ ก็ย่อมแปลว่าอเมริกาจะยังรักษาความเป็น "พี่เบิ้ม" ทางทะเลในเอเชียและแปซิฟิก อีกทั้งยังจะขยายแสนยานุภาพเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ

แต่เอาเข้าจริง ๆ เมื่อทรัมป์นั่งกดตัวเลขเงินทองที่ต้องใช้เพื่อยกระดับเศรษฐกิจในประเทศ สร้างโครงสร้างพื้นฐานครั้งใหญ่ สร้างกำแพงตรงชายแดนกับเม็กซิโก (ที่รัฐบาลเม็กซิโกบอกว่าจะไม่ยอมควักกระเป๋าเอง) และยังต้องทำโครงการ "ประชานิยม" อีกหลายเรื่อง จะเอาเงินทองมาจากไหนไม่ให้สหรัฐ "ถังแตก"

เป็นประเด็นที่ยังไม่มีคำตอบจนกว่าจะถึงวันนั้น!



ที่มา Data & Images -