ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

หัวเว่ย มารีน และราสเทเลคอม สร้างโครงข่ายเคเบิ้ลใต้น้ำเชื่อมคาบสมุทรคัมชัตก้า

เริ่มโดย mrtnews, ก.ค 13, 16, 06:24:39 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

กรุงเทพฯ - 11 ก.ค. 59 - แฟรนคอม เอเชีย - หัวเว่ย มารีน และราสเทเลคอม เริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงข่ายโทรคมนาคมเคเบิ้ลใต้ทะเล (Submarine Fiber Optical Telecommunication Line – SFOTL) เฟส 2 ของโครงการเคเบิ้ลใต้น้ำตะวันออกไกล ระหว่างคาบสมุทรคัมชัตก้าและเกาะซาคาลิน ระยะทาง 900 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมระบบการสื่อสารระหว่างคาบสมุทรคัมชัตก้า-ซาคาลิน-มากาดาน เข้าด้วยกัน โดยจะเริ่มให้บริการได้ในราวไตรมาสแรกของปี 2560 โครงข่ายเคเบิ้ลใต้น้ำใหม่นี้จะให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ความเร็วสูงแก่ประชากรในสหพันธ์ตะวันออกไกล ครอบคลุมทั้งคัมซัตก้า ไครและมากาดาน


โครงการเฟสแรกซึ่งเชื่อมโยงระหว่างซาคาลินและมากาดาน สร้างเสร็จในปี 2558 พร้อมเครือข่ายโทรคมนาคมภาคพื้นดินบนคาบสมุทรคัมซัตก้า ซึ่งเชื่อมต่อกับเคเบิ้ลใต้น้ำที่บริเวณอูซท์ บัลเชเร็ซก์ (Ust-Bolsheretzk) ที่ฝังสายเคเบิ้ลใต้ทะเลอาโฮทสก์ (Okhotsk) จากอูซท์ บัลเชเร็ซก์ ในคัมชัตกา ไปยังโอ๊คคา (Okha) ย่านที่พักอาศัยในซาฮาลิน เพื่อลดการพึ่งพาสายโทรศัพท์ที่มีอยู่เดิมซึ่งเชื่อมเปตราลาฟสก์ และคัมชัตสกี้ (Petropavlovsk-Kamchatsky) ลงถึงสี่เท่า เมื่อเทียบกับเส้นทางบนฝั่งที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจะต้องพาดผ่านพื้นที่เปล่าที่มีสภาพอากาศเย็นยะเยือกและทุรกันดาร

การสร้างโครงข่ายเคเบิ้ลใต้ทะเลนี้มีความยาวทั้งสิ้นกว่า 1,850 กิโลเมตร ไม่รวมกับระบบใยแก้วบนฝั่งที่มีขนาด 400 Gbps และสามารถเพิ่มได้ถึง 8 Tbps ในอนาคต

โดยหัวเว่ย มารีน บริษัทลูกของหัวเว่ย จะเป็นผู้ดำเนินการวางสายเคเบิ้ลใต้น้ำ ด้วยการใช้เคเบิ้ล อินโนเวเตอร์ หรือเรือชำนาญการติดตั้งสายเคเบิ้ล ที่มีความยาวกว่า 145 เมตร และบรรจุเคเบิ้ลได้ถึง 8,500 ตัน

หัวเว่ย มารีน ดำเนินการติดตั้งโครงข่ายเคเบิ้ลใต้น้ำมาแล้วหลายโครงการทั่วโลก ทั้งในตะวันออกกลาง แอฟริกา เอเชีย และอเมริกาใต้

นิคาไล นิกิฟารัฟ รัฐมนตรีด้านโทรคมนาคมและการสื่อสารของรัสเซีย กล่าวถึงโครงการนี้ว่า "การจัดวางโครงข่ายโทรคมนาคมเคเบิ้ลใต้ทะเลไม่ได้เป็นแค่การสร้าง แต่เป็นการวางระบบสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ที่จะให้บริการที่จำเป็นหลายอย่างในการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคน และทำให้ประชากรในคัมชัตก้า ซาคาลิน และมากาดาน สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐ การศึกษาทางไกล หรือการแพทย์ทางไกลได้ เมื่อผนวกกับบริการไปรษณีย์ที่ยอดเยี่ยมก็จะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาธุรกิจขนาดเล็กได้อีกด้วย"


เซร์เก้ย์ คาลูกิ้น ประธานบริษัทรอสเทเลคอม กล่าวว่า "เครือข่ายเคเบิ้ลใยแก้วเป็นหนึ่งในโครงการที่สำคัญที่สุดของรอสเทเลคอม การสร้างโครงข่ายเคเบิ้ลใต้ทะเลจะช่วยขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการสื่อสารของภูมิภาคตะวันออกไกล เรารู้สึกดีใจที่โครงข่ายเคเบิ้ลใต้ทะเล 'คัมชัตก้า-ซาคาลิน-มากาดาน' จะทำให้ประชากร ตลอดจนภาคธุรกิจและภาครัฐในตะวันออกไกล สามารถเข้าถึงบริการโทรคมนาคมอันทันสมัยได้ครอบคลุมมากที่สุด"

ไอเดน หวู่ ประธานบริหาร หัวเว่ย รัสเซีย กล่าวเสริมว่า "โครงการนี้ถือเป็นโครงการแรกของหัวเว่ยในการสร้างเครือข่ายเคเบิ้ลใต้ทะเลในรัสเซีย และถือเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้มีส่วนช่วยหาทางออกให้กับปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัล เรามั่นใจว่าเมื่อติดตั้งเฟสสองเสร็จสิ้น การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะช่วยเปลี่ยนชีวิตของผู้คนในตะวันออกไกล"



ที่มา Data & Images -