ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ลากยาวปลดใบเหลือง “ไอยูยู” มกราฯ 61 เกษตรฯสรุป 8 ข้อที่อียูยังห่วง

เริ่มโดย mrtnews, ก.ค 27, 17, 06:17:51 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการเข้ามาติดตามตรวจสอบเรื่องการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน ไร้การควบคุม หรือไอยูยู ของเจ้าหน้าที่อียู ระหว่างวันที่ 5-14 ก.ค.60 นั้น ได้ระบุว่า ขณะนี้ประเทศไทยแก้ปัญหาด้านประมงอย่างถูกทางแล้ว แต่ยังมีสิ่งที่ต้องปรับปรุงเพิ่มเติม เช่น เจ้าหน้าที่ยังขาดประสบการณ์ ซึ่งต้องใช้เวลาในการฝึกฝน การบังคับใช้กฎหมายและการใช้เครื่องมือให้ถูกต้อง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อียูจะส่งทีมเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบเรื่องระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ของไทยในเดือน ต.ค.นี้อีกครั้ง เนื่องจากการตรวจสอบครั้งนี้ระยะเวลาไม่เพียงพอ หลังจากนั้นในเดือน ม.ค.ปี 61 ทางอียูจะส่งทีมงานชุดใหญ่มาติดตามการแก้ไขปัญหาไอยูยูของไทยอีกครั้ง ทั้งนี้ ยังได้เน้นย้ำว่าให้ระมัดระวังการนำเสนอข่าวที่อาจเป็นเรื่องละเอียดอ่อนต่อการแก้ไขปัญหาการประมงตามหลักสากล


"ในเดือน ก.ค.อียูตรวจสอบแต่เรื่องกองเรือ กฎหมายต่างๆ และการบังคับใช้กฎหมายเท่านั้น ซึ่งทางอียูเห็นว่ากรอบการแก้ไขปัญหาของไทยดีแล้ว และเจ้าหน้าที่ของอียูที่เดินทางมาเขาก็อยากจะช่วยเหลือประเทศไทย แต่การที่ไทยออกข่าวไปก่อน ก็เหมือนไปดักทางผลตัดสินเขาไว้ ซึ่งตรงนี้ต้องระวังให้ดี เพราะอียูจะอ่อนไหวกับข่าวที่ออกมามาก นอกจากนี้ ผมยังไม่เคยพูดเรื่องใบเขียว ใบเหลือง ใบแดง แต่จะย้ำเสมอว่าต้องการประกอบอุตสาหกรรมประมงไปสู่การทำประมงแบบยั่งยืนให้ได้ ซึ่งอียูเห็นชอบว่าถูกต้อง" พล.อ.ฉัตรชัยกล่าว

ส่วนผลสรุปประเด็นสำคัญของการหารือกับอียู ประกอบด้วย 1.อียูมีความพอใจที่ไทยการประกาศใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การประมง (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ.2560 ซึ่งถือเป็นกฎหมายที่เข้มแข็งมาก เพราะได้แก้ไขช่องโหว่ของการบังคับใช้ พ.ร.ก.ปี 2558 จนเสร็จสมบูรณ์ 2.ไทยสามารถให้ภาพกองเรือที่ชัดเจน และสามารถลดจำนวนเรือที่อยู่ในกลุ่มไม่ถูกกฎหมายเหลือ 1,336 ลำ ซึ่งยังต้องสำรวจสถานะต่อไปว่าเรือเหล่านี้อยู่ที่ใด และตัวเรือมีจริงหรือไม่ ซึ่งหากไทยเร่งสำรวจจำนวนเรือกลุ่มนี้ให้เสร็จ จะถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของการปฏิรูปภาคประมง ที่จะทำให้อียูมั่นใจว่าไทยสามารถควบคุมเรือประมงได้ทุกลำทุกกล่มทั้งในและนอกลำน้ำ ทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย

3.การทำงานของศูนย์เฝ้าระวังการทำประมง (FMC) ซึ่งมีการพัฒนาระบบการทำงานดีขึ้นมา สามารถติดตามเรือประมงได้ตลอดเวลามากขึ้น 4.สิ่งที่อียูกังวลเกี่ยวกับไทย คือ ประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ เพราะถึงแม้จะมีกฎหมายที่เข้มแข็ง มีศูนย์ FMC ที่มีประสิทธิภาพ แต่การบังคับใช้กฎหมาย และการใช้กลไลอย่างเต็มประสิทธิภาพแต่ก็ยังอ่อนแอ เพราะเจ้าหน้าที่ขาดความสามารถในการวิเคราะห์และการตรวจจับพฤติกรรมของเรือ รวมถึงขาดความเด็ดขาดในการบังคับใช้กฎหมาย ทำให้สถิติการจับกุมต่ำ ทั้งที่มีการตรวจเรือจำนวนมาก อียูขอให้การตรวจสอบเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ โดยขอให้ทำการประเมินความเสี่ยงเพื่อหาเป้าหมายและเข้าตรวจในเชิงลึก


5. ประเด็นเทคนิคที่ยังต้องหารือกับอียูในขั้นตอนต่อไปคือการตรวจสอบย้อนกลับ และการเฝ้าระวังเรือขนถ่ายทั้งเรือไทยและเรือต่างประเทศในเส้นทางขนส่งทูน่า และการนำทูน่าขึ้นที่ท่าไทย ซึ่งต้องตรวจสอบอย่างเข้มข้น 6.อียูกังวลใจอย่างมากต่อพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ ที่ระบุโทษอาญาและโทษปรับสูงต่อแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย อียูเห็นว่าเป็นเหยื่อ และควรได้รับการคุ้มครองจากฎหมายแทนการถูกลงโทษ กระทรวงแรงงานควรทบทวนพิจารณาแก้ไข พ.ร.ก.ในส่วนนี้ มิฉะนั้นอาจกระทบต่อความพยายามแก้ไขปัญหาไอยูยูของไทยทั้งหมดที่ผ่านมา

7.อียูหวังให้ไทยเป็นหุ้นส่วนในการส่งเสริมธรรมาภิบาลมหาสมุทร เพราะไทยมีศักยภาพสูงทางประมงทั้งฝั่งมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก และหวังใช้ไทยเป็นแบบอย่างอ้างอิงของความสำเร็จในการแก้ไขปัญหากับประเทศอื่นๆ ซึ่งเป็นเหตุผลที่อียูเข้มงวดกับไทยเป็นพิเศษ และใช้เวลาในการปลดใบเหลืองนานกว่าประเทศอื่นที่เพียงมีกรอบกฎหมายก็ได้รับการปลดใบเหลืองแล้ว

8.อียูจะมาประเมินไทยอีกครั้งในช่วงต้นปีหน้า ดังนั้นในอีก 6 เดือนข้าวหน้านี้ อียูต้องการจะเห็นการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด โดยเฉพาะการใช้คำสั่งปกครองกับเรือที่ทำความผิดด้วยมาตรการที่แรงเพื่อให้เกิดการป้องปราบ และการตรวจจับกรณีใหญ่ๆ ได้ หากไทยทำได้ในระดับที่อียูต้องการเห็น ก็มีความเป็นไปได้สูงว่าไทยจะได้รับการปลดใบเหลืองในช่วงประเมินต้นปีหน้า



ที่มา Data & Images -





..