ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

คลองไทย และ EEC คือทางออกที่จะกู้เศรษฐกิจไทยได้อย่างยั่งยืน

เริ่มโดย mrtnews, เม.ย 25, 19, 17:16:56 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ในช่วงที่กำลังรอรัฐบาลใหม่ ปัญหาต้องเร่งแก้ไข คือ สภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างชัดเจนและต่อเนื่องจนผู้เชี่ยวชาญ และองค์กรธุรกิจต้องปรับตัวเลขกันขนานใหญ่ นายสนั่น อังอุบลกุล รองประธานหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อคิดว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจที่น่าจะทำได้ดีคือ การลงทุนของภาครัฐบาลเพื่ออัดฉีดเม็ดเงิน เพื่อให้เงินหมุนเวียน ขณะเดียวกันการส่งออกก็ชะลอตัว ภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้ปรับลดการส่งออกช่วงครึ่งปีหลังจาก 5-7% เหลือ 3-5%


แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลนี้ได้ใช้โครงการระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก EEC เป็นหัวรถจักรในการชักลากเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งข้อมูลการลงทุนในประเทศไทยปี 2560 ปี 1227 โครงการ มูลค่า 625,080 ล้านบาท และเฉพาะในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 259 โครงการมูลค่า 310.337 ล้านบาท แยกเป็นจังหวัดชลบุรี 133 โครงการ ระยอง 93 โครงการ ฉะเชิงเทรา 33 โครงการ

นอกจากนั้นแล้วรัฐบาลหวังจะให้ EEC เป็นเขตเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) เน้นเทคโนโลยีขั้นสูง และต้องการให้ EEC เป็นศูนย์กลางการเดินเรือของอาเซียน เชื่อมโยงท่าเรือทวาย ท่าเรือสีหนุวิลล์ ของกัมพูชา และท่าเรือวังเตาของเวียดนาม และยังคาดหวังให้ EEC เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของเอเชีย เชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ และออก-ตกเชื่อมโยงระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก

แนวคิดดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดี แต่อาจจะไม่ตอบโจทย์สภาพความเป็นจริงในเส้นทางยุทธศาสตร์การเดินเรือของโลก และการที่ใช้เส้นทางรถไฟหรือรถยนต์เชื่อมสู่ทวายของพม่าก็จะไม่ตอบโจทย์และคุ้มทุน เพราะการขนส่งทางรถไฟหรือรถยนต์ไม่สามารถบรรทุกได้มากเท่ากับการขนส่งทางเรือเช่น เรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์สามารถบรรทุกได้ 15,000-20,000 ตู้/เรือ 1 ลำ

และที่สำคัญไทย (รัฐบาล) ไม่ได้นำแนวทางการบริหารสมุทานุภาพของพื้นชายฝั่งทะเลของไทยมาใช้ให้เป็นประโยชน์คือพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยกับทะเลอันดามันซึ่งเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการลงทุนมากกว่าพื้นที่ในภาคตะวันออกเสียอีก และข้อมูลการรายงานการขนส่งทางทะเล ปี 2018 (Review of Maritime Transport 2018) ของ Unted Nations Confevence on Trade and Development ว่าด้วยการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ได้สรุปเมื่อ 1 ม.ค.2018 ว่ามีเรือการค้าโลกจำนวน 94171 ลำ และได้สรุปกลุ่มเรือที่ใช้ขนส่งทางทะเล (จำนวนเที่ยว) ดังตารางที่ 1

ขนาดของเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญใน 20 ปี ที่ผ่านมาขณะที่เรือบรรทุกน้ำมันมีขนาดลดลงรอเพื่อสร้างเรือขนาดใหญ่ที่สุด และในห้าปีที่ผ่านมาเป็นเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ขนาดเฉลี่ย 83,122 DWT ตามด้วยเรือบรรทุกสินค้าเทกองแห้งขนาดเฉลี่ย 79,281 DWT แนวโน้มเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

ด้านการเชื่อมโยง UNCTAD ได้สรุปการเชื่อมโยงทางทะเลที่สำคัญของโลกไว้ดังตารางที่ 2

จะเห็นได้ว่า 1-10 ของโลกเป็นกลุ่มประเทศในทวีปเอเชีย 5 ประเทศ และถ้าแยกเฉพาะในทวีปเอเชีย 5 ประเทศ คือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์/ไต้หวัน/ญี่ปุ่น/ศรีลังกา และเวียดนาม แต่ประเทศไทยของเราไม่ได้อยู่ในกลุ่มการเชื่อมโยงทางทะเลของโลกทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีที่ตั้งที่เหมาะสมการค้าขายทางทะเลคือมีทะเลขนาบทั้ง 2 ด้าน คือ ทะเลอ่าวไทยกับทะเลอันดามัน และรัฐบาลไทย และผู้เกี่ยวข้องควรตระหนักและเลิกวิตกจริต ในเชิงลบเกี่ยวกับการผลักดันโครงการคลองไทยของชาวใต้และสมาคมคลองไทย ซึ่งทางสมาคมคลองไทยพยายามให้ความรู้ให้ข้อมูลที่เป็นจริงเกี่ยวกับการค้าขายทางทะเลมาตลอด 2-3 ปี ที่ผ่านมาพบว่าเป็นข้อมูลเชิงบวกทั้งสิ้น


