ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา สินค้าที่ดูแล้วขัดต่อ ศีลธรรม ประเพณี หรือกฏหมายของไทย เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

Big Data และ IoT ปฏิรูปอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

เริ่มโดย mrtnews, มี.ค 15, 17, 06:25:17 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ กำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่ยุค Big Data โดยปริมาณข้อมูลที่เกิดจากการปฏิบัติการของบริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเริ่มที่จะเป็นข้อมูลแบบ real-time มากขึ้นทุกขณะ อีกทั้งความเร็วของการรับส่งข้อมูลที่เร็วขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทำให้ขนาดของ Big Data มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขนาด exabyte และจะยังคงใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งองค์กรยังคงจะต้องจัดการวิเคราะห์กับชุดข้อมูลที่มากขึ้นอย่างไม่มีวันหยุดยั้งอีกด้วย


จากการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทำให้มีการเพิ่มปริมาณข้อมูลที่เกิดจากการปฏิบัติการดังกล่าว ทำให้บริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ จำเป็นที่จะต้องนำข้อมูลเหล่านั้นมาทำให้เกิดประโยชน์ และต้องทำให้คุณภาพข้อมูลของบริษัทดีขึ้น โดยใช้เทคโนโลยี Big Data และ Internet of Things (IoT) ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ แล้วในขณะนี้ รวมถึงการเพิ่มจำนวนเซนเซอร์ที่ใช้งานบนแท่นเจาะที่สามารถส่งผ่านข้อมูลแบบ real-time เพื่อการวิเคราะห์

บริษัทที่นำเอา Big Data มาทำให้เกิดมูลค่าให้แก่องค์กรก็มีให้เห็นชัดเจนในขณะนี้  ตัวอย่างเช่น บริษัท Devon Energy เป็นบริษัทน้ำมันและก๊าซแห่งแรก ที่มีโครงสร้างเครือข่ายสื่อสารสำหรับการจัดเก็บข้อมูล Big Data และการเชื่อมประสานกับ IoT ที่ทำให้บริษัทสามารถที่จะจัดการกับงานต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบ ทั้งการติดตามความเร็วและตำแหน่งของยานพาหนะสำหรับการขนส่ง, การอพยพคนงานในแต่ละพื้นที่ที่มีก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์, การวิเคราะห์กิจกรรมต่างๆ เพื่อลดเวลาที่ไม่ทำให้เกิดงาน, วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหว, และทำการวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์เหตุการณ์ต่างๆ โดยการใช้ข้อมูลดังกล่าวช่วยให้ บริษัท Devon Energy สามารถหาสาเหตุของปัญหาต่างๆ ได้มากมาย

บุคลากรทุกคนในบริษัท Devon Energy เห็นคุณค่าและต้องการให้ทุกอย่างอยู่ในระบบเครือข่ายดิจิทัล เพราะว่าผลจากการใช้งานที่ออกมาดีมาก และการที่ราคาน้ำมันตกต่ำ ทำให้ Devon หันมาสนใจในการวิเคราะห์ข้อมูลมากขึ้น เช่น การวิเคราะห์แบบ real-time ที่แท่นเจาะน้ำมัน และสามารถดูว่าเกิดอะไรขึ้นที่คลังน้ำมัน เพื่อแก้ปัญหาได้เทียบเท่ากับมูลค่าหลายล้านดอลลาร์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนต่ำลงได้

ดังนั้น แสดงให้เห็นว่า "ข้อมูล" คือทรัพยากรที่สำคัญเชิงกลยุทธ์และเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญของบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ การที่บริษัทมีฐานข้อมูลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ จะเป็นการดีกว่าการที่จะให้แต่ละแผนกต่างก็มีฐานข้อมูลของตัวเอง และไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของอีกแผนกได้ ซึ่งในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินั้นพบว่าไม่ว่าจะเป็นกระบวนการขุดเจาะ การเก็บน้ำมัน หรือการกลั่นน้ำมันก็ตาม ล้วนแต่มีปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการที่คล้ายๆกัน ดังนั้นการที่ทำให้บุคลากรทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลในระบบเดียวกันได้ จะเป็นสิ่งที่ทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานดีขึ้นอย่างมากนั่นเอง


การให้ความรู้แผนกต่างๆ ในบริษัท เกี่ยวกับเรื่องการวิเคราะห์ Big Data จะทำให้บริษัทสามารถใช้ข้อมูลทั้งหมดในการวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเดิมทีบริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในรูปแบบดั้งเดิม ที่ไม่มีการนำ Big Data และ IoT มาใช้ จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลใช้เวลานับเดือน หรืออาจเป็นปี แต่เมื่อมีการนำ Big Data และ IoT มาใช้ จึงทำให้สามารถทำการวิเคราะห์ผลได้ทุกๆ 5 วินาที ซึ่งถือว่าเข้าใกล้ real-time อย่างมาก

นอกจากนี้การใช้ข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์แบบ real-time จะทำให้บริษัทสามารถทราบสาเหตุที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาที่แท่นเจาะน้ำมัน ท่อส่งน้ำมัน หรือคลังน้ำมัน และทำให้สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ดังนั้นการวิเคราะห์ขององค์กรในปัจจุบันจะต้องสามารถดำเนินการได้ทันทีและใช้ข้อมูลเป็นตัวขับเคลื่อนระดับกลยุทธ์ ไม่ใช่แค่การสนับสนุนการดำเนินการให้สะดวกขึ้นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งถ้าหากทำได้สำเร็จก็จะมีผลกระทบเชิงบวกต่อต้นทุนที่ลดลง และสามารถหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในมิติต่างๆได้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว Big Data ก็อาจเป็นเพียงการดำเนินการทางทฤษฎีเท่านั้น

Reference

พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
รองประธาน กสทช. และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม





ที่มา Data & Images - nationtv.tv





..