ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

TTA หวังแผนเพิ่มทุนใหม่ฉลุย-รุกประมูลโรงไฟฟ้า IPP ที่อินโดฯ

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 08, 13, 20:24:10 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

"โทรีเซนไทย" เชื่อรายได้ปีนี้เติบโตเพิ่ม 20% พลิกกลับมามีกำไรจากธุรกิจเรือขุดเจาะ ลอจิสติกส์ที่เวียดนาม และการเปิดโรงงาน จ.สมุทรสาคร ของยูนิคไมนิ่ง ส่วนธุรกิจเดินเรือภาพรวมแค่ทรงตัว ล่าสุด รุกประมูลโรงไฟฟ้า IPP ที่อินโดนีเซีย 200 เมกะวัตต์ เหตุติดพื้นที่ที่ได้รับสัมปทานถ่านหิน ด้านผู้บริหารหวังแผนเพิ่มทุนรอบนี้ฉลุย! หลังปรับใหม่ และเดินสายชี้แจงผู้ถือหุ้นที่เคยค้าน


ม.ล.จันทรจุฑา จันทรทัต กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA เปิดเผยว่า ในปี 2556 บริษัทตั้งเป้ารายได้จะเติบโต 20% จากปีก่อนซึ่งมีรายได้ราว 1.6 หมื่นล้านบาท  โดยในงวด 1 ปี สิ้นสุดเดือน ก.ย.2555 บริษัทขาดทุนสุทธิ 4.62 พันล้านบาท   

สำหรับภาพรวมธุรกิจในปีนี้ ประเมินว่า ธุรกิจเดินเรื่อสินค้ายังไม่ดีเท่าที่ควร โดยค่าระวางเรือในปี 2556 น่าจะอยู่ที่ระดับ 9-9.5 พันเหรียญสหรัฐ/วัน/ลำ ลดลงจากปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 1.07 หมื่นเหรียญสหรัฐ/วัน/ลำ ขณะเดียวกัน เชื่อว่า บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจให้บริการวิศวกรรมโยธาใต้น้ำ จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น 100% เช่นเดียวกับธุรกิจลอจิสติกส์ และปุ๋ยในเวียดนาม (Baconco)

ขณะที่ธุรกิจถ่านหินของ บมจ.ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส น่าจะมีข่าวดีในช่วงมีนาคม คือ สามารถเปิดใช้โรงงานใน จ.สุมทรสาคร ได้อีกครั้ง ซึ่งจะทำให้บริษัทรับรู้รายได้จากธุรกิจพลังงานประมาณ 50% ของรายได้ทั้งหมด

"ค่าระวางเรือตอนนี้ยังอยู่ในระดับต่ำ แต่เราก็หวังว่าจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีงบประมาณบริษัท (เม.ย.-ก.ย.2556) จุดนี้ทำให้ราคาเรือมือสองปรับตัวต่ำลง และเรามองว่านี่คือโอกาสในการเข้าซื้อเรือในราคาที่ถูก ซึ่งอาจซื้อแบบเป็นล็อต หรือทยอยซื้อ เพื่อเสริมศักยภาพกองเรือรับการฟื้นตัวของธุรกิจที่ใกล้จะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม เรายังไม่คิดที่จะทำธุรกิจเรือเดินทะเลเข้าจดทะเบียนในตลาดสิงคโปร์ช่วง 2-3 ปีนี้ เพราะโอกาสยังไม่เหมาะ ด้านเมอร์เมดฯ ปีนี้ถือว่าจะเติบโต100% แต่เราของเราทั้ง 2 ลำเก่าแล้ว จำเป็นต้องซื้อเรือใหม่อีก 2 ลำ หามือสองไม่ได้ เพราะมีน้อย และทุกลำก็มีงาน"
ม.ล.จันทรจุฑา  กล่าวว่า สำหรับธุรกิจถ่านหินในอินโดนีเซีย ที่ลงทุนผ่านบริษํทลูกร่วมกับพันธมิตรอีก 3 ราย ด้วยงบลงทุน 9 ล้านเหรียญสหรัฐ (TTA ลงทุน 3ล้านเหรียญ) ขณะนี้ได้รับใบอนุญาตสัมปทานแล้ว แต่เนื่องจากการไฟฟ้าของอินโดนีเซีย กำลังจะเปิดประมูลโรงไฟฟ้า IPP ขนาด 200-300 เมกะวัตต์ ในพื้นที่ติดกับพื้นที่สัมปทานของบริษัท ทำให้ TTA มีแผนที่จะเข้าประมูลโรงไฟฟ้าดังกล่าวด้วยจุดเด่นในการขนส่งถ่านหินจากแหล่งสัมปทานได้ง่าย ซึ่งบริษัทจะส่งเอกสารร่วมประมูลในช่วงกรกฎาคม-สิงหาคมนี้ และคาดว่าน่าจะมีความชัดเจนในช่วงปลายปี

"เราสนใจเข้าร่วมประมูล ถ้าชนะก็จะง่ายต่อเราเพราะไม่จำเป็นต้องมีต้นทุนขนส่งถ่านหินมาชายหาด แต่จะลำเลียงไปผลิตไฟฟ้าต่อเลย หรือไม่เราก็จะติดต่อผู้ชนะการประมูลการนำเสนอขายถ่ายหินเนื่องจากสะดวก และรวดเร็วกว่ารายอื่น"

สำหรับการเพิ่มทุนของบริษัทนั้น ทางผู้บริหารเชื่อว่าในการประชุมผู้ถือหุ้น 30 ม.ค.นี้ ผู้ถือหุ้นจะมีมติให้บริษัทเพิ่มทุนได้ เนื่องจากมีการปรับสัดส่วนการจัดสรรหุ้นใหม่ และทำความเข้าใจกับผู้ถือหุ้นที่คัดค้านในครั้งก่อนไปได้แล้วบางส่วน ซึ่งหากสำเร็จบริษัทจะได้รับเงินจากการเพิ่มทุนประมาณ 3.9 พันล้านบาท ในช่วงวันที่ 21-28 ก.พ. และหากผู้ถือหุ้นใช้สิทธิแปลงสภาพวอร์แรนต์ก็จะทำให้บริษัทได้รับเงินเพิ่มเติมอีกประมาณ 2.4 พันล้านบาท

ที่มา -