ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

รวมพลคนขนส่ง "ชิปปิ้ง"ปลดแอก ไม่จ่ายส่วยท่าเรือ

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 13, 13, 23:11:44 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

กรรมาธิการคมนาคมทุบโต๊ะ "หยุด" จ่าย "ส่วย" ท่าเรือกรุงเทพ ดีเดย์ 27 กุมภาพันธ์ 56 นี้ พร้อมลุยลงตรวจสอบพื้นที่ความก้าวหน้านับถอยหลัง 15 วัน หลังผู้ประกอบการธุรกิจขนส่ง-ชิปปิ้ง-เฟดฟอร์เวิร์ดเดอร์ แฉจ่ายส่วยตกปีละกว่า 500 ล้านบาท


ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานการประชุมคณะกรรมาธิการคมนาคมเกี่ยวกับปัญหาการเรียกเก็บส่วยท่าเรือ กรุงเทพและการทุจริตในเรื่องเงินล่วงเวลา (OT) ภายในท่าเรือกรุงเทพ จัดโดยคณะกรรมาธิการคมนาคม ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ที่ประชุมได้พิจารณากรณีกลุ่มผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางเรือร้องเรียนการ เรียกเก็บส่วยท่าเรือในพื้นที่ท่าเรือกรุงเทพ หากไม่จ่ายส่วยก็จะไม่ได้รับบริการจากพนักงาน

โดยคณะกรรมาธิการได้ เชิญผู้เกี่ยวข้อง 2 ฝ่ายเข้าชี้แจง ประกอบด้วย ร.อ.อิทธิชัย สุพรรณกุล รองผู้อำนวยการสายบริหารทรัพยากรบุคคลและการเงิน ทำหน้าที่รักษาการผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) กับเรือตรีทรงธรรม จันทประสิทธิ์ ผู้อำนวยการท่าเรือกรุงเทพ ฝ่ายหนึ่ง กับกลุ่มสมาคมผู้ประกอบการขนส่งทั้ง 6 กลุ่ม ได้แก่ สมาคมขนส่งสินค้าเพื่อการนำเข้าและส่งออก, สมาคมผู้ประกอบการรถบรรทุกแหลมฉบัง, สมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย, ชมรมผู้ประกอบการเสรีขนส่งท่าเรือกรุงเทพ, สมาคมชิปปิ้งแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

สมาคมผู้เกี่ยวข้อง ทั้ง 6 กลุ่ม ได้หยิบยกปัญหาที่เกิดในกระบวนการขนถ่ายสินค้าซึ่งนำไปสู่การจ่ายส่วย ได้แก่ การขนถ่ายสินค้าล่าช้ากว่าปกติ จากที่ควรดำเนินงานได้ใน 1 ชั่วโมงโดยประมาณ กลับใช้เวลา 3-6 ชั่วโมง ส่งผลให้การส่งสินค้าล่าช้ากว่าควรจะเป็น อีกทั้งเครื่องมือที่เกี่ยวข้องไม่มีการเปิดใช้งานเพียงพอ เช่น หากแจ้งจำนวนเครื่องมือไว้ 12 เครื่อง แต่กลับใช้งานจริงประมาณ 2 เครื่อง

"เป็น การจงใจทำให้เกิดความล่าช้าในการนำเข้า-ส่งออกสินค้า เปิดโอกาสให้พนักงานท่าเรือกรุงเทพเรียกเก็บค่าเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ ล่วงเวลา โดยอัตราการเรียกเก็บอยู่ที่ 100-300 บาท/ตู้ หากไม่จ่าย พนักงานท่าเรือก็จะไม่เคลื่อนย้ายตู้สินค้าให้ เทียบกับท่าเรือแหลมฉบังจะไม่เรียกเก็บค่าบริการส่วนนี้ และการขนย้ายสินค้าแล้วเสร็จภายใน 30 นาที-1 ชั่วโมง"

ขณะที่ตัวแทน ฝ่ายการท่าเรือแห่งประเทศไทยชี้แจงว่า มีกฎระเบียบห้ามพนักงานรับเงินรางวัลหรือสินน้ำใจจากผู้ประกอบการ แต่ยอมรับว่าพนักงานรับสินน้ำใจจากผู้ประกอบการจริง

ขณะเดียวกันการ ท่าเรือไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการในการงดจ่ายสินน้ำใจหรือส่วยให้ พนักงาน ทำให้บางกลุ่มเคยตัวและคิดอัตราเรียกเก็บขึ้นมา "หากพบว่าพนักงานเรียกเก็บเงินนอกเหนือจากค่าบริการที่ต้องจ่ายแล้ว สามารถร้องเรียนได้ ที่ผ่านมาร้องเรียนเข้ามาน้อยมาก"

อย่างไรก็ตาม ในประเด็น "สินน้ำใจ" กับ "สินบนหรือส่วย" นั้น ผู้ประกอบการชี้แจงว่า ไม่เหมือนกัน สินน้ำใจคือการให้ค่าตอบแทนตามที่เห็นสมควร ให้เท่าไรก็ได้ ขณะที่สินบนจะกำหนดอัตราที่แน่นอน เห็นได้ชัดว่าการจ่ายในท่าเรือกรุงเทพเป็นลักษณะจ่ายสินบนหรือส่วย

ด้าน นายทองอยู่ คงขันธ์ ประธานที่ปรึกษาสมาคมขนส่งสินค้าเพื่อการนำเข้าและส่งออก กล่าวว่า สมาคมผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องทั้ง 6 สมาคมได้ประกาศหยุดการจ่ายเงินใต้โต๊ะ หรือหยุดจ่ายส่วยให้พนักงานฝ่ายปฏิบัติการของการท่าเรือ นับตั้งแต่ 27 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป และขอให้พนักงานในท่าเรือกรุงเทพปรับปรุงระบบให้บริการรับและออกตู้ให้แล้ว เสร็จภายใน 1 ชั่วโมง จากปัจจุบัน 3-5 ชั่วโมง

จัดระเบียบการบริหาร จัดการเครื่องมือ/อุปกรณ์ในท่าเรือกรุงเทพ ติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดเพื่อควบคุมการปฏิบัติงาน และจากนี้ไปอีก 15 วัน คณะกรรมาธิการคมนาคมจะลงตรวจพื้นทีติดตามแนวทางผลการทำงานและแนวทางการแก้ ปัญหาต่อไป

ปัจจุบันมีตู้คอนเทนเนอร์ผ่านเข้า-ออกที่ท่าเรือกรุงเทพ ปีละ 1,400,000 TEU/ปี ตู้จำนวนนี้ที่ผ่านมาผู้ประกอบการระบุต้องจ่าย "ส่วย" ให้พนักงานการท่าเรือตู้ละ 300-400 บาท เท่ากับในหนึ่งปีจะมีเงินส่วยสะพัด 420-500 ล้านบาทเป็นอย่างต่ำ

ที่มา -