ถึงแม้นว่ามีกลุ่มเห็นต่างๆ โครงการคลองไทยออกมาท้วงติงว่าไม่คุ้มทุน เช่น คลองสุเอซ และคลองปานามา แต่สิ่งที่ยืนยันได้ กรณีคลองปานามา ตามข่าวพระราชสำนักช่วง 17-20 เมษายน 2562 ที่กราบทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯไปทรงเยือนประเทศปานามา และทรงเยี่ยมกิจการของคลองปานามา ผู้เขียนได้ติดตามข่าวสารนี้อย่างใกล้ชิดจึงได้มีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคลองปานามาว่าแต่ละปี

องค์กรคลองปานามาได้สร้างรายได้อย่างมหาศาลและส่งมอบเงินแต่ละปีให้กับรัฐบาลปานามา ปีละ 1.7 พันล้านเหรียญ และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและด้านต่างๆ ประเทศปานามาได้ใช้เงินรายได้จากกิจกรรมของคลองมาพัฒนาประเทศ และสังคมปานามาอย่างดีเยี่ยม (ข่าวพระราชสำนัก 17-20 เมายน 2562)

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯไปทรงเยือนประเทศปานามา-เปรู ทั้งที่เรือผ่านคลองปานามาปีละ 10,000 กว่าลำ และที่น่าสนใจ ปานามามีโครงการที่จะขยายคลองเพิ่มขนาดขึ้นอีกในอนาคต

ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นที่ผู้เขียนนำมาอ้างอิงเพื่อแสดงให้รัฐบาลหรือผู้เกี่ยวข้องนำไปศึกษาเบื้องต้นว่าถ้าไทยเราหยิบโครงการคลองไทยขึ้นมาปัดฝุ่น หรือศึกษาเชิงลึก ว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดและที่สำคัญจะเป็นเครื่องยืนยันเชิงข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ระดับหนึ่ง อยากเรียกร้องให้รัฐบาลผู้เกี่ยวข้องเปิดใจให้กว้างในการรับฟังข้อมูล และผู้นำต้องกล้าพอที่จะนำประเทศผ่านวิกฤตความยากจนของคนในชาติ คลองไทย เป็นนวัตกรรมระดับโลกมีการลงทุนมหาศาลทั้งในและต่างประเทศ มีการจ้างงานหลายหมื่นหลายแสนอัตรา ตรงข้ามโครงการขนาดใหญ่เช่นนี้ ก็จะมีผล

กระทบต่อสิ่งต่างๆ มากมายเช่นกัน แต่ถ้ามีการบริหารจัดการที่ดีทันโลกทันสมัยก็สามารถแก้ไขได้ เพราะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆในโลกที่พบแต่สิ่งดีๆ

โลกมันเปลี่ยนและหมุนเร็วเปลี่ยนวิธีคิดที่จะเอาเงินภาษีของประชาชนมาประกันราคาข้าว ราคายาง ราคาปาล์มได้แล้ว เปลี่ยนวิธีคิดหาเงินโดยขึ้นค่าโดยสารรถเมล์ ขึ้นค่าน้ำมัน ค่าไฟได้แล้ว เปลี่ยนพฤติกรรมและวิธีคิด และคุณต้องกล้าจะพาประเทศสู่ความมั่งคั่งที่คนไทยทุกคนคาดหวัง เงินแค่ 17% ของงบประมาณประจำปีไม่สามารถขับเคลื่อนประเทศได้อย่างแน่นอน เพราะอีก 83% เป็นค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่รัฐก็แทบหมดเนื้อหมดตัวแล้ว

คำตอบสุดท้ายที่ไทยจะหลุดพ้นได้ต้องขับเคลื่อนด้วยคลองไทยกับ EEC เท่านั้น

ณรงค์ ขุ้มทอง
ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
โรงเรียนนวมินทราชูทิศทักษิณ กรรมการที่ปรึกษาโรงเรียนดาวนายร้อย
กรรมการยุทธศาสตร์ศึกษาธิการจังหวัดสงขลา




ที่มา Data & Images -





..