ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

โอละพ่อ!คนไทยทิ้ง ‘ปากบารา’ยืมจมูกพม่าหายใจดัน ‘ทวาย’ ฮับขนส่งทางน้ำ

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 08, 13, 07:13:36 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 4 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ปัจจุบันท่าเรือ "ทวาย" เข้ามามีบทบาทในวงการนักลงทุนชาติอาเซียนมากขึ้นเรื่อยๆ จนส่งผลให้แผนก่อสร้างท่าเรือปากบารา และท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 อาจถูกเก็บเข้าลิ้นชักตราบนานเท่านานก็เป็นไปได้ แม้ว่ากระทรวงคมนาคม จะพยายามผลักดันให้เกิดก็ตามที แต่เสียงคัดค้านที่เกิดขึ้นนั้น มีมากมายหลาย มิติ ไม่ว่าจะเป็นภาคประชาชน นักวิชาการ รวมถึงภาคธุรกิจเอกชน ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ท่าเรือปากบาราจะทำลายอาชีพการท่องเที่ยว และสิ่งแวดล้อมน่านน้ำทะเลไทย ที่สำคัญอาจจะไม่คุ้มค่า ต่อการลงทุน


ล่าสุด คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ออกมาเป็นโต้โผเร่งให้มีการพัฒนาท่าเรือทวาย โดย "อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" เลขาธิการ สศช. บอกว่า ขณะนี้เร่งผลักดันแผนยุทธ-ศาสตร์ 8 ข้อในการรับมือการเปิดประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC โดยเฉพาะการรองรับการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย ที่เชื่อว่าจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ของไทยและในภูมิภาคนี้อย่างมาก จึงต้องเร่งพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ขึ้นมารองรับโดยเร็ว

ด้าน "เรือตรีวิโรจน์ จงชาณสิทโธ" ผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ยอมรับว่า ท่าเรือทวายมีทำเลที่เหมาะสมมาก เพราะมีความลึกในทะเลช่วงอ่าวเมาะตะมะมากกว่าท่าเรือกรุงเทพ-ท่าเรือแหลมฉบังของไทย ทั้งนี้ ท่าเรือทวาย ใช้วิธีขุดมากกว่าการถม ซึ่งต่างจากท่าเรือของไทยที่ต้องใช้วิธีการถมมากกว่าขุด จึง มีงบลงทุนที่สูงกว่า ที่สำคัญการขุดจะสามารถดำเนินการได้เร็วกว่า และกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า นอกจากนี้ ท่าเรือทวายมีพื้นที่รวมกว่า 1.4 แสนไร่ ซึ่งมีพื้นที่ ใหญ่กว่าท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง และนิคมฯ ที่สำคัญยังมีเกาะโอบล้อมพื้นที่กันคลื่นได้เป็นอย่างดี

"ขณะนี้การท่าเรือฯ มีความพร้อมรับมือ AEC ในปี 2558 และการเกิดขึ้นของท่าเรือน้ำลึกทวายของพม่าไว้พร้อมแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม อยากให้มองประเทศพม่า ผ่านไปยังอินเดียหรือประเทศในแถบตะวัน-ออกกลาง และอเมริกา เพราะเป็นตลาดใหญ่ที่เป็นโอกาสทางเศรษฐกิจของไทย โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าทางทะเลนั้นจะใช้ต้นทุนที่ถูกกว่า ขนได้จำนวนมากกว่า แต่ต้องบริหารจัดการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด"

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าท่าเรือทวายสามารถไว้วางใจ ให้เป็นฐานสู่อินเดียและยังเชื่อมโยงโลกตะวันออกสู่ตะวันตก ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงควรเร่งขจัดปัญหาอุปสรรค ต่างๆ ทั้งเรื่องบุคลากร กฎระเบียบ พิธีการต่างๆ ให้สอดคล้องกับ AEC โดยเร็ว โดยเฉพาะช่วงเวลาการตรวจ สินค้าด่านชายแดนต้องรวดเร็ว และเร่งเชื่อมโยงด้วย ระบบโครงข่ายคมนาคม ซึ่งเห็นว่าช่วง 3-5 ปีแรกน่าจะยังใช้ระบบถนน หลังจากนั้นจะหันมาใช้ระบบรางมากขึ้น

