ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

ศปมผ. จัดเจ้าหน้าที่บริการตรวจระบบติดตามเรือประมง 1-30 มี.ค. 60 นี้

เริ่มโดย mrtnews, มี.ค 17, 17, 06:27:47 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ศปมผ.จัดเจ้าหน้าที่บริการ ตรวจระบบติดตามเรือประมง และเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ ขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป ขอเจ้าของเรือมาตรวจสอบระหว่าง 1-30 มี.ค. ที่ศูนย์แจ้งเข้า-ออก เรือประมง 22 จังหวัดชายทะเล


วันที่ 15 มี.ค. 60 พลเรือโท วรรณพล กล่อมแก้ว รองหัวหน้าส่วนเลขานุการ ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (สล.ศปมผ.) เปิดเผยว่า ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) จะจัดเจ้าหน้าที่จากหน่วยเทคนิค กรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือ (อล.) และกรมสื่อสารและสารสนเทศทหารเรือ (สสท.ทร.) อำนวยความสะดวกตรวจสอบสภาพ ปรับย้ายจุดติดตั้ง และทำการยึดตรึง ระบบติดตามเรือประมง (Vessel Monitoring System : VMS) ให้กับชาวประมง เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และประกาศกรมประมงฉบับที่ 3 และ 4 พ.ศ.2560 ให้เรือประมง และเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ ขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป ต้องติดตั้งระบบ VMS และดูแลรักษาให้ระบบทำงานได้ดีตลอดเวลา ตามประกาศกรมประมงนี้

ศปมผ. จึงขอให้เจ้าของเรือผู้ควบคุมเรือทั้งเรือประมงและเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ นำเรือเข้ามาตรวจสอบและยึดตรึงระบบ VMS ในระหว่างวันที่ 1-30 มีนาคม 2560 ที่ศูนย์แจ้งเข้า-ออก เรือประมง ใน 22 จังหวัดชายทะเลทั่วประเทศ โดยการสนับสนุนเจ้าหน้าที่ของกองทัพเรือ ในการอำนวยความสะดวกตรวจสภาพในครั้งนี้ หากพบว่า ระบบ VMS อาจขัดข้องจากการรบกวนของเรดาร์ หรือมีการบดบังสัญญาณจากโครงสร้างตัวเรือ จะทำการปรับย้ายไปยังจุดที่เหมาะสม และยึดตรึงระบบ VMS ให้แน่นหนา โดยเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพจะอำนวยความสะดวก ให้กับพี่น้องชาวประมง จนถึงวันที่ 23 มีนาคม 2560 และการยึดตรึงระบบ VMS จนถึง 30 มีนาคม 2560


สำหรับระบบติดตามเรือประมง หรือ VMS เป็นระบบที่ติดตั้ง เพื่อให้ทางศูนย์ฯ ในพื้นที่ได้ทราบว่า เรือประมงลำนั้นๆ ได้ทำการประมงอยู่ในพื้นที่ใด มีพฤติกรรมในการทำประมงถูกต้องตามที่ได้รับใบอนุญาตหรือไม่ นอกจากนั้นยังจะเป็นประโยชน์แก่เรือประมงเองในกรณีเกิดอุบัติเหตุซึ่งทางศูนย์ฯ ในพื้นที่จะได้ติดตามและให้ความช่วยเหลือไปยังตำแหน่งของเรือได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งนับเป็นอีกประการหนึ่งที่จะยกระดับให้การพัฒนากิจการประมงของไทยเกิดความยั่งยืน อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาล ในการสร้างกลไกในการตรวจสอบ และการบังคับใช้กฎหมาย ของหน่วยงานทางทะเล รวมถึงการกำกับดูแลด้านแรงงานในภาคประมงให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เป็นที่ยอมรับของสากล ส่งเสริมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม



ที่มา Data & Images -





..