ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

กรมธุรกิจพลังงานสั่งผู้ค้าเพิ่มสำรอง LPG อ้างเหตุก๊าซในอ่าวไทยลดต้องนำเข้าเพิ่ม

เริ่มโดย mrtnews, เม.ย 20, 17, 06:23:27 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- อังคารที่ 18 เมษายน 2560 - นายวิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการรองรับการเปิดเสรีธุรกิจก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) ซึ่งในอีก 4-5 ปีข้างหน้า คาดว่า ไทยจะต้องมีการนำเข้าแอลพีจีในปริมาณที่ มากขึ้นเพราะปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย จะลดลง ดังนั้น เพื่อความมั่นคง ธพ.จึงเตรียม ที่จะกำหนดให้ผู้ค้าแอลพีจีมาตรา 7 ต้องสำรองแอลพีจีจากปัจจุบัน 1% (3 วันครึ่ง) เป็น 2.5% (10 วัน) โดยจะมีผลบังคับวันที่ 1 มกราคม 2564 ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ค้าได้มีเวลาในการก่อสร้างคลังแอลพีจีรองรับ


"การนำเข้าแอลพีจีเฉลี่ยจะอยู่ที่เดือนละ 2 หมื่นกว่าตัน แต่ต่อไปก๊าซฯที่จะทยอยลดลงโดยเฉพาะในช่วง 4-5 ปีข้างหน้า คาดว่าแอลพีจีจะมีการนำเข้ากลับมาอยู่ในระดับ 1 แสนตันต่อเดือน และต่อไปตลาดแอลพีจีก็จะคล้ายกับน้ำมันดังนั้นเพื่อความมั่นคงก็ต้องมีสำรองที่เพิ่มขึ้นโดยที่คิดเป็น 10 วัน มาจากที่ไทยต้องนำเข้าแอลพีจีจากตะวันออกกลางจะเดินทางถึงไทย 15 วัน แต่ ขณะนี้มีหลายที่ที่สามารถซื้อแอลพีจีได้มากขึ้น จึงเฉลี่ยอยู่ที่ 10 วัน" นายวิฑูรย์กล่าว

สำหรับการเปิดเสรีนำเข้าแอลพีจีที่เริ่ม เปิดให้ยื่นนำเข้าเพื่อจำหน่ายในประเทศตั้งแต่ 22 มกราคม 2560 เพื่อให้นำเข้าจริงมีนาคมนั้น ขณะนี้ยอมรับว่าตลาดยังไม่ได้โตมากทำให้สัดส่วนการนำเข้าเฉลี่ยปีนี้ทั้งปีคงอยู่ราว 2 หมื่นกว่าตัน และมีผู้ที่นำเข้ามาเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากบมจ.ปตท.และบมจ.ยูนิคแก๊ส แอนด์ปิโตรเคมีคัล ที่นำเข้ามาเพื่อส่งออกปกติจึงมีเพียงบมจ.สยามแก๊สแอนด์ปิโตรเคมี อย่างไรก็ตาม ล่าสุดธพ.ได้ทำหนังสือแจ้งไปยังกรมเจ้าท่าเพื่อให้เรือลอยน้ำ ที่ใช้เป็นคลังชั่วคราวในการนำเข้าแอลพีจี (Ship to Ship) ของสยามแก๊สฯที่อ.ศรีราชา ให้ใช้ได้ไม่เกิน 3 ปี เนื่องจากต้องการให้เกิดการสร้างคลังบนบกแทน

นายวิฑูรย์ กล่าวว่า ล่าสุดมีเอกชน 1-2 รายใหม่แสดงความสนใจที่จะนำเข้า แอลพีจีเพื่อจำหน่ายประเทศไทยส่วนหนึ่งและจะส่งออกส่วนหนึ่งโดยใช้ไทยเป็นฐานการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านแต่ยัง ไม่ได้ยื่นขออย่างเป็นทางการ ขณะที่เครือ ซิเมนต์ไทยได้ยื่นขอเป็นผู้ค้าม.7 มาจำนวน 2 บริษัท เพื่อนำเข้าแอลพีจีเฉพาะการใช้ ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเท่านั้น

สำหรับเกณฑ์การนำเข้าแอลพีจีเสรีเดิมผู้ประสงค์ นำเข้าต้องทำแผนนำเข้า 3 เดือน และต้องแจ้งทุกวันที่ 20 ของเดือน เริ่ม 20 มกราคม ซึ่งปริมาณนำเข้านั้นไม่กำหนด แต่อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถนำเข้าได้ตามปริมาณที่แจ้งจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง มีทั้งบทปรับ และบทลงโทษ ซึ่งล่าสุด ธพ.ได้กำหนดให้ทำแผนนำเข้า เพิ่มเป็น 6 เดือนแล้ว เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นให้กับเอกชนได้ไปทำสัญญาซื้อขายที่มีโอกาสที่จะเป็นระยะยาว ได้มากขึ้นซึ่งอาจจะเป็นผลดีในแง่ของราคาที่ต่ำลง

