ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

จีนปล่อย “เรือบรรทุกเครื่องบินผลิตเองลำแรก” ขยายเขี้ยวเล็บในน่านน้ำพิพาท

เริ่มโดย mrtnews, เม.ย 27, 17, 06:25:07 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

เอเอฟพี - จีนปล่อยเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกที่ออกแบบและสร้างภายในประเทศแล้ว สื่อทางการรายงานในวันนี้ (26 เม.ย. 60) ในขณะที่ประเทศนี้กำลังพยายามเปลี่ยนกองทัพเรือของตนให้เป็นกองกำลังที่สามารถแสดงแสนยานุภาพในทะเลหลวงได้


เรือรุ่นไทป์ 001เอ ที่ถูกประดับด้วยริบบิ้นหลากสี "ถูกเคลื่อนย้ายจากอู่แห้งลงสู่น้ำในพิธีปล่อยเรือ" ในเมืองต้าเหลียงทางตะวันออกเฉียงเหนือ อ้างจากสถานีวิทยุและโทรทัศน์ซีซีทีวี

มีการตัดริบบิ้นก่อนการเปิดแชมเปญที่หัวเรือตามธรรมเนียม นักวิเคราะห์ระบุว่า เรือลำนี้เป็น "สัญลักษณ์ทางสถานะ" สำหรับปักกิ่งในเขตพื้นที่พิพาทแต่แทบไม่ได้เป็นภัยคุกคามต่อเรือบรรทุกเครื่องบินที่ทันสมัยของสหรัฐฯ เลย

ก่อนหน้านี้กระทรวงกลาโหมของจีนระบุว่า เรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่นี้จะมีน้ำหนัก 50,000 ตันและใช้แรงขับเคลื่อนแบบดั้งเดิมไม่ใช่แบบนิวเคลียร์

เรือลำนี้คาดว่าจะบรรทุกเครื่องบิน เจ-15 ที่ผลิตภายในประเทศของจีนร่วมกับเครื่องบินลำอื่นๆ

"การปล่อยเรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่นี้เป็นพิธีเชิงสัญลักษณ์เนื่องจากมันจะใช้เวลาราว 2 ปีติดตั้งอุปกรณ์ให้กับเรือลำนี้และทำการทดสอบจริงครั้งแรกในทะเล" อ้างจาก จูเลียต เจนีวาซ นักวิจัยด้านจีนที่สถาบันวิจัยยุทธศาสตร์โรงเรียนทหารซึ่งมีฐานในฝรั่งเศส

ถึงกระนั้นก็ตาม เจนีวาซกล่าวว่า มันเป็น "ก้าวกระโดทางเทคโนโลยีสำหรับจีนเนื่องจากมันส่งสัญญาณถึงการพัฒนาเรือบรรทุกเครื่องบินจีนที่ผลิตภายในประเทศลำอื่นๆ อีกในอนาคต

ไทป์ 001เอ เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นใหม่ของจีน เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของประเทศนี้ เหลียวหนิง เป็นเรือมือสองจากสหภาพโซเวียตที่สร้างเมื่อกว่า 25 ปีที่แล้วและเข้าประจำการเมื่อปี 2012 หลังจากการปรับปรุงขนานใหญ่

การมีเรือบรรทุกเครื่องบินของตัวเองไว้ในครอบครองทำให้จีนอยู่ในหมู่มหาอำนาจทางทหารไม่กี่ประเทศที่มีเรือเช่นนี้รวมถึง สหรัฐฯ รัสเซีย และอังกฤษ

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญบ่งชี้ในทันทีว่า กองกำลังทางทะเลของจีนยังคงตามหลังสหรัฐฯ มหาอำนาจทางทหารอันดับหนึ่งของโลกที่มีเรือบรรทุกเครื่องบินหลายลำอยู่อีกไกล

