ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

'กลยุทธ์เครนยักษ์' กู้เรือเซโวล : โดย...อัจฉรา ชุติลัญจกร

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 02, 14, 21:07:45 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

จนถึงวันนี้ "เรือเซโวล" ยังคงจมอยู่ใต้ทะเลลึก 37 เมตร การกู้เรือเฟอร์รี่ความยาว 146 เมตร หนักกว่า 6,000 ตัน หรือเกือบ 2 สนามฟุตบอลขึ้นมาไม่ใช่เรื่องง่าย...หากดูตัวอย่างกรณีการกู้เรือขนาดใหญ่แบบนี้แล้ว ต้องนึกถึงอุบัติเหตุเลวร้ายที่เกิดขึ้นเมื่อ 2 ปีที่แล้ว นั่นคือเรือสำราญ "คอสตา คอนคอร์เดีย" ของอิตาลี ที่นักท่องเที่ยวนิยมใช้บริการล่องเรือเที่ยวในทวีปยุโรปความยาว 290 เมตร น้ำหนักกว่า 1 แสนตัน กัปตันประมาททำให้เรือชนหินโสโครกจนเอียงตะแคงข้างจมน้ำทะเลใกล้กับเกาะกิกลิโอ มีผู้เสียชีวิต 32 คน เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2555


จากการศึกษาบทเรียนกรณีเรือ "คอสตา คอนคอร์เดีย" ที่มีความสูงเท่าตึกประมาณ 10 ชั้น พบว่า เรือลำนี้ใหญ่กว่าเรือเซโวลของเกาหลีใต้เกือบ 10 เท่า บรรจุผู้โดยสารกว่า 4,000 คน ขณะที่เรือเซโวลมีเพียง 476 คน แต่เรือคอสตาไม่ได้จมลงไปทั้งลำ การกู้จึงต้องใช้เทคนิคพลิกเรือให้ตะแคงกลับด้านเดิม และต้องระวังไม่ให้เรือพลิกกลับจมลงไปทะเลทั้งลำ การกู้เรือคอสตานั้นใช้ทีมที่ปรึกษาวิศวกรจากทั่วโลกกว่า 500 คน  ช่วยกันวางแผน สูญสิ้นงบประมาณไปกว่า 2 หมื่นล้านบาท

เทคนิคสำคัญครั้งนี้คือ "กล่องยักษ์" ที่ช่วยพยุงเรือให้ขึ้นมาทรงตัว พร้อมด้วยเครนยักษ์ช่วยดึงด้านข้าง กล่องยักษ์ติดด้านข้างเพื่อช่วยให้เรือทรงตัวได้ และสร้างคานเหล็กรองรับไว้ข้างใต้เรือ จากนั้นใช้เครนและกล่องพยุงค่อยๆ ดึงขึ้นมา ท่ามกลางความหวั่นวิตกว่าเรืออาจจะกลิ้งจากโขดหินดำดิ่งสู่ทะเลลึกอีกครั้ง แต่โชคดีพวกเขาทำสำเร็จ ใช้เวลาทั้งหมด 14 เดือน จึงนำเรือคอสตากลับคืนสู่ฝั่งได้อย่างปลอดภัย

ส่วนปัญหาของ "เรือเซโวล" นั้น เนื่องจากเป็นเรือเฟอร์รี่ขนาดใหญ่จมลงไปใต้ทะเลลึกถึง 37 เมตร การวางแผนจะยกเรือขึ้นมาทั้งลำนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แม้ว่าหลังเกิดอุบัติเหตุในวันที่ 16 มีนามคม ผ่านไปวันรุ่งขึ้นบริษัทชั้นนำของเกาหลี เช่น บริษัทซัมซุงหรือบริษัทแดวู ได้ส่งเรือติดตั้งเครนยักษ์มารอช่วยกู้เรือลำนี้ขึ้นในทันที แต่ฝ่ายครอบครัวและญาติได้ห้ามไว้ เพราะเชื่อว่ายังมีผู้โดยสารที่อาจมีชีวิตรอดติดค้างในเรือ การทำให้เรือขยับเขยื้อนจะทำให้น้ำเข้าไปมากขึ้นส่งผลร้ายต่อผู้ยังรอดชีวิตได้ 


ดังนั้น ทีมกู้ภัยจึงทำได้เพียงวางแผนการกู้เรือเซโวลไว้ 3 ขั้นตอน และรอเวลาลงมือปฏิบัติ นั่นคือ 1 ใช้เครนยักษ์ถึง 3 เครน หรืออาจต้องเพิ่มมากถึง 5 เครน เพื่อคล้องโซ่ลงไปใต้น้ำ ช่วยพลิกเรือให้กลับข้างมาอยู่ที่เดิม จากนั้นขั้นตอนที่ 2 คือ ใช้ถุงลมอัดอากาศไปติดตั้งไว้รอบๆ ลำเรือ เพื่อช่วยพยุงให้ทรงตัวตั้งตรงได้ และขั้นตอนสุดท้าย คือการดูดซับเอาน้ำทะเลที่ท่วมขังอยู่ด้านในเรือออกมาให้หมดหรือออกมาให้มากที่สุด ก่อนที่จะนำอุปกรณ์พิเศษมาขนย้ายเรือให้กลับเข้าไปชายฝั่ง

ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่าขั้นตอนใช้เครนยักษ์กู้เรือเซโวลนั้น อาจต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 เดือน...

วิเคราะห์โศกนาฏกรรม เรือล่ม "เซโวล" รายการเก็บตกจากเนชั่นภาคค่ำ เนชั่นทีวี เวลา 19.30 น. โดย "พรรณี อมรวิพุธพนิช" บรรณาธิการรายงานพิเศษ

ที่มา -