สำหรับการบริหารจัดการของการท่าเรือฯ นั้น ปัจจุบันได้ใช้ระบบอินเตอร์-เนชั่นแนลรองรับไว้แล้ว ดังนั้น โอกาสในการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจจึงมีสูง แต่ก็ไม่ได้มองข้ามปัจจัยความเสี่ยงหลายๆ ด้าน อาทิ เรื่องภาษี และอัตราแลกเปลี่ยนยังน่าเป็นห่วง นอกจากนั้น ท่าเรือทวายยังมีเป้าหมาย ลูกค้าต่างกับแหลมฉบัง แต่คงต้องบูรณา-การร่วมกันให้ได้มากที่สุดโดยเฉพาะประตูเพื่อการส่งออก ไปเวียดนาม กัมพูชา และอีกหลายๆ ประเทศ ในโซนดังกล่าว โดยมุ่งลดต้นทุนลอจิสติกส์ แต่ที่น่าสนใจให้ผู้บริหารประเทศต้องคิดคือการพัฒนาแหลมฉบังในอดีตใช้เวลาหลายปีกว่าที่จะเติบโต ดังนั้น หากมีทวายแล้วไทยจะรับมือได้มากน้อยแค่ไหน เพราะขณะนี้แหลมฉบังเริ่มมีข้อจำกัดแล้ว ดังนั้น ทุกหน่วยจึงควรเร่งเตรียมความพร้อมเอาไว้ตั้งแต่วันนี้

สำหรับทางด้านภาคเอกชนก็เห็นว่าควรจะผลักดันท่าเรือทวายมากกว่าท่าเรือปากบาราเช่นกัน "ทองอยู่ คงขันธ์" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.เค.โลจิสติกส์ แอนด์ ซัพพลายเชน (ประเทศไทย) จำกัด บอกว่า จนถึงขณะนี้กรมเจ้าท่าและกระทรวง คมนาคมยังไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามทิศทางนโยบายของรัฐบาลที่หันไปผลักดันท่าเรือน้ำลึกทวายให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทย แต่กรมเจ้าท่าและกระทรวงคมนาคมยังคงพยายามผลักดันท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 และท่าเรือน้ำลึกปาก-บารา ทั้งๆ ที่ไม่มีนิคมอุตสาหกรรมเพื่อการ ป้อนสินค้าให้ภาคการขนส่งรองรับไว้ในพื้นที่ จึงอยากเสนอแนะว่าควรแสดงความชัดเจนออกมาโดยเร็ว และควรเร่งพัฒนาเพื่อรองรับหรือส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคใต้มากกว่า

ทั้งนี้ รัฐบาลควรมองการพัฒนาในภาพกว้างโดยเฉพาะต้นทุนการขนส่งโดยรัฐควรเร่งเปลี่ยนโหมดการขนส่งทางถนนมาสู่ระบบรางและทางน้ำให้มากขึ้น สำหรับ การขนส่งสินค้าจากทวายและภูมิภาคต่างๆ มากกว่ามองการเชื่อมโยงทางถนนที่เชื่อว่าต่อไปจะมีความหนาแน่นมากขึ้น และเร่งแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับพ.ร.บ.การขนส่งทางถนนข้ามประเทศ

นอกจากนี้ รัฐควรสร้างประเทศไทยให้เป็นฮับหลายๆ ทาง รู้สึกเสียดายเวลาที่กระทรวงคมนาคมโดยกรมเจ้าท่าพยายามผลักดันปากบารามานานถึง 4 ปี ส่วนแหลม-ฉบังเฟส 3 ยังมีปัญหาผลกระทบทิศทางน้ำทะเล ซึ่งต่อจากนี้ไปสหพันธ์การขนส่งทางบกคงจะนำการพัฒนาภาครัฐเน้นเชิงรุกมากกว่าการตั้งรับ AEC และรัฐไม่ควรมองว่าจะรับรายได้เฉพาะภาษีหรือค่าธรรม-เนียมค่าผ่านทางเท่านั้น แต่ควรจัดเก็บตาม น้ำหนัก สิ่งสำคัญไทยจะได้รับผลกระทบ สิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่แน่ๆ จึงควรมีระเบียบ ด้านนี้กำหนดเอาไว้ด้วยหากรถแต่ละคันจะผ่านพื้นที่ประเทศไทย

ที่มา -