เจมส์ ชาร์ นักวิเคราะห์ด้านการทหารจีนที่สถาบันการศึกษาระหว่างประเทศ เอส ราชารัตนัม ของสิงคโปร์ กล่าวว่า เรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่นี้จะเป็นมากกว่า "สัญลักษณ์ทางสถานะ" สำหรับจีนในทะเลจีรตะวันออกและทะเลจีนใต้

"มันไม่มีแนวโน้มที่จะเป็นภัยคุกคามต่อสหรัฐฯเลยหากคุณเห็นว่าเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐฯก้าวหน้าไปขนาดไหนแล้ว" ชาร์ กล่าว

การประกาศนี้เป็นส่วนหนึ่งในความพยายามของจีนที่จะสร้างความสามารถในการแสดงแสนยานุภาพให้แก่กองทัพเรือ

เรือเหลียวหนิงทำการซ้อมรบกระสุนจริงครั้งแรกในเดือนธันวาคมก่อนมุ่งหน้าสู่ทะเลจีนใต้ สร้างความกังวลในไต้หวันและประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ญี่ปุ่น และเวียดนาม ที่มีการอ้างสิทธิทางอาณาเขตทับซ้อนกับจีนในทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้



ที่มา Data & Images -




จีนเปิดตัวเรือบรรทุกเครื่องบินผลิตเองลำแรก

จีนเผยโฉมเรือบรรทุกเครื่องบินที่ผลิตเองเป็นลำแรกในประเทศ คาดใช้รองรับเครื่องบินรบจีน J-15 แต่ไม่ใช้ระบบขับเคลื่อนพลังนิวเคลียร์


จีนเผยโฉมเรือบรรทุกเครื่องบินที่ผลิตเองเป็นลำแรกในประเทศ ในพิธีปล่อยเรือลงน้ำ ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองต้าเหลียน เมืองท่าสำคัญทางตะวันออกเฉียงเหนือ

เรือบรรทุกเครื่องบินลำดังกล่าวซึ่งยังไม่มีชื่อ นับเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สองของจีน แต่เป็นลำแรกที่ผลิตขึ้นเองในประเทศทั้งหมด โดยโครงการต่อเรือลำนี้เริ่มขึ้นเมื่อปี 2013 และพร้อมจะนำออกปฏิบัติการในกองทัพเรือจีนได้ราวปี 2020

สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานว่า นายฟ่าน ชางหลง รองประธานคณะกรรมาธิการกลางการทหาร ได้เข้าร่วมในพิธีปล่อยเรือลงน้ำครั้งนี้ โดยมีการฟาดขวดแชมเปญให้แตกกับตัวเรือ มีการบรรเลงเพลงปลุกใจ และเรือที่เทียบท่าอยู่โดยรอบต่างส่งเสียงแตรเพื่อร่วมเฉลิมฉลองด้วย

ก่อนหน้านี้มีเสียงวิจารณ์กันว่า เรือบรรทุกเครื่องบินลำดังกล่าวเป็นเรือที่ต่อเติมปรับปรุงขึ้นจากต้นแบบคือเรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิง ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีนที่ซื้อมาจากยูเครน โดยเรือเหลียวหนิงนั้นเดิมเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินของสหภาพโซเวียตที่นำมาปรับปรุงใหม่เมื่อ 25 ปีก่อน

เรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิงซึ่งเป็นลำแรกของจีน เดิมเป็นเรือของสหภาพโซเวียตที่นำมาปรับปรุงใหม่

ทางกระทรวงกลาโหมของจีนเคยกล่าวไว้ว่า เรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่นี้จะใช้บรรทุกเครื่องบินรบ J-15 ของจีน และเครื่องบินรุ่นอื่น ๆ โดยเรือใช้ระบบขับเคลื่อนแบบดั้งเดิม แทนที่จะเป็นระบบขับเคลื่อนพลังงานนิวเคลียร์



ที่มา Data & Images - bbc.com







..