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ปั๊มแอลพีจีขณะนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 2,070 แห่ง โดยขยายตัวไม่มากนักโดยเฉพาะ การยื่นขอปั๊มใหม่แทบจะไม่มีเพิ่มแล้วเนื่องจากผู้ใช้รถยนต์ที่ผ่านมาหันไปใช้น้ำมันที่มีราคาถูกแทน ถึงแม้จำนวนปั๊มจะไม่ได้เพิ่มแต่ส่วนหนึ่งได้หันมาปรับปรุงปั๊ม ในการจำหน่ายน้ำมันด้วยเพื่อรองรับการใช้แอลพีจี ในรถยนต์ที่ลดลง ขณะที่ปั๊ม NGV ขณะนี้มีอยู่ 490 แห่ง การใช้ยังคงทรงตัว


ขณะที่แหล่งข่าวจากเอกชนผู้ขนส่งน้ำมันชายแดน เปิดเผยจากกรณีที่กระทรวงพลังงานได้ออกกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งน้ำมัน โดยห้ามการขนส่งน้ำมันผ่านท่อไปฝั่งเมียนมา ตามที่เคยปฏิบัติ ในพื้นที่ ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก ส่งผลให้ปัจจุบัน ผู้ค้าน้ำมันในพื้นที่ลดปริมาณการขนส่งลง จากปกติจะส่งไปประเทศเมียนมาประมาณ 3 ล้านลิตรต่อวัน หรือกว่า 80 รถพ่วงต่อวัน และได้ลดลงมาเรื่อย ๆ เหลือ 1.5 ล้านลิตรต่อวัน จนล่าสุดอยู่ที่ 700,000 ลิตรต่อวัน

ทั้งนี้ เอกชนหลายรายก็ได้หยุดดำเนินการ ดังกล่าวไป จากเดิมที่มีอยู่ 13 ราย ขณะนี้เหลือ ประมาณ 7-8 ราย โดยทางประเทศเมียนมาจึงหันไปซื้อน้ำมันจากประเทศสิงคโปร์ที่นำเรือขนส่งมาเทียบท่าในย่างกุ้ง เนื่องจากได้ราคาที่ถูกกว่าประมาณ 1.5 บาทต่อลิตร ทำให้สร้างความเสียหายกว่า 1 ล้านบาทต่อวัน และยังสะท้อนถึงความไม่มั่นใจของประเทศเมียนมาที่มีต่อไทยว่าจะส่งน้ำมันให้อย่างคงที่อีกด้วย

"พ่อค้าชายแดนในพื้นที่ดังกล่าวเป็นประเภทใครขายได้ก็ขาย จึงไม่มีการมาปรึกษาหารือกันหาทางแก้ไขว่าจะต้องทำอย่างไร ซึ่งตอนนี้ถึงจะสามารถส่งน้ำมันได้ ก็ตาม แต่ต้องใช้ถังพักทำเป็นถังน้ำมันรองรับน้ำมัน ที่ถ่ายลงจากรถบรรทุก และใช้แรงดันส่งเข้าท่อข้ามไปแทน จากเดิมที่ถ่ายจากรถบรรทุกส่งผ่านท่อได้ทันที จึงทำให้หลายรายเลิกดำเนินการขนส่งน้ำมันไป ซึ่งจะต้องกระทบการส่งออกน้ำมันแน่นอนในอนาคต" แหล่งข่าว กล่าว

ด้านนายขจรชัย ผดุงศุภไลย รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) กล่าวว่า จากกรณีดังกล่าว ไทยอยากให้มีการส่งผ่านทางสะพานมิตรภาพ ไทย-เมียนมา ซึ่งก่อนหน้านี้มีปัญหาของสะพานชำรุดและไม่สามารถ ส่งได้ เมื่อซ่อมเสร็จทางเขตชายแดนเมียนมามีปัญหาว่าไม่อยากให้ผ่านในพื้นที่ดังกล่าว โดยรัฐบาลไทยได้ส่งแม่ทัพภาคของไปเจรจากับทางเมียนมา และโอนเรื่อง ดังกล่าวให้ทางกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการต่อ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ขณะนี้ยังไม่ครบกำหนด โดยเชื่อว่าถ้าผ่านทางถนนได้จะสะดวกขึ้น

โดยปัจจุบันสามารถส่งน้ำมันทางท่อได้ตามปกติ แต่ว่าต้องตั้งถังพักที่มีขนาดเล็กกว่า 500,000 ลิตร เรียกว่า สถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งในพื้นที่ตรงนั้นทำขนาดเล็กที่สุดคือไม่เกิน 10,000 ลิตร ก่อนที่จะส่งน้ำมันผ่านท่อไป โดยจะมีกฎหมายของทางกรมจะบังคับใช้ โดยไม่ใช่การดูดขึ้นจากรถโดยตรง ขณะที่เมื่อพ้นชายแดนไปแล้ว จะส่งด้วยวิธีอะไร ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกฎหมายของกรมแล้ว ส่วนการจะสร้างคลังน้ำมันในพื้นที่ดังกล่าว ไม่สามารถทำได้เนื่องจากติดเรื่องปัญหาผังเมือง



ที่มา Data & Images -





..